ปราโมทย์ ไม้กลัด

ปราโมทย์ ไม้กลัด นักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[1]

ปราโมทย์ ไม้กลัด
เกิด3 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 (83 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากอดีตอธิบดีกรมชลประทาน
อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
คู่สมรสเตือนใจ ไม้กลัด
บุตรปิตินันท์ ไม้กลัด
สุรังสี ไม้กลัด
ชไมภัค เตชัสอนันต์
บุพการีกฤษณา ไม้กลัด
ปิ่น ไม้กลัด

ประวัติ แก้

ปราโมทย์ ไม้กลัด เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ที่แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายกฤษณา กับนางปิ่น ไม้กลัด มีอาชีพทำสวน นายปราโมทย์ ไม้กลัด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีช่างชลประทานบัณฑิต (เกียรตินิยม) คณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเดวิส สหรัฐอเมริกา แล้วฝึกงานด้านวิศวกรรมชลประทานที่ Bureau of Reclamation เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด และที่โครงการชลประทานต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาอีก 1 ปี

นายปราโมทย์ ไม้กลัด สมรสกับ นางเตือนใจ จันทน์ล้ำเลิศ มีบุตรชาย 1 คน คือ ปิตินันท์ ไม้กลัด ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์สินเชื่อบรรษัท บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)[2] และบุตรสาว 2 คน คือ สุรังสี ไม้กลัด เป็น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศระดับมัธยมศึกษาประจำ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชไมภัค เตชัสอนันต์ เป็น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3]

การทำงาน แก้

 
ปราโมทย์ ไม้กลัด (นั่งในเรือด้านขวาสุดของภาพ) ขณะถวายข้อมูลแก่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในบึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2528 (ภาพจิตรกรรมภายในพระที่นั่งทรงธรรม ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พ.ศ. 2560)

หลังจากจบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2511 ได้เข้ารับราชการที่กองวิชาการ กรมชลประทาน ทำงานด้านออกแบบเขื่อนและอาคารประกอบ ระบบส่งน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ เช่น โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

นายปราโมทย์ ไม้กลัด เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานใน พ.ศ. 2540 รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน พ.ศ. 2542 และสมาชิกวุฒิสภาของกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2543

นายปราโมทย์ ไม้กลัด ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์พิเศษหลักสูตรปริญญาโท คณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

รางวัลและเกียรติยศ แก้

นายปราโมทย์ ไม้กลัด ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมชลประทาน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2536 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในปี พ.ศ. 2537 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี พ.ศ. 2539 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในปี พ.ศ. 2540 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ในปี พ.ศ. 2541 และ วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2542[4]

นายปราโมทย์ ไม้กลัด ได้รับการยกย่องรางวัลอื่นๆ อาทิ พ.ศ. 2536 บุคคลดีเด่นของชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ต้องการอ้างอิง] พ.ศ. 2536 นิสิตเก่าดีเด่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] พ.ศ. 2538 นิสิตเก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] พ.ศ. 2539 วุฒิบัตรกิตติมศักดิ์และเข็มแสนยาธิปัตย์ วิทยาลัยกองทัพบก[ต้องการอ้างอิง] พ.ศ. 2540 ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ[ต้องการอ้างอิง] พ.ศ. 2541 นิสิตเก่าดีเด่นแห่งทศวรรษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
  2. ประวัติ ปราโมทย์ ไม้กลัด[ลิงก์เสีย]
  3. "หัวหน้าภาควิชาภาษาต่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
  4. "อาจารย์รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-17. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 34 (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙, ๑๙ เมษายน ๒๕๒๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๔, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้