บุญธรรม ชุมดวง (29 ตุลาคม พ.ศ. 2469 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528) เจ้าของสัมปทานป่าไม้ภาคเหนือ[1][2] อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย 4 สมัย อดีตเลขาธิการพรรคอิสระ

บุญธรรม ชุมดวง
เลขาธิการพรรคอิสระ
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2469
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เสียชีวิต10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 (59 ปี)
พรรคการเมืองอิสระ (2512—2514)
ชาติไทย (2514—2528)
คู่สมรสวิเวียน ชุมดวง

ประวัติ แก้

บุญธรรม ชุมดวง เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ที่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรนายหลู่ และนางจันทร์เป็ง ชุมดวง สมรสกับ นาง วิเวียน ชุมดวง มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ

บุญธรรม ชุมดวง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 สิริอายุรวม 59 ปี

การศึกษา แก้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2475 กำนันหลู่ ชุมดวง ได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เพื่อประกอบกิจการสัมปทานป่าไม้ และบุญธรรม ชุมดวง ก็ได้เรียนหนังสือชั้นประถมที่วัดกลางดง จนจบชั้นประถมปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2480 และได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวรรควิทยา จังหวัดสุโขทัย จนกระทั่งมัธยมปีที่ 3 จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาจึงได้กลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัว[3]

การทำงาน แก้

บุญธรรม ชุมดวง ได้ทำงานช่วยเหลือกิจการของครอบครัว คือ การเป็นตัวแทนบริษัท หลุยซ์ ที เลียวโนเวนส์ (Lois T. Leonowens) ซึ่งได้รับสัมปทานทำป่าไม้สักในภาคเหนือจากรัฐบาลไทย ทำการตัดชักลากไม้สักแทนในเขต 2 จังหวัด คือ สุโขทัยและลำปาง รวมถึงกิจการโรงบ่มใบยาสูบ ที่อำเภอแม่พริก อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

บุญธรรม ชุมดวง ดำเนินกิจการของตัวเองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รับเหมาทำป่าไม้สักจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีกิจการกว้างขวางบริเวณจังหวัดลำปาง จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก

บุญธรรม เริ่มทำงานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง

ในปี พ.ศ. 2512 เขาร่วมกับ โกศล ไกรฤกษ์ บุญเลิศ ชินวัตร และ สมพงษ์ อยู่หุ่น ก่อตั้งพรรคอิสระ ขึ้นโดยเขารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[4] และนำสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ได้ ส.ส. จำนวน 17 ที่นั่ง และเขาก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สุโขทัย เป็นสมัยที่ 3 เช่นเดียวกัน

หลังเกตุการณ์ 14 ตุลา บุญธรรมได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคชาติไทย ของประมาณ อดิเรกสาร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518[5] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (บุญเท่ง ทองสวัสดิ์)[1] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ปิดฉากชีวิตมือปราบ "สล้าง บุนนาค" เหรียญตราและบาดแผล
  2. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793716
  3. บุญธรรม ชุมดวง โรงพิมพ์วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง
  5. แค่เฉียด 6 ตุลา? ส่องชีวิต “สล้าง” เติบใหญ่ใต้เงา “ขวาจัด"
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๗ ง หน้า ๑๓๙, ๑๔ มกราคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