ปลาตาเหลือก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Elopiformes
วงศ์: Megalopidae
สกุล: Megalops
สปีชีส์: M.  cyprinoides
ชื่อทวินาม
Megalops cyprinoides
(Broussonet, 1782)

ปลาตาเหลือก หรือ ปลาตาเหลือกสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides; อังกฤษ: Indo-Pacific tarpon, Pacific tarpon, Oxeye) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม

อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน

เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

มีชื่อเรียกแตกต่างไปอีกเช่น "ข้าวเหนียวบูด" ภาษาใต้เรียก "เดือน" และภาษายาวีเรียก "บุหลัน" ซึ่งหมายถึง "ดวงจันทร์" เป็นต้น[1]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้