ปรัชญาการศึกษา[1] (อังกฤษ: Philosophy of education; educational philosophy) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ศึกษาศาสตร์ และจิตวิทยาประยุกต์ ที่ใช้ในการพิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการและผลทางการศึกษา[2] โดยได้รับอิทธิพลจาก 2 ด้านที่สำคัญ ด้านแรกคือทางด้านปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของจริยธรรมและญาณวิทยา อีกด้านหนึ่งคือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน[3] การเรียนการสอนทางด้านปรัชญาการศึกษานั้นจัดการเรียนในคณะทางด้านศึกษาศาสตร์ มากกว่าที่จะจัดการเรียนการสอนในคณะจิตวิทยา[4][5] สำหรับปรัชญาการศึกษานั้นสืบย้อนไปถึงในสมัยโสกราตีส แต่ได้รับการยอมรับในฐานะศาสตร์ ๆ หนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19[6] เนื่องจากศาสตร์นี้ยังขาดการเชื่อมต่อกับศาสตร์อื่นๆทางด้านจิตวิทยา ส่งผลให้ปรัชญาการศึกษายังคงเปิดรับแนวความคิดใหม่[7]

ปรัชญาการศึกษา แก้

นักปรัชญาการศึกษา แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, ศัพท์ศึกษาศาสตร์, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 401
  2. Frankena, William K.; Raybeck, Nathan; Burbules, Nicholas (2002). "Philosophy of Education". In Guthrie, James W. Encyclopedia of Education, 2nd edition. New York, NY: Macmillan Reference. ISBN 0-02-865594-X
  3. D. C. Phillips, "What is philosophy of education", in Sage Handbook of Philosophy of Education, ISBN 9780415428927
  4. Noddings, N. (1950). Philosophy of Education. Boulder, CO: Westview ISBN 0-8133-8429-X
  5. Noddings 1995, pp. 1–6
  6. Blake, Smeyers, Smith, and Standish, "Introduction". Blackwell Guide to the Philosophy of Education, ISBN 0631221182
  7. Phillips, D.C., Philosophy of Education, The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Spring 2009 Edition), Edward N. Zalta (ed.)