ผู้ใช้:B'Beat Bling Bling/กระบะทราย

ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์ แก้

 
ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์

ระบบปรับอากาศของรถยนต์เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ (Vapor Compression System) โดยที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะดูดสารทำความเย็นจากอีแว็ปเปอร์เรเตอร์ (Evaporator) หรือเปรียบเสมือนปั้มน้ำภายในบ้านต่างกันเพียงแต่ปั้มน้ำจะดูดน้ำที่เป็นของเหลว แต่คอมเพรสเซอร์แอร์จะดูดสารทำความเย็นซึ่งมีสถานะเป็นไอหรือก๊าซ โดยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมีแรงดันที่เพียงพอคอมเพรสเซอร์จะถูกตัดการทำงานโดยเทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) เป็นตัวชี้วัดว่าเวลาไหนคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานและเมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารต่ำจนได้อุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอดี เทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) จะสั่งให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันที่สูงจนเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นอันตราย อาจเกิดการระเบิดของท่อทางต่างๆของระบบน้ำยาได้ แต่ในระบบของรถรุ่นใหม่ จะมีเซนเซอร์ที่ตรวจจับแรงดันและมีตัวระบายน้ำยาออกหากเกิดแรงดันที่สูงเกินค่ากำหนด จากนั้นเมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านแผงคอนเดนเซอร์ (Condenser) ที่อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของรถ หรือที่ทางช่างเรียกว่า “แผงรังผึ้ง” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว และไหลต่อไปยังรีซีฟเวอร์ (Receiver) หรือดรายเออร์ (Dryer) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็น หรือตัวกรองสารทำความเย็น ซึ่งตัวกรองนี้จะต้องมีการเปลี่ยนใส้กรองตามระยะทางที่กำหนด หรือเมื่อมีการเปิดระบบของท่อทางน้ำยาแอร์ เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อทางน้ำยาแอร์ที่จะต้องไหลไปที่แอ็คเพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) หรือวาล์วแอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ให้เป็นฝอยละอองเข้าไปใน อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์(Evaporator) หรือตู้แอร์ เพื่อทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำและเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนภายในห้องโดยสารให้มีอุณหภูมิที่ต่ำลง จากนั้นเมื่อน้ำยาแอร์มีสถานะกลายเป็นก๊าซก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง

ขอบคุณที่มา : TOYOTA K.MOTORS TOYOTA'S DEALER CO., LTD.[1]

เครื่องปรับอากาศรถยนต์มีอยู่ 2 แบบ[2] แก้

  1. แบบเทอร์โมสตัท[3] เทอร์โมสตัทประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ สวิตซ์ปรอท (mercury switch) และขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ สวิตซ์ปรอทเป็นหลอดแก้วขนาดเล็กที่มีปรอทบรรจุอยู่เล็กน้อย ภายในหลอดแก้วมีเส้นลวด 3 เส้น เส้นแรกพาดไปตามความยาวที่ก้นหลอด ส่วนอีก 2 เส้นต่ออยู่กับปลายด้านซ้ายและขวาของหลอดแก้ว ส่วนขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ประกอบขึ้นจากโลหะ 2 ชนิดซึ่งมีการขยายหรือหดตัว เมื่อได้รับความร้อนแตกต่างกันมาประกบกันและม้วนเป็นก้นหอย โดยปลายข้างหนึ่งจะติดกับสวิตซ์ปรอท เมื่อต้องการให้เครื่องประอากาศทำงานจะต้องสับสวิตซ์ทำให้สวิตซ์ไปหมุนขดลวดและสวิตซ์ปรอทและปรอทจะไหลไปในทิศทางตรงกันข้ามกันจนกระทั่งสัมผัสกับเส้นลวด ทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรและเครื่องปรับอากาศทำงาน ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลงขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ก็จะหดตัวเข้าอย่างช้าๆ ดึงให้สวิตซ์ปรอทเอียงไปอีกทางจนกระทั่งปรอทไม่สัมผัสกับเส้นลวด วงจรก็จะขาดและเครื่องปรับอากาศก็จะหยุดทำงาน หรือที่เรียกว่า “ตัด” อุณหภูมิในห้องก็จะอุ่นขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ก็จะเริ่มคลายตัวออกและวงจรติดเครื่องปรับอากาศก็จะกลับทำงานอีกครั้ง
  2. เทอร์มิสเตอร์ คือ เป็นสารกึ่งตัวนำที่การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานโดยเมื่ออุณหภูมิเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นค่าความต้านทานจะลดต่ำลง แะเมื่ออุณหภูมิลดลงค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จะสูงขึ้น เทอร์มิสเตอร์จะยึดตัวอยู่กับครีบของอีแว๊ปเปอร์เตอร์และจะรับอุณหภูมิจากผิวของครีบ อุณหภูมิจะถูกควบคุมโดยการเปรียบเทียบสัญญาณจากเทอร์มิสเตอร์และสัญญาณจากความต้านทานที่ควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นแอมพริฟลายเออร์จะส่งผลไปยังคลัทช์แม่เหล็กให้จับและปล่อย ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้สาร ทำความเย็นไหลจากคอมเพรสเซอร์ไปยังอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์หรือตัดการไหลของสารทำความเย็นจากผลอันนี้อุณหภูมิของอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์จึงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นการควบคุมอุณหภูมิของอากาศที่ผ่านออกจากอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์

