บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์

บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ (อังกฤษ: The Diary of a Young Girl) เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันภาษาดัตช์ของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินใน ค.ศ. 1945 มีป คีสและBep Voskuijlกู้คืนสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอขึ้นมา ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีปนำสมุดบันทึกไปให้ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ก่อนนำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ

บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์  
ภาพปกฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1948
ผู้ประพันธ์อันเนอ ฟรังค์
ชื่อเรื่องต้นฉบับHet Achterhuis (The Annex)
ผู้แปลB. M. Mooyaart-Doubleday
สังวร ไกรฤกษ์ (แปลไทย)
ศิลปินปกHelmut Salden
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ภาษาดัตช์
หัวเรื่อง
ประเภทอัตชีวประวัติ, การก้าวผ่านวัย, วรรณกรรมยิว
สำนักพิมพ์Contact Publishing [nl]
ไทย สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
วันที่พิมพ์25 มิถุนายน ค.ศ. 1947
ไทย พ.ศ. 2542
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
1952
รางวัลLe Monde's 100 Books of the Century
OCLC1432483
949.207
LC ClassDS135.N6
ข้อความต้นฉบับ
Het Achterhuis (The Annex) ที่ ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "name_from_code" ไม่มีอยู่ วิกิซอร์ซ

สมุดบันทึกประจำวันนี้ได้รับการตีพิมพ์ถึงมากกว่า 70 ภาษา หนังสือได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Contact Publishing ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ใน ค.ศ. 1947 ใช้ชื่อเรื่องในภาษาดัตช์ว่า Het Achterhuis: Dagboekbrieven van 12 Juni 1942 – 1 Augustus 1944 (ห้องลับ : บันทึกประจำวันตั้งแต่ 12 มิถุนายน 1942 - 1 สิงหาคม 1944) หนังสือเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยกว้างขวางและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วหลังจากฉบับแปลภาษาอังกฤษออกจำหน่ายใน ค.ศ. 1952 ใช้ชื่อเรื่องว่า Anne Frank: The Diary of a Young Girl พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Doubleday & Company ในสหรัฐ และโดยสำนักพิมพ์ Vallentine Mitchell ในอังกฤษ หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 20[1][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ][2][3][4][5][6]

ลิขสิทธิ์สมุดจดบันทึกภาษาดีตช์ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1947 หมดอายุในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2016 หลังผู้เขียนเสียชีวิต 70 ปี เนื่องด้วยกฎทั่วไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ในสหภาพยุโรป ทำให้หนังสือฉบับภาษาดัตช์สามารถเผยแพร่ทางออนไลน์ได้[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. "Best (100) Books of the 20th Century] #8". Goodreads.
  2. "Top 10) definitive book(s) of the 20th century". The Guardian.
  3. "50 Best Books defining the 20th century". PanMacMillan.com.[ลิงก์เสีย]
  4. "List of the 100 Best Non-Fiction Books of the Century, #20". National Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009.
  5. Books of the Century: War, Holocaust, Totalitarianism. New York Public Library. 1996. ISBN 978-0-19-511790-5.
  6. "Top 100 Books of the 20th century, while there are several editions of the book. The publishers made a children's edition and a thicker adult edition. There are hardcovers and paperbacks, #26". Waterstone's.
  7. Attard, Isabelle (1 January 2016). "Vive Anne Frank, vive le Domaine Public" [Long live Anne Frank, long live the Public Domain] (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 July 2019. The files are available in TXT and ePub format.
  8. Avenant, Michael (5 January 2016). "Anne Frank's diary published online amid dispute". It Web. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้