ประวัติศาสตร์อักษร

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่น ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรละติน[1]

จุดกำเนิดในอียิปต์ แก้

เมื่อประมาณ 2,157 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาอักษร 22 ตัว ใช้แสดงเสียงพยัญชนะ และสัญลักษณ์ตัวที่ 23 ใช้แสดงคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ ซึ่งใช้แสดงการออกเสียงของอักษรไฮโรกลิฟฟิกที่ใช้แทนคำ แสดงการผันทางไวยากรณ์ และใช้ถ่ายเสียงคำยืมจากภาษาอื่น แต่ตัวอักษรเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในระบบอักษรแทนหน่วยเสียง ระบบอักษรแทนหน่วยเสียงปรากฏครั้งแรกเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคนงานชาวเซมิติกในอียิปต์ตอนกลาง[2] อีก 500 ปีต่อมา อักษรนี้ได้แพร่กระจายขึ้นไปทางเหนือ และเป็นต้นกำเนิดของอักษรต่าง ๆ ทั่วโลก ยกเว้นอักษรเมรอยติกที่พัฒนาจากไฮโรกลิฟฟิกเมื่อ พ.ศ. 243 ในนิวเบีย อียิปต์ใต้

อักษรตระกูลเซมิติก แก้

อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่น ๆ เข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติกเช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก)[3] เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น [4] ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก

ชื่ออักษรและการเรียงลำดับ แก้

ตารางนี้แสดงอักษรฟินิเชียและอักษรที่เป็นลูกหลาน

ลำดับที่ อักษรคานาอันไนต์ ระบบสัทศาสตร์สากล(IPA) value อักษรยูการิติก อักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรู อักษรอาหรับ อักษรที่เป็นลูกหลาน
1 ʼalp "วัว" /ʔ/ 1 𐎀 ʼalpa   ʼālep א ا Α A А
2 bet "บ้าน" /b/ 2 𐎁 beta   bēt ב Β B В-Б
3 gaml “เครื่องขว้าง” /g/ 3 𐎂 gamla   gīmel ג Γ C-G Г
4 dalet “ประตู” / digg “ปลา” /d/ 4 𐎄 delta   dālet ד Δ D Д
5 Haw “หน้าต่าง” / hll “การเฉลิมฉลอง” /h/ 5 𐎅 ho   ה هـ Ε E Е-Є
6 wāw “ห่วง” /β/ 6 𐎆 wo  wāw ו و polytonicϜ-Υ F-V-Y У
7 zen “อาวุธ” / ziqq “โซ่ตรวน” /z/ 7 𐎇 zeta   zayin ז ز Ζ Z З
8 ḥet “เส้นด้าย” / “รั้ว” /ħ/ / /x/ 8 𐎈 ḥota   ḥēt ח ح Η H И
9 ṭēt “ล้อ” /tˁ/}} 9 𐎉 ṭet   ṭēt ט ط Θ Ѳ
10 yad “แขน” /j/ 10 𐎊 yod   yōd י ي Ι I
11 kap “มือ” /k/ 20 𐎋 kap   kap כ ك Κ K К
12 lamd “ปฏัก” /l/ 30 𐎍 lamda   lāmed ל ل Λ L Л
13 mem “น้ำ” /m/ 40 𐎎 mem   mēm م Μ M М
14 naḥš “งู” / nun“ปลา” /n/ 50 𐎐 nun   nun נ ن Ν N Н
15 samek “การสนับสนุน” / “ปลา” ?" /s/ 60 𐎒 samka   sāmek ס - Ξ
16 ʻen “ตา” /ʕ/ 70 𐎓 ʻain   ʻayin ע ع Ο O О
17 pu “ปาก” / piʼt“มุม” /p/ 80 𐎔 pu   פ ف Π P П
18 ṣad “พืช” /sˁ/ 90 𐎕 ṣade   ṣādē צ ص Ϡ
19 qup “เชือก” /kˁ/ 100 𐎖 qopa   qōph ק ق Ϙ Q Ҁ
20 raʼs “หัว” /r/ / /ɾ/ 200 𐎗 raša   rēš ר ر Ρ R Р
21 šin “ฟัน” / šimš “พระอาทิตย์” /ʃ/ 300 𐎌 šin   šin ש س Σ S Ш
22 Taw “แต้ม” /t/ 400 𐎚 to   tāw ת ت Τ T Т

ลูกหลานของอักษรเซมิติก แก้

อักษรคานาอันไนต์ระยะแรกใช้แทนเสียงพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าอักษรไร้สระ และพัฒนาต่อไปเป็นอักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิกที่พัฒนาไปจากอักษรฟินิเชียซึ่งใช้เขียนภาษาราชการของจักรวรรดิเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษของอักษรอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่

