ปลาเลียหิน
ปลาเลียหิน (G. cambodgiensis)
ปลาการ์ร่า รูฟาขณะดูดผิวหนังคน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้นใหญ่: Osteichthyes
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Labeoninae
สกุล: Garra
Hamilton, 1822
ชนิด
มากกว่า 90 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง

ปลาเลียหิน (อังกฤษ: Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/)

เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง[1]

มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร

พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G. fuliginosa, G. notata, G. cambodgiensis, G. fasciacauda เป็นต้น[2]

นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เพื่อให้ดูดกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือและทำความสะอาดตู้เลี้ยง นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ปลาเลียหินยังนิยมใช้ในธุรกิจสปา แบบที่เรียกว่า "ฟิชสปา" โดยให้ผู้ใช้บริการแช่เท้าและขาลงในอ่างน้ำ และให้ปลาเลียหินมาดูดกินผิวหนังชั้นผิวกำพร้าเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ผิวใหม่อีกด้วย โดยในน้ำลายของปลาเลียหินจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่กระตุ้นในการสร้างเซลล์ผิวใหม่[3]ซึ่งปลาเลียหินที่นิยมใช้กันคือ ชนิด G. rufa และ G. sp. ซึ่งพบในประเทศตุรกี [remark 1]

ปลาเลียหินยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ในภาษาไทย อีก เช่น "ปลามูด" หรือ"ปลาอีดูด" หรือ "ปลามัน"

การจำแนก แก้

มากกว่า 90 ชนิด และพบชนิดใหม่ ๆ ทุกปี ราวปีละ 1-2 ชนิด

เชิงอรรถ แก้

  1. ปลาที่ได้ชื่อว่าเลียหินนั้น ยังอาจรวมถึงปลาในสกุล Crossocheilus เช่น ปลาเล็บมือนาง (C. reticulatus) ด้วย ซึ่งก็สามารถใช้เป็นปลาในฟิชสปาได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 79. ISBN 974-00-8701-9
  2. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 234 หน้า. หน้า 153. ISBN 974-484-148-6
  3. “ตอด” นี้เพื่อสุขภาพ ที่ “Café De’ Spa “[ลิงก์เสีย]
  4. Species description republished in 2012
  5. 5.0 5.1 Kurup, B.M. & Radhakrishnan, K.V. (2011): Two new cyprinid fishes under the genus Garra (Hamilton) from Kerala, Southern India. Journal of the Bombay Natural History Society, 107 (3) [2010]: 220-223.
  6. Nebeshwar, K., Bagra, K. & Das, D.N. (2012): Garra kalpangi, a new cyprinid fish species (Pisces: Teleostei) from upper Brahmaputra basin in Arunachal Pradesh, India. เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Journal of Threatened Taxa, 4 (2): 2353–2362.
  7. Shangningam, B. & Vishwanath, W. (2012): A New Species of the Genus Garra Hamilton, 1822 from the Chindwin Basin of Manipur, India (Teleostei: Cyprinidae: Labeoninae). International Scholarly Research Network (ISRN Zoology), 2012 (Article ID 325064): 6 pp. doi:10.5402/2012/325064
  8. "'ปลาเลียหินน้ำว้า' ชนิดใหม่ของโลก". คมชัดลึก. 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 20 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Garra ที่วิกิสปีชีส์