ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ[1] บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์

พระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในอุโบสถ
บทสวดปาติโมกข์ ภาษาบาลี
บันทึกเสียงจากการสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ ที่วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
  • มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

    • ไม่มีภิกษุจำปาติโมกข์ได้จนจบ
    • เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่า อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้งสิบ คือ
      • พระราชาเสด็จมา
      • โจรมาปล้น
      • ไฟไหม้
      • น้ำหลากมา
      • คนมามาก
      • ผีเข้าภิกษุ
      • สัตว์ร้ายเข้ามา
      • งูร้ายเลื้อยเข้ามา
      • ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต
      • มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

    ดูเพิ่ม แก้

    อ้างอิง แก้

    1. พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 อุโบสถขันธกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 16-7-52

    ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

    มหาสางฆิกะ ปราติโมกษ์ เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน