ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสกาล หรือ พาสคัล[1] (อังกฤษ: pascal, สัญลักษณ์: Pa) เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอของความดันที่ใช้ในการคำนวณหาความดันภายใน ความเค้น มอดุลัสของยัง และความทนต่อแรงดึงสูงสุด ซึ่งเป็นคำนิยามของค่า 1 นิวตันต่อตารางเมตร[2] ชื่อหน่วยตั้งตามชื่อของผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล

ปาสกาล
เกจวัดความดันที่อ่านค่าเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว (สเกลสีแดง) และกิโลปาสกาล (สเกลสีดำ)
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ
เป็นหน่วยของความดัน หรือ ความเค้น
สัญลักษณ์Pa 
ตั้งชื่อตามแบลซ ปัสกาล
การแปลงหน่วย
1 Pa ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยฐานเอสไอ:   kgm−1s−2
   หน่วยนิยมของสหรัฐ:   1.450 × 10−4 psi
   บรรยากาศ:   9.869 × 10−6 atm
   บาร์:   10−5 bar

พหุคูณของหน่วยปาสกาลที่พบได้ทั่วไปคือ 1 เฮกโตปาสกาล (1 hPa = 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ และ 1 กิโลปาสกาล (1 kPa = 1,000 Pa) เท่ากับ 1 เซนติบาร์

หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศ (atm) มีค่าเท่ากับ 101,325 ปาสกาล[3] และตามรายงานทางอุตุนิยมวิทยามักวัดความกดอากาศเป็นหน่วยมิลลิบาร์[4][5]

ต้นกำเนิด แก้

ชื่อหน่วยนี้ตั้งตามชื่อของแบลซ ปัสกาล เพื่อเป็นการระลึกถึงผลของเขาต่อสาขาอุทกพลศาสตร์และสถิตยศาสตร์ของไหล และการทดลองด้วยบารอมิเตอร์ โดยปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ในการประชุมของที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัดครั้งที่ 14 ให้ใช้ชื่อหน่วย ปาสกาล แทนหน่วยเอสไอของ นิวตันต่อตารางเมตร (N/m2)[6]

บทนิยาม แก้

1 ปาสกาล คือความดันที่เกิดขึ้นโดยแรงขนาด 1 นิวตัน ในทิศทางที่ตั้งฉากกับพื้นที่ 1 ตารางเมตร

หน่วยปาสกาลสามารถแสดงโดยใช้หน่วยอนุพัทธ์เอสไอหรือหน่วยฐานเอสไอได้ดังนี้

 

โดยที่ N คือนิวตัน m คือเมตร kg คือกิโลกรัม s คือวินาที และ J คือจูล[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า Pascal)
  2. International Bureau of Weights and Measures (2006), The International System of Units (SI) (PDF) (8th ed.), p. 118, ISBN 92-822-2213-6
  3. "Definition of the standard atmosphere". BIPM. สืบค้นเมื่อ 2015-02-16.
  4. "กรมอุตุนิยมวิทยา - รายงานอากาศ ข้อมูลย้อนหลัง สถิติอากาศกรุงเทพมหานคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
  5. "แผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยาเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 62 เวลา 19.00 น." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
  6. bipm.fr เก็บถาวร 30 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Table 3 (Section 2.2.2) เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, SI Brochure, International Bureau of Weights and Measures