ปืนต่อสู้รถถัง (อังกฤษ: anti-tank gun; AT-gun) จัดเป็นปืนใหญ่ มีวิถีราบ อำนาจการยิงไกล มีความเร็วต้นของกระสุนและอำนาจทะลุทะลวงสูง พัฒนามาจากปืนใหญ่วิถีราบ (อังกฤษ: cannon) หรือปืนใหญ่สนาม (อังกฤษ: field gun) ในสมัยแรก ปืนต่อสู้รถถังบางส่วนได้รับการพัฒนามาจากปืนต่อสู้อากาศยานที่มีขนาดลำกล้องใหญ่ โดยเปลี่ยนจากใช้กระสุนระเบิดแรงสูง (high-explosive ; HE) มาเป็นกระสุนเจาะเกราะ (armor-piercing ; AP) เช่น ปืน Flak 36 ขนาด 88 มม.ของนาซีเยอรมัน ปืน M1 gun ขนาด 90 มม.ของสหรัฐอเมริกา ฯลฯ เป็นต้น

ปืน OQF 17 pdr. ขนาด 76.2 มม. (3 นิ้ว) ของประเทศอังกฤษ
ทหารของกองพลส่งทางอากาศที่ 82 ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังทำการยิงปืน OQF 17 pdr. ณ เมืองไนจ์เมเจน (Nijmegen) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสกัดการรุกคืบของกองกำลังฝ่ายเยอรมัน ในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ค.ศ. 1944

ลักษณะทั่วไป แก้

ภารกิจของปืนต่อสู้รถถังนั้นใช้สำหรับยิงทำลายรถถังเป็นหลัก ส่วนภารกิจรองใช้ยิงสังหารบุคคลหรือทำลายสิ่งก่อสร้าง ปกติกระสุนพื้นฐานจะเป็นกระสุนระเบิดแรงสูง (High-explosive ; HE) และกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง (High-explosive, anti-tank ; HEAT) แต่ปืนต่อสู้รถถังบางรุ่น เช่น OQF 6 pdr. (M1 57 mm. Gun) และ OQF 17 pdr. ของอังกฤษจะมีกระสุนเจาะเกราะแบบสลัดเปลือกหุ้มทิ้งเอง (Armour-piercing discarding sabot ; APDS) เพิ่มขึ้นมา เพื่อเพิ่มอำนาจในการทะลุทะลวงเกราะของรถถังที่สูงขึ้นด้วย

ปืนต่อสู้รถถังนั้นมักจะมีแผ่นเกราะกำบังด้านหน้าเพื่อป้องกันอันตรายจากกระสุนปืนและสะเก็ดระเบิดจากฝ่ายตรงข้าม มีพลปืนจำนวน 3 คน โดย 2 คนจะเป็นพลบรรจุกระสุนและพลยิง ส่วนอีก 1 คนจะเป็นพลเล็งเป้า โดยปืนต่อสู้รถถังสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยแรงคนในระยะใกล้หรือใช้รถหรือสัตว์ลากจูงในระยะไกล

จากคุณสมบัติดังกล่าวของปืนต่อสู้รถถัง จึงมีบางชาตินำรถถังรุ่นเดิมมาทำการปรับปรุงด้วยการติดตั้งปืนชนิดนี้เข้าไปแทน รวมทั้งมีการออกแบบรถถังรุ่นใหม่บางรุ่นให้ติดตั้งปืนชนิดนี้มาแต่แรก เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการยิงทำลายรถถังด้วยกันโดยเฉพาะรถถังของหน่วย Panzer ที่มีเกราะด้านหน้าและด้านข้างหนา เช่น รถถัง Tiger I รถถัง Panther ฯลฯ ของนาซีเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรถถังที่มีการปรับปรุงหรือติดตั้งปืนชนิดนี้ ได้แก่ รถถัง Sherman Firefly ของกองทัพอังกฤษ ซึ่งทำการติดตั้งปืน OQF 17 pdr. ขนาด 76.2 มม.แทนปืนใหญ่รถถัง M3 L/40 gun ขนาด 75 มม.ของเดิม

