ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ

พลเอก ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ (พ.ศ. 2478 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2478 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างยากจน โดยพ่อเป็นตำรวจ ยศพันตำรวจโท (พ.ต.ท.) แม่เป็นแม่บ้าน เป็นลูกชายเพียงคนเดียวในบรรดาลูกทั้งหมด 5 คน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ [1] และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 7 (จปร.7)

ประวัติ แก้

พล.อ.ปรีชา เมื่อรับราชการ ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารนักรบ ผ่านสมรภูมิต่าง ๆ มากมาย จนได้เงินเพิ่มสู้รบมากถึง 16 ขั้น ซึ่งนับว่ามากที่สุดในกองทัพไทย

เคยเป็นรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการในขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2534

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ได้ผันตัวเองเข้าทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา โดยเป็นที่ปรึกษาและรองประธานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือที่นิยมเรียกว่า "ศูนย์คุณธรรม" ซึ่งตั้งขึ้นโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตนายทหารเพื่อนร่วมรุ่นเป็นประธาน นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการและที่ปรึกษาการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกในปี พ.ศ. 2550

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหาด้วย ในฐานะข้าราชการบำนาญของกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้รับการรับเลือก[2]

เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยอย่างโดดเด่น เพราะมักปราศรัยด้วยวาทะและท่าทีที่ดุเดือด

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางจุฑามณี เอี่ยมสุพรรณ ซึ่งเป็นอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 8 คน[1]

ประวัติรับราชการ แก้

  • พ.ศ. 2503 ประจำศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • พ.ศ. 2503 ผู้บังคับหมวด กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2504 ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2506 รองผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 ผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2511 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการอากาศ กองพลทหารอาสาสมัคร
  • พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารราบที่ 3
  • พ.ศ. 2515 หัวหน้าแผนก กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 หัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง กองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2520 รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2524 เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2527 รองเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2528 เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2532 รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2534 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2538 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ แก้

  • พ.ศ. 2508 ปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2512 ปฏิบัติราชการร่วมรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
  • พ.ศ. 2514 ปฏิบัติราชการพิเศษในประเทศลาว
  • พ.ศ. 2519 ปฏิบัติราชการปรามปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2524 ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศของกองทัพบก
  • พ.ศ. 2529 ราชองครักษ์เวร[3][4][5]

เสียชีวิต 6 ธันวาคม 2562

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 พล.อ.ปรีชาได้ร่วมกับนายทหารระดับนายพลเกษียณอายุราชการหลายคน ที่เคยเข้าร่วมกับองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มาก่อน ก่อตั้ง กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ขึ้นมา โดยมุ่งหมายล้มรัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเริ่มต้นชุมนุมขึ้นที่สวนลุมพินี ร่วมกับคณะสันติอโศกตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกัน ทางแกนนำกปท.ได้ตัดสินใจยกระดับการชุมนุมเข้าปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลมิให้ทางรัฐบาลเข้าไปทำงานด้านในได้ ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคงในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ) ขึ้นมาบังคับใช้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้รุกคืบเข้ามาขอคืนพื้นที่ชุมนุม จนในวันที่ 10 ตุลาคม ปีเดียวกัน ทางแกนนำกปท. โดย พล.อ.ปรีชา ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีมติที่จะกลับไปชุมนุมยังสถานที่เดิม คือ สวนลุมพินี ยังความไม่พอใจแก่ผู้ชุมนุมบางส่วนที่สมทบกันเข้ามา จึงแยกตัวออกไปชุมนุมต่างหากในชื่อ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.[6])

ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ขึ้นมาที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทางแกนนำกปท.ก็มีชื่อเป็นคณะกรรมการด้วย และได้ชุมนุมคู่ขนานกันไป โดยในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ทางกปปส.ได้จัดชุมนุมใหญ่แบบปิดทางแยกสำคัญ ๆ หลายแยกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กปท.ก็ได้ชุมนุมคู่ขนานโดยทำการปิดสะพานพระราม 8 จนถึงแยกวิสุทธิ์กษัตริย์ด้วย[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย พล.อ.ปรีชามีชื่อเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 14[8] [9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ประเทศไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

  •   สหรัฐ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เหรียญแอร์ ประดับ V
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณจากเว็บไซต์สันติอโศก
  2. "พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ" ประธาน "พันธมิตร" สาขา2จากเว็บไซต์มติชน
  3. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  4. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  5. ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
  6. "'นิติธร ล้ำเหลือ'"ไม่มีนักการเมืองคนไหนมาสั่งผมได้"". ผู้จัดการออนไลน์. 19 October 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.[ลิงก์เสีย]
  7. กองบรรณาธิการคมชัดลึก. บันทึกมวลมหาประชาชน. กรุงเทพฯ : คมชัดลึกมีเดีย, 2557. 204 หน้า. ISBN 978-616-737-713-1
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๕ กันยายน ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๙๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓

แหล่งข้อมูลอื่น แก้