ส่วนประกอบของระบบปรับอากาศรถยนต์[4] แก้

  1. คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )
  2. คอนเดนเซอร์ ( Condenser )
  3. เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
  4. อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)
  5. รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receive-Dryer )
THAI MACHANIC หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ วันที่:2012-07-08

คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )[5] แก้

คอมเพรสเซอร์แอร์-Compressor เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ สูบฉีดสารทำความเย็นให้ไหลวนในระบบปรับอากาศ โดยดูดสารทำความเย็นสถานะไอความดันต่ำจากตู้แอร์ และเพิ่มความดันเพื่อเปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นเป็นไอความดันสูงก่อนที่จะส่งต่อไปที่คอนเดนเซอร์ ในปัจจุบันคอมเพรสเซอร์รุ่นใหม่จะประกอบไปด้วยหลายลูกสูบซึ่งโดยปกติแต่ละลูกสูบก็จะมี 1 suction และ 1 discharge โดย Suction คือวาวล์ด้านดูดซึ่งจะดูดสารทำความเย็นมาจากตู้แอร์ และ Discharge คือวาวล์ด้านปล่อย ซึ่งจะปล่อยสารทำความเย็นไปที่คอนเดนเซอร์

ชนิดต่างๆ ของคอมเพรสเซอร์ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้[6] แก้
  • แบบลูกสูบ

หน้าที่และการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ คือ ดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สที่มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามาอัดตัวให้เป็นแก๊สที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงขึ้นและส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือ ในแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยชุดของลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัด ในขณะที่ลูกสูบหนึ่งลงในจังหวะดูดอีกลูกหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด

 
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
  • แบบสวอชเพลต

คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศรถยนต์เพราะคอมเพรสเซอร์แบบนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและฉุดแรงเครื่องน้อยกว่าแบบลูกสูบ ในขนาดของการทำความเย็นจำนวนบีทียูเท่ากัน

 
คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต
  • แบบโรตารี

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ฉุดกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่าแบบอื่นๆ มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า แต่ขีดจำกัดของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารีก็คือขนาดเครื่องปรับอากาศ ถ้าจำนวนบีทียูของเครื่องมีขนาดมากกว่า 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์แบบนี้จะลดลงซึ่งด้อยกว่าแบบสวอชเพลตหรือลูกสูบ จึงไม่นิยมในประเทศแถบยุโรปเพราะในยุโรปต้องการจำนวนบีทียูที่สูงมาก

