บ๊วย (Prunus mume)

(เปลี่ยนทางจาก บ๊วย (Rosaceae))
บ๊วย
ดอกของบ๊วย
ผลของบ๊วยบนต้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Prunus
สกุลย่อย: Prunus
ส่วน: Armeniaca[1]
สปีชีส์: P.  mume
ชื่อทวินาม
Prunus mume
Siebold & Zucc.
บ๊วย (Rosaceae)

บ๊วย (จีน: , แต้จิ๋วเพ็งอิม: bhuê5; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลาว[2][3] ในประเทศไทยนิยมปลูกบริเวณภาคเหนือของไทย เช่น ดอยอ่างขาง ในโครงการหลวง โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวันและญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวหรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง

ประโยชน์ของบ๊วย แก้

บ๊วยจัดเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณหลายอย่าง และเป็นที่รู้จักกันดีในการนำเอาผลไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปทำเป็นน้ำบ๊วย เพื่อช่วยในการเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย, เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร, ลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษที่ร่ายกายและยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร, แก้เหงือกอักเสบที่เป็นปัญหาของกลิ่นปาก, แก้อาการเมาค้าง ไม่ว่าจะเกิดจากการดื่มสุรา หรือจากการเดินทาง เช่น เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อย, ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหาร, แก้อาการแพ้ท้อง, ลดอาการกระหายน้ำ ลดการเสียเหงื่อในร่ายกาย

โดยส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นบ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม หรือใช้ทำอาหารเช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. Rehder, A. (1927). Manual of cultivated trees and shrubs hardy in North America exclusive of the subtropical and warmer temperate regions. New York: Macmillan publishing.
  2. Fang J, Twito T, Zhang Z, Chao CT (October 2006). "Genetic relationships among fruiting-mei (Prunus mume Sieb. et Zucc.) cultivars evaluated with AFLP and SNP markers". Genome. Canadian Science Publishing. 49 (10): 1256–64. doi:10.1139/g06-097. eISSN 1480-3321. PMID 17213907.
  3. Uematsu, Chiyomi; Sasakuma, Tetsuo; Ogihara, Yasunari (1991). Phylogenetic relationships in the stone fruit group of Prunus as revealed by restriction fragment analysis of chloroplast DNA. The Japanese Journal of Genetics 66 (1): 60. "P. mume had its origin in South China around the Yangtze River (Kyotani, 1989b)." ISSN 0021-504X. doi:10.1266/jjg.66.59.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Prunus mume ที่วิกิสปีชีส์

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Prunus mume