บัวผุด

ชนิดของพืช

บัวผุด หรือ บัวตูม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rafflesia kerri) เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชเถาจำพวกสกุลเครือเขาน้ำ (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าย่านไก่ต้ม[1] มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก กลิ่นของมันเหม็นแรงมาก พบเห็นระหว่างฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

บัวผุด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์กระโถนฤๅษี
สกุล: สกุลบัวผุด
Meijer
สปีชีส์: Rafflesia kerrii
ชื่อทวินาม
Rafflesia kerrii
Meijer

ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70–80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกของบัวผุดใช้เวลาตั้งแต่เป็นดอกตูมจนบานถึง 9เดือน ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4–5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ ดำเน่าไป และขณะนี้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ฉะนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวไปเดินป่าเพื่อชมดอกบัวผุดจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะไปเหยียบย่ำบนดอกตูมของบัวผุดได้

กระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย เช่นที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าดิบในรัฐกลันตัน และเปรักในประเทศมาเลเซีย ชาวบ้านนิยมนำดอกตูมมาต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย มดลูกเข้าอู่เร็ว[2]

การค้นพบในประเทศไทย แก้

ดอกบัวผุด พบได้มากในพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสก และอุทยานแห่งชาติคลองพนม และถือว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ในต่างประเทศพบในป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยวิลเลิม ไมเยอร์ (Willem Meijer) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์จากมหาวิทยาลัยเคนทักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เทอร์ ฟรานซิส จอร์จ เคอร์ (Arthur Francis George Kerr) นายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472

อ้างอิง แก้

  1. "มหัศจรรย์แห่งพันธุ์ไม้.....บัวผุด จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 195
  • National Park, Wildlife and Plant Conservation Department, National Park Bulletin June–July 2004 [1] (1.8 MB PDF)
  • Jamili Nais. Rafflesia of the World. ISBN 983-812-042-1. pp. 147–153

แหล่งข้อมูลอื่น แก้