ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส

ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส (อังกฤษ: Peter Theo Curtis) หรือที่เรียกว่า ธีโอ แพดโนส (อังกฤษ: Theo Padnos; เกิดปี ค.ศ. 1968 – ) เป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่ได้รับการปล่อยตัวจากแนวร่วมอัลนุสเราะในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 หลังจากถูกจับเป็นตัวประกันเป็นเวลาเกือบสองปี เขาเป็นเพื่อนร่วมห้องขังของแมตต์ ชรีเยร์ ซึ่งเป็นช่างภาพสงครามชาวอเมริกัน ที่ได้หลบหนีหลังจากการถูกจองจำเจ็ดเดือน[1]

ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส
เกิดปีเตอร์ เธโอฟีลัส อีตัน แพดโนส
ค.ศ. 1968 (อายุ 55–56 ปี)
แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐ
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่นธีโอ แพดโนส
ปีเตอร์ เคอร์ติส
ศิษย์เก่าวิทยาลัยมิดเดิลบูรี
มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ที่อัมเฮิร์สต์
อาชีพนักข่าว, นักเขียน และครู
บิดามารดาไมเคิล แพดโนส (บิดา)
แนนซี เคอร์ติส (มารดา)

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ แก้

ปีเตอร์ เธโอฟีลัส อีตัน แพดโนส เกิดที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยเป็นบุตรของไมเคิล แพดโนส ซึ่งเป็นนักเขียนที่ตอนนี้อาศัยอยู่ในปารีส (จากนั้นเขาทำงานเป็นนักกฎหมาย) และแนนซี เคอร์ติส[2][3][4] เขาได้รับวุฒิปริญญาตรีจากวิทยาลัยมิดเดิลบูรีในรัฐเวอร์มอนต์ และวุฒิปริญญาเอกสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ที่อัมเฮิร์สต์[5][6] เขาสามารถพูดภาษาฝรั่งเศส, อาหรับ, เยอรมัน และรัสเซียได้อย่างคล่องแคล่ว[7][8]

เขาย้ายไปเวอร์มอนต์และสอนงานประพันธ์ให้แก่นักโทษในเรือนจำท้องถิ่น หนังสือเล่มแรกของเขาชื่อมายไลฟ์แฮดสทูดอะโหลดกัน (My Life Had Stood a Loaded Gun) เป็นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ ในหนังสือเล่มนี้เขาแสดงความสนใจในการเขียนเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่ไม่เป็นมิตร[8][9] จากนั้นเขาก็ย้ายไปที่ประเทศเยเมน ที่ซึ่งเขาเปลี่ยนชื่อตามกฎหมายเป็น ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส โดยเขายังคงทำการเขียนหนังสือต่อ[10] แพดโนสเริ่มศึกษาศาสนาอิสลามในประเทศเยเมนที่ดาร์ อัลฮะดิธ[11] ก่อนที่จะย้ายไปดามัสกัส ประเทศซีเรีย เพื่อลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนศาสนาอิสลาม[12] หนังสือเล่มที่สองของเขาชื่ออันเดอร์คัฟเวอร์มุสลิม ที่ซึ่งเขาเน้นหัวข้อลัทธิสุดโต่งในอิสลาม โดยได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร หลังจากการตีพิมพ์และการเปลี่ยนชื่อ (เป็นปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส) ทำให้การเดินทางของเขาในตะวันออกกลางง่ายขึ้น[13][14] เนื่องจากเขาได้ประกาศความจงรักภักดีต่อศาสนาอิสลามในที่สาธารณะ หนังสือเล่มนี้จึงอาจตีความได้ว่าเป็นการละทิ้งความเชื่อ[11] ในปี ค.ศ. 2012 เขากลายเป็นนักข่าวอิสระ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับตะวันออกกลางสำหรับนิตยสาร เช่น นิวรีพับลิก, เดอะฮัฟฟิงตันโพสต์ และลอนดอนรีวิวออฟบุ๊กส์[15]

จากนั้นเขาก็ย้ายไปที่อันทักยา ประเทศตุรกี ใกล้ชายแดนซีเรีย แม้ว่าเคอร์ติสจะอ้างในบทความของเขาในนิวยอร์กไทมส์ว่าเขาไปซีเรียเพื่อ "แวะเข้าหมู่บ้านและสัมภาษณ์ผู้คน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของประเทศที่มีตัวตนมากมาย โดยรู้สึกคับอกคับใจพวกเขาทุกคน ซึ่งมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ"[12] แต่ต่อมาเขาได้เปลี่ยนเรื่องราวของเขาในสารคดีของเขาโดยสิ้นเชิง โดยอ้างว่าเขาอยู่ที่นั่นเพื่อ "ติดตามผู้ลี้ภัยบางคนที่กลับเข้าไปในซีเรีย และเขียนเกี่ยวกับสภาพที่เลวร้ายในค่าย"[16] อย่างไรก็ตาม ในหนังสืออดีตเพื่อนร่วมห้องขังของเขา "เดอะดาวน์เพรเยอร์" แมตต์ ชรีเยร์ อ้างว่าเคอร์ติสบอกเขาว่าเขาอยู่ในซีเรียเพื่อเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับออสติน ไทซ์ ซึ่งเป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่ถูกลักพาตัว และจัดเตรียมเอกสารเพื่อพิสูจน์ในรูปแบบของอีเมลที่เคอร์ติสเขียนถึงบรรณาธิการของไทซ์ ไม่นานก่อนที่เขาจะถูกลักพาตัวโดยขอให้เขา "รับหน้าที่" บทความ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sly, Liz; Goldman, Adam. "U.S. hostage Peter Theo Curtis is freed after nearly two years in Syria". Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 2, 2014.
  2. Fieldstadt, Elisha; Welker, Kristen (August 24, 2014). "Peter Theo Curtis Freed After Two Years in Captivity". NBC News. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
  3. Westcott, Lucy (August 27, 2014). "Freed U.S. Journalist Peter Theo Curtis Comes Home to Boston". Newsweek. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  4. Ganley, Elaine; Schaeffer, Jeffrey (August 25, 2014). "Freed US reporter's father praises son's noble cause". The Republican. Associated Press. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  5. Rukimini Callimachi (August 24, 2014). "U.S. Writer Held by Qaeda Affiliate in Syria Is Freed After Nearly 2 Years". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  6. Bender, Bryan; Adams, Dan (August 24, 2014). "Militants free US writer with Mass. ties who was held in Syria". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  7. Lawrence Crook III; Ray Sanchez (August 27, 2014). "Freed journalist Curtis back in the U.S." CNN.com. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
  8. 8.0 8.1 Ford, Dana; Almasy, Steve (August 25, 2014). "American held in Syria for almost two years is released". CNN.cm. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  9. "American writer, held captive in Syria since 2012, released into Golan Heights". Jerusalem Post. Reuters. August 25, 2014. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  10. http://www.dailymail.co.uk/news/article-2733192/U-S-journalist-Peter-Theo-Curtis-FREED-Syria-two-years-captivity.html
  11. 11.0 11.1 Wright, Lawrence (July 6, 2015). "Five Hostages". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  12. 12.0 12.1 Padnos, Theo (October 29, 2014). "My Captivity". New York Times. สืบค้นเมื่อ November 5, 2014.
  13. "US hostage in Syria freed after two years in captivity". The National. August 24, 2014. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  14. Bayoumy, Yara; Ortiz, Fiona (August 24, 2014). "Kidnappers free American missing in Syria since 2012". Reuters. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  15. http://edition.cnn.com/2014/08/26/world/meast/american-released-syria/index.html
  16. "YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้