อีกทางหนึ่ง อักษรฟินิเชียพัฒนาไปเป็นอักษรกรีกและอักษรเบอร์เบอร์โบราณ[7] และเริ่มมีการกำหนดอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ ตัวอย่างเช่น ภาษากรีก ไม่มีเสียง อ หรือ ฮ (h) ดังนั้น อักษรฟินิเชีย ’alep และ he กลายเป็นอักษรกรีก อัลฟา และ e (ต่อมาคือเอฟซิลอน) และใช้แทนเสียงสระอะ (/a/) และเอ (/e/) แทนเสียง /อ/ และ /ฮ/ เนื่องจากภาษากรีกมีเสียงสระ 6 -12 เสียง ชาวกรีกจึงพัฒนาอักษรเพิ่ม เช่น ei, ou, and o (ต่อมาคือ โอเมกา)[8]

อักษรกรีกเป็นต้นแบบของอักษรสมัยใหม่ในยุโรป เช่นอักษรละตินและอักษรอิตาลีโบราณ โดยอักษรเหล่านั้นมีสัญลักษณ์แทนเสียงสระด้วย เช่น อักษรกลาโกลิติก อักษรซีริลลิก อักษรอาร์มีเนีย อักษรโกธิก และอาจรวมอักษรจอร์เจียด้วย[9][10]

นอกจากความสัมพันธ์ในแนวเส้นตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรในด้านอื่นๆอีก เช่น อักษรแมนจู มาจากอักษรไร้สระในเอเชียตะวันตก แต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรฮันกึลด้วย อักษรจอร์เจียมาจากอักษรอราเมอิกแต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรกรีก อักษรกรีกที่ปรับปรุงแล้วนำไปใช้คู่กับไฮโรกลิฟ 6 ตัว ใช้เขียนภาษาคอปติก อักษรครีมีลักษณะผสมระหว่างอักษรเทวนาครีและชวเลขของพิตแมน และมีลักษณะคล้ายตัวเขียนของอักษรละติน

อักษรอิสระ แก้

อักษรที่ใช้ในปัจจุบันและไม่อาจย้อนกลับไปหาอักษรคานาอันไนต์ได้ คือ อักษรทานะ แม้ว่าจะดูเหมือนอักษรอาหรับ แต่ที่จริงแล้วมาจากตัวเลข อักษรโซมาลีที่ใช้ในโซมาลีเมื่อ พ.ศ. 2463 และเป็นอักษรราชการคู่กับอักษรละตินจนถึง พ.ศ. 2515 มีรูปร่างพยัญชนะที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ อักษรสันตาลีที่ใช้ในเอเชียใต้ มีพื้นฐานจากสัญลักษณ์ทั่วไป อักษรโอคัมในสมัยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นขีด และจารึกในสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย เคยเขียนในรูปแบบอักษรรูปลิ่ม และมีการใช้ในระบบอักษรเป็นครั้งคราว

อักษรในสื่ออื่น ๆ แก้

เมื่อสื่อที่ใช้เขียนอักษรเปลี่ยนไปทำให้รูปร่างของอักษรเปลี่ยนไปได้ เช่นอักษรยูการิติกที่เป็นอักษรรูปลิ่ม อาจจะมาจากตระกูลเซมิติก การประดิษฐ์หรือปรับปรุงอักษรใหม่ ๆ ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น อักษรเบรล รหัสมอร์ส ชวเลข

อ้างอิง แก้

  1. Himelfarb, Elizabeth J. "First Alphabet Found in Egypt", Archaeology 53, Issue 1 (Jan./Feb. 2000): 21
  2. Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet. Berkeley: University of California Press. pages 211-213.
  3. McCarter, P. Kyle. “The Early Diffusion of the Alphabet.” The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 57.
  4. Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 212.
  5. Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 222
  6. Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 172.
  7. McCarter, P. Kyle. "The Early Diffusion of the Alphabet", The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 62.
  8. Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 170.
  9. Robinson, Andrew. The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms. New York: Thames & Hudson Ltd., 1995
  10. BBC. "The Development of the Western Alphabet." [updated 8 April 2004; cited 1 May 2007]. Available from http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/A2451890.
  • David Diringer, History of the Alphabet, 1977, ISBN 0-905418-12-3.
  • Peter T. Daniels, William Bright (eds.), 1996. The World's Writing Systems, ISBN 0-19-507993-0.
  • Joel M. Hoffman, In the Beginning: A Short History of the Hebrew Language, 2004, ISBN 0-8147-3654-8.
  • Robert K. Logan, The Alphabet Effect: The Impact of the Phonetic Alphabet on the Development of Western Civilization, New York: William Morrow and Company, Inc., 1986.
  • B.L. Ullman, "The Origin and Development of the Alphabet," American Journal of Archaeology 31, No. 3 (Jul., 1927): 311-328.
  • Stephen R. Fischer, A History of Writing 2005 Reaktion Books CN 136481 Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_alphabet"