ปองพล อดิเรกสาร

ปองพล อดิเรกสาร (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2485) ชื่อเล่น ป๊อก เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นบุตรของพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นบิดาของ ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ส.ส.สระบุรี และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นิตยสาร TVK mag

ปองพล อดิเรกสาร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2535 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าอาสา สารสิน
ถัดไปอาสา สารสิน
เลขาธิการพรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2540 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าเสนาะ เทียนทอง
ถัดไปสนธยา คุณปลื้ม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติไทย
ไทยรักไทย
รวมไทยสร้างชาติ
สร้างอนาคตไทย
คู่สมรสนางธิดา อดิเรกสาร

นอกจากเป็นนักการเมืองแล้ว ยังเป็นเจ้าของนามปากกา Paul Adirex มีผลงานนิยายภาษาอังกฤษและภาษาไทยหลายเล่ม

ประวัติ แก้

ประวัติการศึกษา แก้

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลีไฮ สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา [1] และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 32

ประวัติทางการเมือง แก้

ปองพล อดิเรกสาร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี หลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526, 2535/1, 2538 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2535[2] เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2540-2543 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2544-2545 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2545-2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

กระทั่งวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายปองพลได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[4] แต่ต่อมาปองพลได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 6 กันยายน[5] เนื่องจากปรพลซึ่งเป็นบุตรชายต้องการเปลี่ยนการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากระบบบัญชีรายชื่อ เป็นลงสมัครในระบบเขตแทน แต่พรรครวมไทยสร้างชาติมีผู้สมัครในพื้นที่นั้นเรียบร้อยแล้ว โดยได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย และเปิดตัวพร้อมกับการดำรงตำแหน่งประธานพรรคของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และกลุ่มสี่กุมาร ในอีก 2 วันถัดมา[6] แต่ภายหลัง แกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายกลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ จึงทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขตเลือกตั้งกับผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ปองพลและปรพลจึงลาออกจากสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566[7] และพาปรพลไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในวันรุ่งขึ้น[8]

งานเขียน แก้

ปองพลหันมาเขียนนิยายหลังไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2535 [9] โดยนิยายส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ตัวเอกเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เน้นการผสมระหว่างประวัติศาสตร์และงานข่าวกรอง

ปัจจุบัน ได้หันมาเป็นพิธีกรผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และถ่ายรูปสัตว์ป่า ที่มีผลงานออกมาหลายชิ้นทั้งหนังสือสารคดี, หนังสือรวบรวมภาพถ่าย และรายการสารคดีทางโทรทัศน์ เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว ทุกวันเสาร์เว้นวันเสาร์ในเวลา 06.00 น. ทางช่อง 3[10] และ เรื่องเล่าข้ามโลก ทุกวันเสาร์ในเวลา 17.00 น. ทางช่อง NOW26

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมประชาสัมพันธ์
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. “ปองพล” รับเป็นสมาชิกรวมไทยสร้างชาติ มองสเปกผู้นำ “บิ๊กตู่” ยังทำงานได้
  5. ""พีระพันธุ์" ยัน "ปองพล-ปรพล" ลาออก "รวมไทยสร้างชาติ" ไร้ ขัดแย้ง". ไทยรัฐ. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "2 พ่อลูกอดิเรกสาร ทิ้งรวมไทยสร้างชาติ 'พีระพันธุ์' เผยเหตุ 'ปรพล' เปลี่ยนใจลงเขต". มติชน. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "พรุ่งนี้ "ปองพล-ปรพล" ยื่นลาออกจากสร้างอนาคตไทย หลังมีข่าวดีลพลังประชารัฐ". ไทยรัฐ. 29 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "2 พ่อลูกตระกูล 'อดิเรกสาร' ย้ายซบประชาธิปัตย์ 'ปรพล' ขอลงชิงเขต 1 สระบุรี". มติชน. 1 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Backtalk เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asia Week
  10. ปองพล อดิเรกสาร โชว์ฝีมือภาพถ่ายสัตว์ป่าซาฟารี ใน 4 ทวีป ไทยรัฐ
  11. "ผู้มากบารมี" ซูเปอร์ฮีโร่...นวนิยายเรื่องใหม่ล่าสุดของ ปองพล อดิเรกสาร คมชัดลึก
  12. แนะนำหนังสือ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ปองพล อดิเรกสาร ถัดไป
ศุภชัย พานิชภักดิ์
กร ทัพพะรังสี
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
บัญญัติ บรรทัดฐาน
วิโรจน์ เปาอินทร์
สุทัศน์ เงินหมื่น
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
อาสา สารสิน    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 48)
(22 เมษายน พ.ศ. 2535 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
  อาสา สารสิน
เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
สาวิตต์ โพธิวิหค
พิมพา จันทร์ประสงค์
กร ทัพพะรังสี
ปัญจะ เกสรทอง
   
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 51)
(18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
  โภคิน พลกุล
ชิงชัย มงคลธรรม
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
วีระกร คำประกอบ
ชูชีพ หาญสวัสดิ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 53)
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 11 เมษายน พ.ศ. 2543)
  ประภัตร โพธสุธน
สุวิทย์ คุณกิตติ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 54)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546)
  อดิศัย โพธารามิก