ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2495[4]) เป็นกรรมการสภาสถาปนิก[5]สถาปนิกชาวไทย อาจารย์และอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาบริษัท สถาปนิกจุลาสัย เป็นคนภาคเหนือจากจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการสภาสถาปนิก กรรมการผังเมือง (10 มีนาคม พ.ศ. 2552 - ) ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม เจ้าของผลงาน หนอนคอนกรีต ซึ่งเคยเข้าชิงรางวัลซีไรต์เรื่องสั้นภายใต้นามปากกา ปริญญา ตรีน้อยใส

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลรางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมและดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ
ผลงานสำคัญ

งานออกแบบส่วนใหญ่ของบัณฑิต จุลาสัย มีทั้งงานอนุรักษ์และงานออกแบบปรับปรุง (renovate) เช่น โรงแรมรถไฟ หัวหิน เรือนภะรตราชา และพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่างได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ นอกจากนี้ยังมีงานออกแบบสมัยใหม่ เช่น โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล หัวหิน อาคารจุลจักรพงศ์ และศาลาราชการุณย์ สภากาชาดไทย จังหวัดตราด ที่ทำให้เขาได้รางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมและดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ[6]

บัณฑิต จุลาสัย ยังติดโผเป็นหนึ่งในสามสถาปนิกจากประเทศไทย ในหนังสือ "พจนานุกรมสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 20" (Dictionnaire de l'Architecture du XXe Siecle) จัดพิมพ์โดยสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งฝรั่งเศส ประจำปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรวบรวมประวัติและผลงานของสถาปนิกเอกทั่วโลกแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย[1]

ผลงานร่วมออกแบบ แก้

  • งานอนุรักษ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ถนนแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ร่วมกับ รศ.ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ)
  • งานอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาคารจุลจักรพงษ์
  • อาคารบรมราชกุมารี
  • ศาลาราชการุณย์ สภากาชาดไทย
  • โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล อำเภอหัวหิน
  • อาคารสถาบัน 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงแรมรถไฟหัวหิน
  • สะพานพระราม 8 (ออกแบบตกแต่งงานสถาปัตยกรรม)[7]
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ สวนมิ่งมงคล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ.จุฬาฯ ได้รับยกย่องในทำเนียบสถาปนิกเอกของโลก, เว็บไซด์:https://www.ryt9.com/ .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  2. บรมราชกุมารี, เว็บไซด์: http://www.prm.chula.ac.th .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  3. สวนมิ่งมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา, เว็บไซด์: http://gotarch.com/ .สืบค้นเมื่อ 28/07/2561
  4. ประวัติคณาจารย์
  5. เช็คมติครม. 15 ก.พ.65 แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ​
  6. ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต จุลาสัย, เว็บไซด์: http://www.archdept.com/ .สืบค้นเมื่อ 29/07/2561
  7. "สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ ของ "สะพานพระราม 8"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 January 2024.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