ปีเตอร์ ยี (อังกฤษ: Peter Yee) เป็นทั้งนักมายากล นักคิด นักประดิษฐ์ และนักออกแบบอุปกรณ์มายากลชาวไทย ได้รับการยกย่องจากวงการกลว่าเป็นบุคคลที่มีทักษะและความชำนาญในศาสตร์มายากลระดับสูง และจัดเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคนหนึ่งในวงการมายากล[1]

ปีเตอร์ ยี
(Peter Yee)
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด29 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
อาชีพนักมายากล นักแสดง นักประดิษฐ์ โปรดิวเซอร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน

ประวัติ แก้

ปีเตอร์ ยี เกิดในครอบครัวของชาวจีน ย่านเยาวราช มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน เขาเป็นลูกคนที่ 8 บิดาทำงานเป็นนักดนตรีในโรงละครงิ้ว มารดาเป็นแม่บ้านในยุคเสื่อผื่นหมอนใบ เขามีความรักและความชอบในด้านศิลปะมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทั้งวาด เขียน ออกแบบ งานประดิษฐ์ งานไม้ เป็นต้น

ปี พ.ศ. 2513 เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ขณะที่ปีเตอร์นั่งดูโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน เป็นภาพเคลื่อนไหวขาวดำของชายหนุ่มวัยกลางคนกำลังแสดงมายากล เขาหลงใหลในศิลปะมายากลทันที แต่ด้วยความว่ายังเด็กมากในเวลานั้น เขาไม่รู้ว่า สิ่งที่เขาหลงใหลนั้นเรียกว่า มายากล[2]

ในปี พ.ศ. 2514 ขณะที่ปีเตอร์ อายุ 7 ขวบ ก็ได้ดูมายากลด้วยความบังเอิญในรายการโทรทัศน์อีกครั้งหนึ่ง จากรายการ บันไดดารา และ ป็อบท็อบ (Pop Top) โดย พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็นพิธีกร ปีเตอร์ได้รู้แล้วว่า สิ่งที่เขาชื่นชอบมาตลอดระยะเวลา 1 ปี เรียกว่า “มายากล” และตัดสินใจอยากเป็นนักมายากลทันที โดยเริ่มจากการหาตำราสอนเล่นมายากลมาอ่าน ในที่สุดมายากลชุดแรกที่เขาเล่นได้สำเร็จจากตำราสอนกลคือ “การเสกเหรียญหาย (French drop)”[3]

เริ่มต้นสู่อาชีพนักมายากล แก้

ปีเตอร์ฝึกฝนเล่นมายากลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 ปีเตอร์ ยี อายุได้ 11 ปี ได้พบกับสมชัย เมธเมาลี บรรณาธิการนิตยสารมายากลในขณะนั้น และได้ถูกชักชวนเข้าร่วมงานในฐานะฝ่ายขายอุปกรณ์มายากล ปีเตอร์ก็เริ่มหารายได้เองนับแต่นั้น และพัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อย ๆ[4][5]จนขณะนี้ได้เสียชีวิตเเล้ว

ผลงานที่ผ่านมา แก้

 
พ.ศ. 2522 ภาพนิ่งประชาสัมพันธ์งานแสดงมายากลตามร้านอาหารต่างๆของปีเตอร์ ยี

พ.ศ. 2521 อายุ 14 ปี เริ่มรับงานแสดงอย่างเต็มตัวตลอดมา ปีเตอร์ ยี เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Student Weekly เครือ Bangkok Post[6] ว่า “ในชีวิตไม่เคยฝันที่อยากจะทำอย่างอื่นเลย นอกจาก แสดงมายากล” เวลาผ่านไปกว่า 40 ปี อ.ปีเตอร์ได้สั่งสมประสบการณ์ เขาทั้งฝึกซ้อมโดยไม่มีวันหยุด และคิดงานแสดงใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังทำให้เขาได้กลายเป็น “นักแสดง” “นักคิด” “นักประดิษฐ์” มายากลที่มีฝีมือคนหนึ่งของวงการ[7] และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ เฉลิมสวรรค์ ไพบูลย์พันธ์ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟิลิป) และนักมายากลที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน[8][9][10]