 
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับ คอมเพรสเซอร์แอร์ Compressor [7] แก้
  1. คอมเพรสเซอร์มีเสียงดัง เราต้องตรวจสอบดูว่าเสียงดังที่เกิดขึ้นมาจากตัวคอมเพรสเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆถ้าเป็นเสียงที่เกิดจากคอมเพรสเซอร์ก็ต้องดูว่าเป็นที่คลัทช์หรือตัวคอมเพรสเซอร์ ถ้าเป็นที่ตัวคอมเพรสเซอร์ซึ่งอาจจะเกิดจากลูกสูบข้างในชำรุดโดยปกติการซ่อมส่วนใหญ่จะไม่ได้ผลควรถอดเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ตัวใหม่
  2. คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด ซึ่งจะมีอาการคือเมื่อรถยนต์จอดอยู่กับที่แอร์จะไม่มีความเย็นหรือความเย็นน้อย แต่เมื่อรถวิ่งหรือเร่งเครื่องแอร์จะมีความเย็นมากขึ้น
  3. คอมเพรสเซอร์รั่ว มีน้ำยาแอร์ซึมออกมา สังเกตุได้จากมีรอยคราบน้ำมันสีดำๆที่ตัวคอมเพรสเซอร์ตรงจุดที่รั่วเป็นจำนวนมาก ถ้าหากเป็นการรั่วซึมที่รอบต่อคอมเพรสเซอร์เราสามารถเปลี่ยนซีนหรือชุดแผ่นยางกันการรั่วซึมของคอมเพรสเซอร์ได้ แต่หากเป็นรอยรั่วซึมที่จุดอื่นก็ต้องทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ลูกใหม่
ขอบคุณที่มา : บริษัท โรแยลแอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) แก้

 
Condenser

ทำหน้าที่[8] ปรับสารทำความเย็นที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส จากคอมเพรสเซอร์( Compressor )แล้วจะเข้าคอนเดนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายเทความร้อนของสารทำความเย็นที่ได้รับความร้อนมาจากที่อีเวปอเรเตอร์และจากกระบวนการอัดทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิต่ำลง ในสถานะของผสม (แก๊สผสมของเหลว) และส่งต่อไปยังรีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receive-Dryer )

ประเภทของคอนเดนเซอร์ตามลักษณะการไหล[9] แก้

มี 3 ประเภท ดังนี้

  • แบบไหลวน

สารทำความเย็นจะไหลในลักษณะวนในตัวของคอนเดนเซอร์ คือสารทำความเย็นจะไหลเข้าที่ท่อทางเข้าด้านบนและไหลออกที่ท่อทางออกด้านล่าง ซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดอนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

 
คอนเดนเซอร์แบบไหลวน
  • แบบไหลขนาน

คอนเดนเซอร์ชนิดนี้มีท่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างกล่องทั้งสอง เมื่อสารความเย็นไหลเข้าที่ท่อทางเข้า สารความเย็นจะไหลแบบขนานกันและออกที่ท่อทางออก ซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดอนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

 
คอนเดนเซอร์แบบไหลขนาน
  • แบบไหลวกวน

คอนเดนเซอร์ชนิดนี้เป็นการรวมคอนเดนเซอร์แบบไหลวนและแบบไหลขนานเข้าด้วยกัน คือท่อทางเข้าและออกจะมีลักษณะการไหลแบบขนาน แต่ในการไหลจะมีลักษณะการไหลแบบวน คือเมื่อสารความเย็นเข้าที่ท่อทางเข้าจะมีการแยกเป็นสองทางและไหลในท่อแบบวน โดยจะไปรวมกันที่ท่อทางออกซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดอนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

 
คอนเดนเซอร์แบบไหลวกวน

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) แก้

 
Expansion valve

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) ทำหน้าที่ ควบคุมอักราการไหลของสารทำความเย็นก่อนเข้าอิวาพอเรเตอร์ โดยการลดความดันของสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวความดันสูงให้เป็นก๊าซที่มีความดันต่ำ ตัวควบคุมน้ำยาเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ ใช้เทอร์โมสแตติคเอ็กซแปนชั่นวาวล์ (Thermostatic Expansion Valve) [10]

อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) แก้

ไฟล์:อีวาเปอเรเตอร์.gif
Evaporator

อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)หรือ คอยล์เย็น (Cooling Coil) มีหน้าที่รับน้ำยาที่เป็นของเหลวมีแรงดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามา ซึ่งมีลักษณะเป็นฝอยและน้ำยาจะเดือด(Evaporate)ในตัวคอยล์เย็นนี้ทำให้ยาเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊สและจะดูดความร้อนจากตัวคอยล์เย็นไป เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คืออากาศเย็นที่พัดออกมาทางช่องลมเย็น อีวาโปเรเตอร์แบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้ 3 ชนิด

