ปลากระเบนหลังดำ

ปลากระเบนหลังดำ
A large stingray with a mottled color pattern and thick body and tail, swimming over sand
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Dasyatidae
สกุล: Taeniura
สปีชีส์: T.  meyeni
ชื่อทวินาม
Taeniura meyeni
(J. P. Müller & Henle, 1841)
World map with blue coloring around the periphery of the Indian Ocean, from South Africa to the Arabian Peninsula to Southeast Asia as far as Japan and Australia, as well as in a region of Micronesia and around the Galapagos and Cocos Islands in the eastern Pacific
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2][1]
  • Taeniura melanospila Bleeker, 1853
  • Taeniura melanospilos Bleeker, 1853
  • Taeniura mortoni Macleay, 1883

ปลากระเบนหลังดำ (อังกฤษ: Black-blotched stingray, Blotched fantail ray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taeniura meyeni) ปลาทะเลกระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae)

ปลากระเบนหลังดำ เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์นี้ มีความยาวลำตัวจรดปลายหาง 180 เซนติเมตร ความกว้างของลำตัว 330 เซนติเมตร มีลักษณะัพิเศษ คือ ลำตัวค่อนข้างกลมและหนา มีจุดสีดำบนลำตัว มีเงี่ยงพิษ 1 คู่ที่บริเวณโคนหาง ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ

มักอาศัยอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งของแถบอินโด-แปซิฟิก โดยอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ในความลึกตั้งแต่ 1-80 เมตร[3] นอกจากนี้แล้วยังพบได้ตามบริเวณปากแม่น้ำและแนวปะการัง กินหอยสองฝา, ปู และปลาตัวเล็ก ๆ เป็นอาหาร

เป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ และมีการออกลูกแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงมาแล้ว[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. ข้อมูลสัตว์น้ำ[ลิงก์เสีย]
  4. "อัศจรรย์ควันหลงวันแม่ ลูกปลากระเบนหลังดำ เกิดที่ เชียงใหม่ ซู อควาเรียม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Taeniura meyeni ที่วิกิสปีชีส์