พ.ศ. 2533 ปีเตอร์ ยี ถูกแนะนำเข้ามาทำงานเบื้องหลังในฐานะผู้ฝึกสอนมายากลให้กับ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ชุดโฆษณาฟิล์มสีฟูจิ รอบสื่อมวลชน ณ ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว [11]

พ.ศ. 2542 ได้รับพระโอกาสจากเชคคอลีฟะห์ อิบน์ ซุลมัน อัลคอลีฟะห์ นายกรัฐมนตรีประเทศบาห์เรน เพื่อถวายการแสดงมายากลเฉพาะพระพักตร์ และพระบรมวงศานุวงศ์[12]

พ.ศ. 2554 ได้รับพระโอกาสจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อถวายการแสดงมายากลเฉพาะพระพักตร์

จุดกำเนิด นักมายากลอารมณ์ดี แก้

 
พ.ศ. 2554 ขณะที่ปีเตอร์ ยี กำลังแสดงสดอยู่ที่ เดอะพลาเดียม ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ด้วยภาพลักษณ์ของนักมายากลอารมณ์ดี สวมแว่นตาหนากลม สวมหมวกท็อปแฮท (Top Hat) ใส่เสื้อกั๊กสีดำตัวหลวมใหญ่ และมีที่คาดแขนสีแดงทั้งสองข้าง และได้รับฉายา “นักมายากลอารมณ์ดี” (Peter Yee Funny man)

ชีวิตส่วนตัว แก้

ปีเตอร์ และ ครอบครัว ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และมีงานอดิเรกส่วนตัวคือทำอาหาร

ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนมายากล ปีเตอร์ ยี แก้

ปีเตอร์ ได้สร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก และได้เปิด โรงเรียนสอนมายากลปีเตอร์ ยี เพื่อเป็นแนวทางให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและเข้าถึงศิลปะมายากลได้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ เขายังได้เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับเยาวชนกลุ่มหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ที่ทำเพื่อสังคม นั่นก็คือ “โครงการมายากลเพื่อน้อง”

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือพิมพ์โพสต์ ทู เดย์ (Post today), อังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547, คอลัมน์ แมกกาซีน@เวิร์ก, Section C, เขียนโดย สุรชัยพงเพ็ง
  2. นิตยสาร Student weekly, ฉบับที่ 37, 19 มิ.ย. - 25 มิ.ย. 2549, สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, หน้า 16
  3. รายการดุนดารา สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 22 สิงหาคม 2554, สาระแน แชนแนล
  4. รายการเช้าดูวู้ดดี้ สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554, ช่อง 9 อสมท
  5. รายการดุนดารา สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 22 สิงหาคม 2554, สาระแน แชนแนล
  6. นิตยสาร Student weekly, ฉบับที่ 37, 19 มิ.ย. - 25 มิ.ย. 2549, สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, หน้า 16
  7. หนังสือพิมพ์โพสต์ ทู เดย์ (Post today), อังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547, คอลัมน์ แมกกาซีน@เวิร์ก, Section C, เขียนโดย สุรชัยพงเพ็ง
  8. นิตยสาร Student weekly, ฉบับที่ 37, 19 มิ.ย. - 25 มิ.ย. 2549, สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, หน้า 16
  9. รายการเช้าดูวู้ดดี้ สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554, ช่อง 9 อสมท
  10. รายการดุนดารา สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 22 สิงหาคม 2554, สาระแน แชนแนล
  11. รายการเช้าดูวู้ดดี้ สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554, ช่อง 9 อสมท
  12. รายการเช้าดูวู้ดดี้ สัมภาษณ์ ปีเตอร์ ยี, ออกอากาศวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554, ช่อง 9 อสมท

แหล่งข้อมูลอื่น แก้