ประพันธ์ อัมพุช

ประพันธ์ อัมพุช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย ในช่วงปี พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2518 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของจังหวัดพะเยา เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคสันติชน และเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา

ประพันธ์ อัมพุช
รองหัวหน้าพรรคสันติชน
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2465
อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (ในขณะนั้น)
เสียชีวิต21 เมษายน พ.ศ. 2536 (71 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย
คู่สมรสนางกิ่งทอง อัมพุช

ประวัติ แก้

ประพันธ์ อัมพุช เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายเมืองใจ กับนางบุง อัมพุช มีน้อง 4 คน นายประพันธ์สมรสกับนางกิ่งทอง อัมพุช มีบุตร 3 คน

ประพันธ์ จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์ จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมืองพะเยา ต่อมาเข้าเรียนต่อจนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากโรงเรียนฝึกหัดครู จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 เข้ารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์

ประพันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2536

การเมือง แก้

ประพันธ์ อัมพุช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[1] ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต 2 (พื้นที่อำเภอแม่สรวย, อำเภอเวียงป่าเป้า, อำเภอพาน, อำเภอแม่ใจ, อำเภอพะเยา, อำเภอดอกคำใต้ และ กิ่งอำเภอป่าแดด) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เป็น 1 ใน 8 ส.ส.ของพรรคสันติชน[2]

ประพันธ์ อัมพุช เป็นนักการเมืองที่ผลักดันการจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยการเสนอแยกออกจากจังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2518

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พะเยายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522) เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในนามพรรคชาติไทย

ประพันธ์ อัมพุช ได้รับการยกย่องโดยการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  3. พิธีเปิดอนุสาวรีย์อดีตส.ส.ประพันธ์ อัมพุธ และลานวัฒนธรรม
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๓๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