ปลาหมอบัตเตอร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
สกุล: Heterotilapia
สปีชีส์: H.  buttikoferi
ชื่อทวินาม
Heterotilapia buttikoferi
(Hubrecht, 1881)
ชื่อพ้อง[2]
  • Tilapia buttikoferi (Hubrecht, 1881)
  • Chromis buttikoferi Hubrecht, 1881

ปลาหมอบัตเตอร์ (อังกฤษ: Zebra tilapia, Zebra cichlid; ชื่อวิทยาศาสตร์: Heterotilapia buttikoferi) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างคล้ายปลานิล (Oreochromis niloticus) หรือปลาทิลอาเพียชนิดอื่น ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันในสกุล Tilapia มาก่อน ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อพ้อง[2]

จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัวสีเหลืองหรือขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยลายจะจางลงไปเมื่อปลาโตเต็มที่ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก และพบมากที่สุดที่ประเทศไลบีเรีย มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว [3]

สำหรับในประเทศไทย ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล [4]

อ้างอิง แก้

  1. Lalèyè, P. 2010. Tilapia buttikoferi. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 20 April 2013.
  2. 2.0 2.1 Dunz, A. R. & Schliewen, U. K.; (2013): Molecular phylogeny and revised classification of the haplotilapiine cichlid fishes formerly referred to as “Tilapia”. Molecular Phylogenetics and Evolution, 68: 64–80. doi:10.1016/j.ympev.2013.03.015
  3. อรุณี รอดลอย สุจินต หนูขวัญ จารุวรรณ เรืองทอง นาฏฬดา ศุภผล. 100 สายพันธุ์ปลาสวยงาม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพดอกเบี้ย, กันยายน 2552. 110 หน้า. ISBN 978-974-19-4697-6
  4. "10 ปลาเอเลี่ยนในเมืองไทย ที่กำลังยึดแหล่งน้ำโดยคุณไม่รู้ตัว". spokedark. August 13, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้