บ้านชิลเลอร์ เมืองไวมาร์

บ้านชิลเลอร์ในเมืองไวมาร์ (หรือ อาคารที่พักอาศัยของชิลเลอร์) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่บริหารจัดการโดยมูลนิธิไวมาร์คลาสสิกซึ่งเคยเป็นบ้านเก่าของฟรีดริช ชิลเลอร์ (ปี ค.ศ. 1759–1805) ในเมืองไวมาร์

บ้านชิลเลอร์ เมืองไวมาร์
บ้านชิลเลอร์ ในปี 1900
ห้องทำงานของชิลเลอร์และห้องที่เขาเสียชีวิต (ปี ค.ศ. 1853)
ห้องทำงานของชิลเลอร์และห้องที่เขาเสียชีวิต (ปี ค.ศ. 1963)
บ้านชิลเลอร์และพิพิธภัณฑ์ชิลเลอร์ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังในปีที่เปิดพิพิธภัณฑ์ (ปี ค.ศ. 1988)
ห้องคนรับใช้ในบ้านของชิลเลอร์

บ้านหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองไวมาร์คลาสสิก” ซึ่งเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

ประวัติศาสตร์ความเป็นมา  แก้

แต่เดิมบ้านหลังนี้สร้างขึ้นโดย อันโทน เกออร์ก เฮาพท์มันน์ (ปี ค.ศ.1735-1803) ให้กับพ่อค้าคนหนึ่งในปี ค.ศ. 1777 อาคารข้างๆ ที่สร้างไว้แล้วถูกนำมาใช้ให้เป็นส่วนหลังของบ้าน คำว่า “โรงเหรียญ” ที่ใช้เรียกอาคารหลังเก่าข้างๆ กันนี้มาจากว่าบนที่ดินของบ้านชิลเลอร์เคยเป็น “โรงเหรียญเก่า” หรือโรงเหรียญกษาปณ์ของขุนนางมาก่อน

ปัจจุบันบ้านชิลเลอร์ตั้งอยู่เลขที่ 12 ถนนชิลเลอร์ หรือในอดีตคือถนนเอสพลานาดซึ่งสร้างขึ้นหลังการรื้อถอนป้อมปราการเก่าของเมืองไวมาร์ในระหว่างปี ค.ศ. 1760 และปี ค.ศ. 1765 ต่อมาในปี ค.ศ. 1801 ชาร์ลส เมลลิช ออฟ ไบลธ์ นักเขียนและนักแปลชาวอังกฤษได้ซื้อบ้านนี้ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1802 ได้ขายบ้านหลังนี้ให้กับชิลเลอร์ ชิลเลอร์และครอบครัวได้เข้ามาอาศัยเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1802 ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1799 ครอบครัวชิลเลอร์ได้ย้ายจากเมืองเยนามายังเมืองไวมาร์และอาศัยในห้องเช่าในตรอกวินดิชเชน อย่างไรก็ตาม ชิลเลอร์เห็นว่าห้องเช่าบนชั้น 2 และห้องใต้หลังคาที่เช่ามาด้วยนั้นไม่เหมาะสำหรับทำงานอย่างสงบ ทำให้เขาต้องการมีที่ดินเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น ชิลเลอร์จึงคว้าโอกาสเมื่อมีผู้เสนอขายที่ดินนี้ และหยิบยืมเงินมา 4200 เหรียญทาเลอร์

ชิลเลอร์ได้บูรณะบ้านครั้งใหญ่ ส่วนหนึ่งคือการย้ายบันไดของบ้านส่วนหน้า มาไว้ตรงกลางระหว่างบ้านส่วนหน้าและส่วนหลัง บนชั้น 2 เป็นห้องนั่งเล่นของครอบครัวและห้องนอนของชาร์ล็อตผู้เป็นภรรยา รวมถึงห้องนอนของลูกสาว ส่วนชั้นที่ 3 เป็นห้องใต้หลังคาได้ตกแต่งเป็นห้องทำงานและห้องนั่งเล่นของชิลเลอร์

