ป่าคำชะโนด เป็นผืนกอวัชพืช (floating mat) ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่[1] เกิดจากการทับถมและผสานตัวของซากวัชพืชน้ำจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน จนก่อกำเนิดคล้ายกับเป็นผืนแผ่นดินลอยตัวในรูปแบบเกาะกลางอ่างเก็บน้ำกุดขาม ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงฤดูฝนในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อ่างเก็บน้ำกุดขามมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ป่าคำชะโนดจึงไม่จมน้ำที่ตามระดับน้ำที่สูงขึ้น หรือเมื่อระดับน้ำลดลง ป่าคำชะโนดก็มีการปรับสภาพไปตามระดับน้ำ ภายในป่าคำชะโนดมีพรรณไม้เด่นคือต้นชะโนด ซึ่งเป็นพืชจำพวกปาล์ม มีความสูงกว่า 30 เมตร[2]

ป่าคำชะโนด

เมืองชะโนด
วังนาคินทร์คำชะโนด
ป่าคำชะโนด
ป่าคำชะโนด
ป่าคำชะโนดตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี
ป่าคำชะโนด
ป่าคำชะโนด
ป่าคำชะโนดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ป่าคำชะโนด
ป่าคำชะโนด
พิกัด: 17°44′41″N 103°21′37″E / 17.744831°N 103.360211°E / 17.744831; 103.360211
จังหวัดจังหวัดอุดรธานี
อำเภออำเภอบ้านดุง
การปกครอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด32,000 ตร.กม. (12,000 ตร.ไมล์)
ความสูง160 เมตร (520 ฟุต)

ป่าคำชะโนด ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลวังทอง, ตำบลบ้านม่วง และตำบลบ้านจันทร์ ใน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ป่าแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญ ที่ปรากฏในตำนานพื้นบ้านอีสาน ประชาชนในพื้นที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเหล่าพญานาค ปู่ศรีสุทโธ ย่าศรีปทุมมา และสิ่งลี้ลับต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวสสันดร รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ

ป่าคำชะโนด แม้จะเป็นผืนแผ่นดินลอยตัวจากกอวัชพืช ทำให้มีการลอยตัวไปตามพลวัตของน้ำ แต่ป่าแห่งนี้ก็เคยเกิดน้ำท่วม โดยเคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่มีการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมในอดีต จึงทำให้พื้นที่ของเกาะซึ่งลอยน้ำอยู่นั้นมีความหนัก เป็นสาเหตุที่ทำให้ผืนกอวัชพืชบางส่วนจมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 ที่ต้องมีการปิดเกาะแห่งนี้เป็นการชั่วคราว[3]

ความเชื่อท้องถิ่น แก้

เรื่องราวของวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ ป่าคำชะโนด กลายเป็นข่าวคราวโด่งดังขึ้นมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าสามารถบันทึกวิดีโอภาพของเปรตและรุกขเทวดาได้ที่ป่าแห่งนี้ ก่อนที่ความจะแตกว่าเป็นเรื่องหลอกลวง[4]

แต่จากนั้น เรื่องราวความลี้ลับในป่าคำชะโนดก็กลายเป็นที่รับรู้และสนใจของคนในสังคมทั่วไป จนหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับอาถรรพ์ของสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2550 เรื่อง ผีจ้างหนัง นำแสดงโดย อชิตะ ปราโมช ณ อยุธยา และภัครมัย โปรตระนันท์[5]

อ้างอิง แก้

  1. กรมการท่องเที่ยว. (2021). คำชะโนด เก็บถาวร 2021-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564
  2. สันติ ภัยหลบลี้. (2021). “คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564
  3. หน้า 14 ประชาชื่น - วิทยาการ - ไอที, น้ำท่วมวังนาคินทร์ อย่าให้สิ้นคำชะโนด. "เดือนหงายที่ชายโขง" โดย ธีรภัทร เจริญสุข. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14388: วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560
  4. "อาถรรพ์ป่าคำชะโนด : ป่าผืนสุดท้าย ต้นไม้ 2,000 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  5. "ผีจ้างหนัง ... อาถรรพณ์ป่าคำชะโนด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้