บุญศักดิ์ พลสนะ

เรือตรี บุญศักดิ์ พลสนะ (ชื่อเล่น: แมน;[1] 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 — ) เป็นอดีตนักแบดมินตันชายมือ 1 ทีมชาติไทย เคยขึ้นอันดับสูงสุดมือ 4 ของโลกเมื่อสัปดาห์ที่ 48 ใน พ.ศ. 2553 [2] โดยได้ประกาศเลิกเล่นเมื่อปี พ.ศ. 2559[3]

บุญศักดิ์ พลสนะ
เรือตรี บุญศักดิ์ พลสนะ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเล่นแมน
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 (42 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ส่วนสูง1.78 m (5 ft 10 in)
น้ำหนัก70 กก.
อันดับโลกสูงสุด4 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)

ประวัติ แก้

 
บุญศักดิ์ พลสนะ ในปี พ.ศ. 2556

เรือตรี บุญศักดิ์ พลสนะ เกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรของนายจิระศักดิ์และนางบุญชื่น พลสนะ เป็นบุตรคนที่สามและเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของครอบครัว มีพี่สาว 2 คน และน้องสาว 1 คนชื่อสลักจิต พลสนะ ชื่อเล่น มิ้ง ซึ่งเป็นนักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทยเช่นกัน

บุญศักดิ์มีส่วนสูงอยู่ที่ 178 ซม. น้ำหนัก 70 กก. นักแบดมินตันที่ชื่นชอบ คือ สมพล คูเกษมกิจ ด้านการศึกษา บุญศักดิ์เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 และศึกษาต่อมัธยมปลาย (สายศิลป์) ที่ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และอุดมศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จนจบ

บุญศักดิ์เริ่มเล่นแบดมินตันมาตั้งแต่วัยเด็ก ก่อนจะเริ่มฝึกฝนอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 9 ขวบ ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายจิระศักดิ์ พลสนะ พ่อของแมนมีความมุ่งหมายที่จะให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของเขาขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกให้ได้ โดยมี ไตรรงค์ ลิ่มสกุล อดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทยในสังกัดทีมเสนานิคม เฝ้าติวเข้มอย่างหนักหน่วง ฝึกซ้อมแบบซ้ำ ๆ จนเกิดความแน่นอน โดยมี สลักจิต พลสนะ ผู้เป็นน้องสาวเฝ้าติดตามและเดินในแนวทางเดียวกัน

จากจุดเริ่มต้นอีก 5 ปีต่อมา “ทนายอ็อด” จีระศักดิ์-บุญชื่น พลสนะ พ่อ-แม่ ของบุญศักดิ์ได้ส่งเขาไปฝึกซ้อมที่ประเทศจีนตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอนที่สโมสรเสนานิคม เพื่อสานความฝันของเขาให้เป็นจริง บุญศักดิ์จึงพักการเรียนเพื่อไปฝึกทักษะแบดมินตันที่ประเทศจีน ขณะที่บุญศักดิ์อายุเพียง 14 ปี ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่อีก 2 ปีต่อมาพ่อของแมนและมิ้งก็ได้ถูกมะเร็งคร่าชีวิตไป ทำให้แมนต้องกลับมาประเทศไทยและมาแข่งขันที่บ้านเกิด

เมื่อบุญศักดิ์กลับมาฝึกซ้อมที่ประเทศไทยบุญศักดิ์ได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ถือเป็นนักแบดมินตันที่มีพรสวรรค์ เล่นได้ครบเครื่องทั้งเกมรุกและเกมรับ จนถูกเรียกติดทีมชาติครั้งแรกในซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่ประเทศบรูไน และติดทีมชาติมาโดยตลอด โดยผลงานที่สร้างชื่อ คือ ได้อันดับ 4 แบดมินตันชายเดี่ยวของการแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศกรีซ

20 มิถุนายน 2556 สหพันธ์แบดมินตันโลก (บีดับเบิลยูเอฟ) ประกาศการจัดอันดับนักแบดมินตันโลก บุญศักดิ์ พลสนะ ขึ้นจากอันดับ 5 ไปเป็นมือ 4 โลก ในประเภทชายเดี่ยว[4]

บุญศักดิ์เคยเป็นนักร้องภายใต้ชื่อวง ซีโอทู (C-O-TWO) ในปีพ.ศ. 2545 โดยออกอัลบั้มเพลง 1 ชุดคืออัลบั้ม "ซี-โอ-ทู ชัวร์"

ผลงาน แก้

โอลิมปิก 2004 แก้

บุญศักดิ์ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถคว้าอันดับ 4 ได้ ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยแข่งขันกับนักแบดมินตันดังต่อไปนี้

โอลิมปิก 2008 แก้

บุญศักดิ์ พลสนะ นักตบลูกขนไก่ความหวังของไทย ตกรอบแรกในศึก โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลังจากถูก โซนี ดวี คุนโคโร คู่ปรับเก่าจาก อินโดนีเซีย โดยชนะไป 2 เกมติด ด้วยผลการแข่ง 21-16 และ 21-14

10 ผลงานเด่นประเภทชายเดี่ยว แก้

  • เวิลด์กรังด์ปรีซ์โกลด์ ไทยแลนด์ โอเพ่น 2008

- รองชนะเลิศ

  • ซูเปอร์ซีรีส์ สิงคโปร์ โอเพ่น 2008

- รอบ 16 คนสุดท้าย

  • ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2008

- รอบก่อนรองชนะเลิศ

  • เวิลด์กรังด์ปรีซ์โกลด์ อินเดีย โอเพ่น 2008

- ชนะเลิศ

  • โธมัส คัพ 2008

- รอบสุดท้าย

  • ซูเปอร์ซีรีส์ ไชน่า โอเพ่น 2007

- รอบ 32 คน

  • ซูเปอร์ซีรีส์ ฝรั่งเศส โอเพ่น 2007

- รอบก่อนรองชนะเลิศ

  • ซูเปอร์ซีรีส์ แจแปน โอเพ่น, ไชนิสไทเป โอเพ่น 2007

- รอบ 16 คนสุดท้าย

  • ซูเปอร์ซีรีส์ ไชน่า (สนาม 1)

- รอบก่อนรองชนะเลิศ

  • โอลิมปิกครั้งที่ 3

- ครั้งแรก ซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย 2000, เอเธนส์ กรีซ ปี 2004, ปักกิ่ง จีน ปี 2008

  • แบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย

- 13 สมัย 2000-2010, 2013, 2015

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "องค์หญิงยืนยันทรงเสด็จร่วมพิธีเปิดเอเชียนเกมส์". สยามกีฬา. 18 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. BWF WORLD RANKINGS 2010 Week48[ลิงก์เสีย]
  3. ชีวิต ดี๊...ดี ของ "ซูเปอร์แมน" บุญศักดิ์ พลสนะ
  4. ขนไก่ไทยเฮ! 'เมย์' ยึดมือ 3 โลก 'แมน' ขึ้นที่ 4 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๒, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้