ปลากระโทงสีน้ำเงิน

ปลากระโทงสีน้ำเงิน
ปลากระโทงสีน้ำเงินตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Istiophoridae
สกุล: Makaira
Lacépède, 1802
สปีชีส์: M.  nigricans
ชื่อทวินาม
Makaira nigricans
Lacépède, 1802
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

สกุล:

  • Eumakaira Hirasaka & Nakamura, 1947
  • Marlina Hirasaka & Nakamura, 1947
  • Orthocraeros Smith, 1956

ชนิด: (ดูในเนื้อหา)

ปลากระโทงสีน้ำเงิน หรือ ปลากระโทงแทงสีน้ำเงิน หรือ ปลาอินทรีช้าง [2] (อังกฤษ: Blue marlin, Atlantic blue marlin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Makaira nigricans) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระโทง

ศัพทมูลวิทยา แก้

จัดเป็นปลากระโทงเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Makaira โดยคำนี้มาจากภาษากรีกคำว่า machaira หมายถึง "มีดสั้น" หรือ "กริช" และภาษาละติน machaera หมายถึง "ดาบ" และชื่อชนิด nigricans เป็นภาษาละติน หมายถึง "เปลี่ยนเป็นสีดำ"[3][4] [5]

ขนาด แก้

มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร (16.4 ฟุต) และหนักได้ถึง 818 กิโลกรัม (1,803 ปอนด์) ในตัวเมีย โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

ปลากระโทงสีน้ำเงิน มีลายสีฟ้าหรือน้ำเงินจางเป็นลายพาดขวางตลอดทั้งลำตัว ด้านหลังมีสีน้ำเงินเข้ม ครีบอกมีความยืดหยุ่นสามารถพับกลับเข้าหาลำตัวได้ มีเส้นข้างลำตัวเป็นวง ครีบหลังตอนหน้าสั้นกว่าความลึกของลำตัว[6]

พฤติกรรม แก้

มีพฤติกรรมและการกระจายพันธุ์เหมือนกับปลากระโทงชนิดอื่น ๆ คือ หากินตามผิวน้ำในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นตามทะเลเปิดหรือมหาสมุทรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ในแต่ละฤดูกาล โดยล่าปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลาแมคเคอเรล, ปลาทูน่า หรือหมึก ขณะเดียวกันก็อาจตกเป็นอาหารของปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เช่น ปลาฉลามมาโกครีบสั้น และปลาฉลามขาว[7]

เดิมที ปลากระโทงสีน้ำเงินถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลากระโทงสีน้ำเงินแอตแลนติก ที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก กับ ปลากระโทงสีน้ำเงินอินโด-แปซิฟิก (M. mazara[8]) ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า แม้ประชากรของ 2 จำพวกนี้แยกออกจากกัน แต่ก็จัดเป็นชนิดเดียวกัน[8] เพราะมีสายพันธุกรรมเหมือนกัน เชื่อว่าประชากรของปลากระโทงสีน้ำเงินทั้ง 2 ถิ่นนี้มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมซึ่งกันและกัน[9][10]

 
โครงกระดูก
 
เนื้อปลาขนาด 8 ออนซ์ (230 กรัม)

นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ และต่อสู้กับเบ็ดได้อย่างสนุก ผู้ตกต้องยื้อสู้กับปลาบนเรีอเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือกว่าครึ่งค่อนวัน อีกทั้งเนื้อก็นิยมบริโภค โดยนิยมนำมาปรุงเป็นซาซิมิในอาหารญี่ปุ่น และถูกเรียกกันในฮาวายว่า "อา'ฮู" (a'u[11]) มีรายงานปริมาณการบริโภคทั่วโลกถึง 3,064 เมตริกตัน ในปี ค.ศ. 2000[12]

