ผู้สำเร็จราชการอินเดีย

ผู้สำเร็จราชการอินเดีย เป็นผู้แทนพระองค์ของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร และภายหลังเอกราชของอินเดีย ในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ในฐานะประมุขแห่งรัฐอินเดีย ตำแหน่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1773 โดยมีตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่มีอำนาจที่สมบูรณ์เหนืออินเดียทั้งหมดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1833 และต่อมาได้เป็นที่รู้จักในนาม "ผู้สำเร็จราชการอินเดีย"

อุปราช และ
ผู้สำเร็จราชการอินเดีย
ธงของ บริติชราช (1858–1947)
การเรียกขานHis Excellency
จวน
ผู้แต่งตั้ง
สถาปนา20 ตุลาคม ค.ศ. 1773
คนแรกวอร์เรน เฮสติงส์
คนสุดท้าย
ยกเลิก26 มกราคม ค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1858 อันเป็นผลมาจาก กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 ดินแดนและทรัพย์สินของบริษัทอินเดียตะวันออกตกอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของราชวงศ์อังกฤษ ด้วยเหตุนี้ การปกครองของบริษัทในอินเดียจึงสืบทอดโดยบริติชราช ผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้ารัฐบาลกลางของอินเดีย ซึ่งปกครองจังหวัดต่างๆ ของบริติชอินเดียรวมถึงแคว้นปัญจาบ เบงกอล บอมเบย์ มัทราส สหมณฑล และอื่น ๆ[1] อย่างไรก็ตาม อินเดียส่วนใหญ่ไม่ได้ปกครองโดยตรงจากรัฐบาลอังกฤษ นอกการควบคุมของบริติชอินเดียมีรัฐมหาราชา หรือ "รัฐพื้นเมือง" หลายร้อยรัฐซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับพระมหากษัตริย์อังกฤษในฐานะผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิโมกุล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 เพื่อสะท้อนบทบาทใหม่ของผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ในการตอบสนองต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมหาราชาจึงได้พระราชทานตำแหน่งอุปราชเพิ่มเข้ามาโดยมีชื่อเรียกตำแหน่งใหม่ว่า "อุปราชและผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดีย" โดยมักจะย่อเหลือเพียง "อุปราชแห่งอินเดีย"

ตำแหน่งของอุปราชยกเลิกเมื่อบริติชอินเดียแยกออกเป็นสองประเทศคือ อินเดีย และ ปากีสถานแต่ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการยังคงมีอยู่ในทั้ง 2 ประเทศแยกจากกัน จนกระทั่ง อินเดีย และ ปากีสถาน ได้นำรัฐธรรมนูญมาบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1950 และ ค.ศ. 1956 ตามลำดับ

ก่อนปี ค.ศ. 1858 ผู้สำเร็จราชการได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทอินเดียตะวันออก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของรัฐบาลอังกฤษ รัฐมนตรีต่างประเทศที่ดูแลประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร มีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งการผู้สำเร็จราชการเกี่ยวกับการใช้อำนาจ หลังปี ค.ศ. 1947 พระมหากษัตริย์ยังคงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการต่อไป แต่ภายหลังดำเนินการตามคำแนะนำของรัฐบาลประเทศอินเดียในเครือจักรภพ

ผู้สำเร็จราชการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ผู้สำเร็จราชการอาจปลดออกหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ได้ บางครั้งมีการแต่งตั้งรักษาการผู้สำเร็จราชการ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการคนใหม่ที่ได้รับการเห็นชอบ ผู้สำเร็จราชการคนแรกในอินเดียคือวอร์เรน เฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการคนแรกของจักรวรรดิบริติชคือ Lord William Bentinck และผู้สำเร็จราชการคนแรกของประเทศอินเดียในเครือจักรภพ คือ ลอร์ด เมานต์แบ็ตเทน

อ้างอิง แก้

  1. The term British India is mistakenly used to mean the same as the British Indian Empire, which included both the provinces and the Native States.