ปลากะพงแม่น้ำไนล์

ปลากะพงแม่น้ำไนล์ (อังกฤษ: Nile perch, African snook; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lates niloticus) หรือชื่อในภาษาพื้นเมืองว่า อิมพิวทา (Imputa)[2] เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงขาว (L. calcarifer) ซึ่งเป็นปลาอยู่ในวงศ์เดียวกัน สกุลเดียวกัน ต่างกันที่ปลากะพงแม่น้ำไนล์มีครีบหลังที่ยกสูงกว่า และมีขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่ได้ใหญ่กว่ามาก โดยยาวได้ถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 200 กิโลกรัม หนักสุดพบ 230 กิโลกรัม จัดเป็นปลาที่มีความใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้

ปลากะพงแม่น้ำไนล์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลากะพง
วงศ์: วงศ์ปลากะพงขาว
สกุล: ปลากะพงขาว (สกุล)
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Lates niloticus
ชื่อทวินาม
Lates niloticus
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง
  • Labrus niloticus Linnaeus, 1758
  • Centropomus niloticus (Linnaeus, 1758)
  • Lates niloticus macrolepidota Pellegrin, 1922
  • Lates albertianus Worthington, 1929
  • Lates niloticus albertianus Worthington, 1929
  • Lates nilotus rudolfianus Worthington, 1929

อาศัยอยู่ในแม่น้ำไนล์ ในทวีปแอฟริกา พบในอียิปต์, ชาด, เซเนกัล, คองโก, เคนยา เป็นต้น นิยมตกเป็นเกมกีฬา โดยถูกจัดให้เป็นปลาที่สามารถตกด้วยเบ็ดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เนื้อบริโภคเป็นอาหารขึ้นชื่อในท้องถิ่น และส่งออกต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ด้วยความใหญ่ในรูปร่าง ในแง่ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ปลากะพงแม่น้ำไนล์ถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในทะเลสาบแทนกันยีกาและทะเลสาบวิกตอเรีย โดยเพาะอย่าง ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เพราะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่กินปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร และกินเป็นจำนวนมาก จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้หลายชนิดต้องอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เพราะปลากะพงแม่น้ำไนล์มิได้เป็นปลาพื้นถิ่นของทะเลสาบทั้งสองแห่งนี้ แต่ทว่าถูกนำไปปล่อยโดยเมื่อทศวรรษที่ 50[3]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Azeroual, A.; Entsua-Mensah, M.; Getahun, A.; Lalèyè, P.; Moelants, T. & Ntakimazi, G. (2018) [errata version of 2018 assessment]. "Lates niloticus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T181839A125152154. doi:10.2305/IUCN.UK.2010-3.RLTS.T181839A7746967.en. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020.
  2. [https://web.archive.org/web/20081122043513/http://www.unep.ch/etu/etp/acts/capbld/rdone/uganda.pdf เก็บถาวร 2008-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลดาวน์โหลด]
  3. Lake Victoria: a sick giant

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้