ผักชีช้าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Asparagaceae
สกุล: Asparagus
สปีชีส์: A.  racemosus
ชื่อทวินาม
Asparagus racemosus
Willd.[1]
ชื่อพ้อง

ผักชีช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Asparagus racemosus) หรือ จ๋วงเครือ (คำเมือง) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) หรือ สามสิบ หรือ รากสามสิบ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในแอฟริกา จีน อินโดจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ปลายรากเป็นหัวยาว ลำต้นเกลี้ยงมีหนามยาว เลื้อยพันได้ ใบจริงลดรูปเป็นใบเกล็ดขนาดเล็ก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกสีขาวมีแถบสีเขียว เกสรตัวผู้ยาวเท่ากลีบดอก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด ผลสุกสีแดงมี 1-3 เมล็ด ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

ต้นรากสามสิบมีสรรพคุณในเรื่องการฟื้นฟูความสาว เป็นสมุนไพรที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท ของประเทศอินเดีย มีชื่อเป็นภาษาบาลีสันสกฤตว่า ศตาวรี (Shatawari) หมายความว่า ต้นไม้ที่มีรากเป็นร้อยๆ หรือบางตำราหมายถึงผู้หญิงที่มีสามีเป็นคนร้อยคน เรียกได้ว่ามีการใช้สมุนไพรชนิดนี้มานานเป็นพันๆ ปี[2]

มีสารสำคัญในรากคือ อัลคาลอยด์ แอสพาราจีน จึงนำรากมาใช้เป็นยาสมุนไพร ทั้งยาบำรุงครรภ์ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้ท้องเสีย และโรคเกี่ยวกับลำไส้ ในอินโดนีเซียนำรากที่มีลักษณะเป็นหัวใบเคลือบน้ำตาลใช้เป็นของหวาน ในอินเดียใช้หัวเคลือบน้ำตาลรับประทานเป็นยากระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ใช้กระตุ้นน้ำนมในวัวนม และใช้เป็นไม้ประดับ ในไทยนำรากไปเชื่อมหรือแช่อิ่มรับประทาน ทางภาคใต้นำส่วนเหนือดินมาใส่ในแกงส้มและแกงเลียง[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Asparagus racemosus information from NPGS/GRIN". Germplasm Resources Information Network. USDA. August 6, 2002. สืบค้นเมื่อ April 25, 2009.
  2. สมุนไพรต้นรากสามสิบ สรรพคุณสำหรับผู้หญิง
  3. อรทัย เนียมสุวรรณ นฤมล เล้งนนท์ กรกนก ยิ่งเจริญ พัชรินทร์ สิงห์ดำ. 2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา[ลิงก์เสีย]. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981 - 991
  • ปิยะพร แสนสุข และนุชมะณี สุดดี. 2547. อิทธิพลของ NAA และ BA ต่อการเกิดแคลลัสและยอดของผักชีช้าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9 (2), 31 - 39
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 236

แหล่งข้อมูลอื่น แก้