ชื่อพ้อง แก้

  • Maikaira nigricans (sic) Lacepède, 1802
  • Makaira nigricans nigricans Lacepède, 1802
  • Xiphias ensis Lacepède, 1800 (ชื่อคลุมเครือ)
  • Makaira ensis (Lacepède, 1800) (ชื่อคลุมเครือ)
  • Tetrapturus herschelii Gray, 1838
  • Histiophorus herschelii (Gray, 1838)
  • Makaira herschelii (Gray, 1838)
  • Tetrapturus amplus Poey, 1860
  • Makaira ampla (Poey, 1860)
  • Makaira ampla ampla (Poey, 1860)
  • Makaira nigricans ampla (Poey, 1860)
  • Tetrapturus mazara Jordan & Snyder, 1901
  • Istiompax mazara (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira ampla mazara (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira mazara (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira nigricans mazara (Jordan & Snyder, 1901)
  • Makaira bermudae Mowbray, 1931
  • Orthocraeros bermudae (Mowbray, 1931)
  • Eumakaira nigra Hirasaka & Nakamura, 1947
  • Makaira nigra (Hirasaka & Nakamura, 1947)
  • Makaira perezi de Buen, 1950
  • Istiompax howardi Whitley, 1954[13]

อ้างอิง แก้

  1. Collette, B., Acero, A., Amorim, A.F., Boustany, A., Canales Ramirez, C., Cardenas, G., Carpenter, K.E., de Oliveira Leite Jr., N., Di Natale, A., Die, D., Fox, W., Fredou, F.L., Graves, J., Guzman-Mora, A., Viera Hazin, F.H., Hinton, M., Juan Jorda, M., Minte Vera, C., Miyabe, N., Montano Cruz, R., Nelson, R., Oxenford, H., Restrepo, V., Salas, E., Schaefer, K., Schratwieser, J., Serra, R., Sun, C., Teixeira Lessa, R.P., Pires Ferreira Travassos, P.E., Uozumi, Y. & Yanez, E. (2012). "Makaira nigricans". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 14 December 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. สายสุนทร, จุมพต. "ความตกลงเพื่อการอนุวัติการตามบทบัญญัติแหงอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยกฎหมายทะเล วันที่ 10 ธันวาคม 1982 เกี่ยวกับการอนุรักษ์ และการจัดการมวลปลาที่ยายถิ่นอยูระหวางเขตทางทะเลและมวลปลาที่ยายถิ่นอยูเสมอ กับการทําประมงของประเทศไทยในทะเลหลวง" (PDF). lawwebservice.
  3. Quattrocchi, Umberto (2000), CRC World Dictionary of Plant Names, CRC, ISBN 978-0-8493-2677-6, สืบค้นเมื่อ 2009-01-29
  4. Old High German Etymological Database (Koebler), Koebler, สืบค้นเมื่อ 2009-02-15
  5. Thacker, Jason R.; Henkel, Terry W (1 May 2004), "New Species of Clavulina from Guyana", Mycologia, Mycologia, 96 (3): 650–657, doi:10.2307/3762182, JSTOR 3762182, PMID 21148885, สืบค้นเมื่อ 2009-02-07{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "คูมือการจำแนกปลากระโทงแทงในภาคสนาม" (PDF). กรมประมง. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
  7. Makaira nigricans (Atlantic Blue Marlin), Zipcode Zoo, สืบค้นเมื่อ 2008-11-18
  8. 8.0 8.1 "Makaira mazara (Jordan & Snyder, 1901)". fishbase.org. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
  9. J. E. Graves (1998), "Molecular Insights Into the Population Structures of Cosmopolitan Marine Fishes", Journal of Heredity, 89 (5): 427–437, doi:10.1093/jhered/89.5.427, see page 429.
  10. V. P. Buonaccorsi, J. R. Mcdowell & J. E. Graves (2001), "Reconciling patterns of inter-ocean molecular variance from four classes of molecular markers in blue marlin (Makaira nigricans)", Molecular Ecology, 10 (5): 1179–1196, doi:10.1046/j.1365-294X.2001.01270.x, PMID 11380876, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24, สืบค้นเมื่อ 2015-01-11.
  11. Makaira nigricans, Animal diversity web, สืบค้นเมื่อ 2008-10-13.
  12. Fooduniversity.com website: Pacific Blue Marlin
  13. "Synonyms of Makaira nigricans Lacepède, 1802". fishbase.org. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Makaira nigricans ที่วิกิสปีชีส์