  • แบบท่อและครีบ
  • แบบครีบขดไปมา
  • แบบถ้วย

รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receive-Dryer )[11] แก้

 
ภาพแสดงส่วนประกอบของรีซีฟเวอร์ไดเออร์

เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างคอนเดนเซอร์ (Condensor) กับ เอ็กเพนชั่นวาล์ว( Expension Valve) ที่ติดตั้งทางด้านความดันสูง ทำหน้าที่ เป็นที่พักเก็บน้ำยาเหลว (Receiver)และกรองสิ่งสกปรกที่เจือปนมากับสารทำความเย็นซึ่งสิ่งเจือปนอาจจะเกิดจากการติดตั้งระบบทำความเย็นหรือเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น ภายในรีซีฟเวอร์ดรายเออร์มี Silica gel เพื่อดูดซับความชื้นก่อนจะปล่อยให้สารทำความเย็นผ่านเข้าไปยังเอ็กแพนชั่นวาล์ว และผู้ใช้งานสามารถดูปริมาณของสารทำความเย็นได้โดยการดูผ่านทางด้านบนของรีซีฟเวอร์ไดเออร์ เปลี่ยนสถานะของสารความเย็นจากของผสม (ของเหลวและก๊าซ) ให้เป็นของเหลว 100 %

ส่วนประกอบของรีซีฟเวอ์ไดเออร์[12] แก้

  1. ท่อทางเข้า ทำหน้าที่ ต่อกับท่อที่มาจากคอนเดนเซอร์
  2. แผ่นกรอง(Filter) ทำหน้าที่ กรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับสารความเย็น
  3. สารดูดความชื้น(Desiccant) ทำหน้าที่ ดูดความชื้นออกจากสารความเย็น ซึ่งสารดูดความชื้นอยู่ในสถานะของแข็งทั่วไปทำมาจาก Silica gel หรือ Mobil gel
  4. ท่อรีซีฟเวอร์-ไดรเออร์ (Receiver tube) หรือท่อส่งสารทำความเย็น (Pickup tube)ทำหน้าที่ ส่งสารความเย็นไปยังท่อทางออก
  5. กระจกมองสารความเย็น (Sight galss)ทำหน้าที่ ให้เราสามารถมองเห็นสารความเย็นไหลผ่านในระบบ (เป็นจุดเดียวที่เราสามารถเห็นสารความเย็นที่อยู่ในระบบ) ซึ่งบอกถึงปริมาณสารทำความเย็นมีมากน้อยเพียงใด
  6. ท่อทางออก ทำหน้าที่ ต่อกับท่อเพื่อส่งสารความเย็นไปยังเอ็กเพนชั่นวาล์ว
  7. ปลั๊กหลอมละลาย บางครั้งเรียกว่า “ โบลต์ละลาย ” ตัวโบลต์จะมีรูทะลุจากปลายถึงหัว โดยภายในจะมีตะกั่วพิเศษปิดรูไว้อยู่ ซึ่งปลั๊กหลอมละลายจะทำหน้าที่ปล่อยสารความเย็นออกจากระบบ (ตะกั่วจะละลาย) ในกรณีที่ความดันและอุณหภูมิด้านสูงมากเกินไป ( ความดันสูงถึง 30 bar ,427 psi อุณหภูมิ ที่ 95 -100 oC, 203-212 oF)

อ้างอิง แก้

  1. http://www.kmotors.co.th/talk-with-guru/air-conditioning-systems/
  2. http://www.thaimachanic.com/article-71-read.html
  3. http://www.material.chula.ac.th/RADIO45/May/radio5-1.htm
  4. http://www.thaimachanic.com/article-71-read.html
  5. http://www.royalairgas.com/Airknowledge/Html/Airknowledge2.html
  6. http://www.siamtech.ac.th/Learning/anucha/Framecompressor.html
  7. http://www.royalairgas.com/Airknowledge/Html/Airknowledge2.html
  8. http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2547/pairach/condensor.htm
  9. http://anuchid_ma55.igetweb.com/articles/42061030/igetweb-คอนเดนเซอร์%20%28condenser%29.html
  10. http://www.siamtech.ac.th/Learning/anucha/expansion.html
  11. http://www.siamtech.ac.th/Learning/anucha/receiver.html
  12. http://anuchid_ma55.igetweb.com/articles/42061033/igetweb-รีซีฟเวอร์ดรายเออร์%20%28%20Receiver%20drier%20%29.html