ปลาหูช้างครีบยาว

ปลาหูช้างครีบยาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Ephippidae
สกุล: Platax
สปีชีส์: P.  teira
ชื่อทวินาม
Platax teira
(Forsskål, 1775)
ชื่อพ้อง
  • Chaetodon teira Forsskål, 1775

ปลาหูช้างครีบยาว หรือ ปลาหูช้างยาว หรือ ปลาค้างคาว (อังกฤษ: Longfin batfish, Batfish, Roundface batfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Platax teira) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหูช้าง (Ephippidae)

มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหูช้างกลม (P. orvicularis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ ปลาหูช้างยาวจะมีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลำตัวมีสีดำ ลักษณะแลดูคล้ายค้างคาว โดยเฉพาะเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน อันเป็นที่มาของชื่อ แต่จะครีบทั้งหมดจะหดสั้นลง รวมทั้งสีก็จะค่อย ๆ ซีดจางลงเมื่อปลาโตขึ้น และบริเวณส่วนหน้าก็จะหดสั้นลงด้วย จนทำให้แลดูกลมป้าน

มีความยาวเต็มที่ราว 70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก ลูกปลาปล่อยตัวเองลอยไปกับกระแสน้ำ ในแถบที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เพื่อหลอกลวงสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า

เป็นปลาในวงศ์นี้ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในขณะนี้ ซึ่งแตกต่างจากปลาหูช้างกลม [1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ, ปลาทะเลสวยงาม ที่เพาะพันธุ์ได้ ในประเทศไทย คอลัมน์ Blue Planet หน้า 137 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 21: มีนาคม 2012

แหล่งข้อมูลอื่น แก้