ส่วนปืนต่อสู้รถถังบางส่วนได้รับการปรับปรุงเป็นปืนใหญ่รถถัง อาทิเช่น ปืน M3 L/53 gun ขนาด 90 มม.ติดตั้งบนรถถัง M26 Pershing ปืน KwK 36 L/56 ติดตั้งบนรถถัง Tiger I ปืน M6 Gun ขนาด 37 มม.ติดตั้งบนรถถัง M3 Stuart ฯลฯ เป็นต้น

 
ปืน PaK 38 ขนาด 50 มม. ของนาซีเยอรมัน
 
รถถัง Sherman Firefly
 
ปืนต่อสู้รถถัง PaK43 ขนาด 88 มม. ของนาซีเยอรมัน

รายชื่อปืนต่อสู้รถถังบางส่วน แก้

ปืนต่อสู้รถถัง ขนาดลำกล้อง ขนาดกระสุน ประเทศผู้ผลิต
Bofors 37 mm. (PaK 36 , PaK 157) 37 มม. (1.45 นิ้ว) 37 × 249 mm. R   สวีเดน
FlaK 18, 36, 37 ,41 88 มม. 88 × 571 mm. R   ไรช์เยอรมัน
M3 37 mm. Gun 37 มม. (1.45 นิ้ว) 37 × 223 mm. R   สหรัฐ
M1930 (1-K) 37 มม. (1.45 นิ้ว) 37 × 257 mm. R   สหภาพโซเวียต
M1937 (53-K) 45 มม. (1.77 นิ้ว) 45 × 310 mm. R   สหภาพโซเวียต
M1942 (M42) 45 มม. (1.77 นิ้ว) 45 × 386 mm. SR   สหภาพโซเวียต
M2 90 mm. Gun 90 มม. 90 × 600 mm. R   สหรัฐ
M5 3 inch Gun 76.2 มม. (3 นิ้ว) 76.2 × 585 mm. R   สหรัฐ
Ordnance QF 2 pdr. 40 มม. (1.57 นิ้ว) 40 × 304 mm. R   สหราชอาณาจักร
Ordnance QF 6 pdr. (M1 57 mm. Gun) 57 มม. (2.24 นิ้ว) 57 × 441 mm. R   สหราชอาณาจักร
Ordnance QF 17 pdr. 76.2 มม. (3 นิ้ว) 76.2 × 583 mm. R   สหราชอาณาจักร
PaK 38 50 มม. 50 × 419 mm. R   ไรช์เยอรมัน
PaK 97/38 75 มม. 75 × 338 mm. R   ไรช์เยอรมัน
PaK 40 75 มม. 75 × 714 mm. R   ไรช์เยอรมัน
PaK 43 88 มม. 88 × 822 mm. R   ไรช์เยอรมัน

บทบาทในปัจจุบัน แก้

ปัจจุบันปืนต่อสู้รถถังได้ลดบทบาทลงไปมากแล้ว เนื่องจากปืนใหญ่รถถัง (ปถ.) ในยุคนี้ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาจนมีขีดสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น โดยมีความกว้างปากลำกล้องมากกว่า มีความเร็วต้นของกระสุนสูงกว่า ให้ระยะยิงหวังยิงที่ไกลกว่า และสามารถทะลุทะลวงเป้าหมายได้ลึกกว่า อันเนื่องมาจากพัฒนาปืนและกระสุนแบบต่างๆ เช่น ปืนใหญ่รถถัง Royal Ordnance L7 (M68) ขนาด 105 มม. ของอังกฤษและปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall L44 gun (M256) ขนาด 120 มม. ของเยอรมัน ซึ่งติดตั้งบนรถถัง M1 Abrams ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้