ฟรีดริช ฟอน ชิลเลอร์เสียชีวิตในตอนเย็นของวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 ในบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ชาร์ล็อตยังคงอาศัยในบ้านหลังนั้นกับลูกอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อลูกๆ เริ่มออกไปอยู่นอกบ้าน จึงปล่อยห้องให้เช่า ชาร์ล็อตเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1826 ต่อมาในปี ค.ศ. 1827 ลูกๆได้ขายบ้านให้กับนักพฤกษศาสตร์ โยฮัน คริสตอฟ ก็อทโลบ ไวเซอ เขายกบ้านนี้ให้กับภรรยา และของตกแต่งบ้านบางส่วนได้ถูกนำมาขายทอดตลาด

ในปี ค.ศ. 1847 ทางการเมืองไวมาร์ได้ประมูลที่ดินมรดกตกทอดของตระกูลไวเซอ ตามกฎหมาย และได้ก่อตั้งอนุสรณ์สถานของชิลเลอร์ไว้ภายในอาคาร นอกจากนั้นได้บูรณะ ห้องทำงานและห้องที่ชิลเลอร์เสียชีวิตให้เหมือนเดิมมากที่สุด ในช่วงหลายปีถัดมาได้มีการจัดให้บริเวณชั้น 1 เป็นร้านขายงานศิลปะเล็กๆ ที่เปิดถึงปี ค.ศ. 1905 และในช่วงหลังปี ค.ศ. 1847 มูลนิธิชิลเลอร์ สมาคมเกอเธ่ และสมาคมเช็คสเปียร์ได้เช่าห้องที่อยู่ภายในอาคารด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงห้องนั่งเล่นด้วย

ศูนย์กลางของเมืองคลาสสิกถูกระเบิดอย่างรุนแรงจากกลุ่มแองโกล-อเมริกันในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งบ้านชิลเลอร์ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลังจากที่เมืองไวมาร์ได้มีมาตรการฟื้นฟูบูรณาการครั้งใหญ่ ก็ได้เปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 และในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1988 ได้ทำการบูรณะบ้านชิลเลอร์ครั้งใหญ่ ซึ่งได้สร้างพิพิธภัณฑ์ชิลเลอร์หลังใหม่ด้านหลังอาคารที่พักอาศัยของชิลเลอร์ด้วย ปัจจุบันบ้านชิลเลอร์ และพิพิธภัณฑ์นี้อยู่ในความดูแลของมูลนิธิไวมาร์คลาสสิกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองไวมาร์คลาสสิก” และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998

ดูเพิ่มเติมที่ แก้

  • • บ้านสวนชิลเลอร์

วรรณกรรม แก้

  • แม่แบบ:GartenlaubeDie Gartenlaubeแม่แบบ:Gartenlaube
  • Das Schillerhaus zu Weimar. Ein Führer für Einheimische und Fremde. Panses Verlag, Weimar 1913.
  • Eduard Scheidemantel: Das Schillerhaus in Weimar. 29. bis 31. Tausend 1942. Druck, Panses Verlag, Weimar.
  • Gerhard Hendel: Das Schillerhaus in Weimar. Hg. von den Nationalen Forschungs- und Gedenkstätten der klassischen deutschen Literatur in Weimar. Aufbau-Verlag in Kommission. 11. Aufl., Berlin/Weimar 1977.
  • Christina Tezky, Viola Geyersbach: Schillers Wohnhaus in Weimar. Stiftung Weimarer Klassik bei Hanser. München, Carl Hanser Verlag, Wien 1999, ISBN 3-446-19730-3.
  • Paul Raabe: Spaziergänge durch Goethes Weimar. 9. Aufl., Arche, Zürich/Hamburg 2003, ISBN 3-7160-2182-2.
  • Ernst-Gerhard Güse, Jonas Maatsch: Schillers Wohnhaus. Weimar 2009, ISBN 978-3-7443-0144-2.

เว็บลิงก์ แก้