บัณฑูร สุภัควณิช

บัณฑูร สุภัควณิช (เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2492) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

บัณฑูร สุภัควณิช
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม 2554 – 28 กุมภาพันธ์ 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอัญชลี วานิช เทพบุตร
ถัดไปสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 เมษายน พ.ศ. 2492 (75 ปี)
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา
คู่สมรสรัตนา สุภัควณิช

ประวัติ แก้

บัณฑูร สุภัควณิช เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2492 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 ระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในริชมอนด์เมื่อปี พ.ศ. 2517 และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[1] จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ได้ผ่านการศึกษาอบรมปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 39 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2545 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกแห่งหนึ่งด้วย[2]

บัณฑูร สุภัควณิช สมรสกับรัตนา สุภัควณิช มีบุตร 2 คน คือ นาย ณภัทร สุภัควณิช และดวงดาลัด สุธาธรรม[3]

การทำงาน แก้

บัณฑูร สุภัควณิช เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์งบประมาณส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2537 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2554 [4]

ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[5] ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[6]

ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสภา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เปิดตัว'บัณฑูร'เลขายิ่งลักษณ์เพื่อนสนิท'ทักษิณ'[ลิงก์เสีย]
  2. บัณฑูร สุภัควณิช[ลิงก์เสีย]
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายบัณฑูร สุภัควณิช[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
  5. 2 ดารา พท. เตรียมขึ้น ส.ส. หลัง "ชัจจ์-บัณฑูร" ลาออก
  6. นายกฯ รับ "บัณฑูร" ลาออกจริง บอกมีปัญหาด้านสุขภาพ-ปัดขัดแย้งภายใน
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 133 ง พิเศษ หน้า 3 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๙, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๐๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า บัณฑูร สุภัควณิช ถัดไป
อัญชลี วานิช เทพบุตร    
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
  สุรนันทน์ เวชชาชีวะ