ผามออีแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

ผามออีแดง

ภาพสลักนูนต่ำ แก้

บริเวณผามออีแดง มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ (พระพุทธรูปนาคปรก) บริเวณจุดสูงสุดของผามออีแดงสามารถมองเห็นทัศนียภาพของปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างชัดเจน

ธงชาติไทย แก้

ผามออีแดง เป็นที่ตั้งของเสาธงชาติไทย ซึ่งเดิมเป็นเสาธงที่ตั้งอยู่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำพิพากษาว่าปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจออกจากปราสาทพระวิหาร ทำให้ประเทศไทย ต้องถอนกำลังทหารและธงชาติไทย ที่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าว

การถอนธงชาติไทยในครั้งนั้น ประเทศไทยถอนเสาธงออกมาจากพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ได้ลดธงลงจากยอดเสาแต่อย่างใด

การเข้าชม แก้

ผามออีแดง มีเส้นทางรถยนต์เข้าถึง เป็นสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวในทุกฤดูกาล มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนำเที่ยว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ได้มีการปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว กระทั่งในปี พ.ศ. 2553 จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้องขอให้มีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง โดยผามออีแดง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-16.30 น.

สถานที่ใกล้เคียง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°23′43″N 104°41′01″E / 14.3952773°N 104.6836138°E / 14.3952773; 104.6836138