ศาสตราจารย์พิเศษ[1] บัญญัติ สุชีวะ (23 เมษายน พ.ศ. 2467 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540) เป็นอดีตประธานศาลฎีกา และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

บัญญัติ สุชีวะ
ประธานศาลฎีกา คนที่ 22
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2523 – 30 กันยายน 2527
ก่อนหน้าประพจน์ ถิระวัฒน์
ถัดไปภิญโญ ธีรนิติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2467
เสียชีวิต4 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงสุมน สุชีวะ

ประวัติ แก้

บัญญัติ สุชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของขุนบรรณกิจปรีชา (ฟ้อ สุชีวะ) และล้วน สุชีวะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ดังนี้

  • ประเมิญ สร้อยสนธิ์ (ถึงแก่กรรม)
  • นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • ประมวญ สุขไทย (ถึงแก่กรรม)
  • สุดสวาสดิ์ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • ประมูล เพ็ญกิตติ (ถึงแก่กรรม)
  • ประสานสุข สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • บัญญัติ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • บรรจง สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • บรรจบ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
  • สมทบ ปิณฑคุปต์ (ถึงแก่กรรม)

การศึกษา แก้

  • พ.ศ. 2474 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนจันทรอุทิศ
  • พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2482 แผนกเตรียมปริญญามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จบเตรียมปริญญาธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 1
  • พ.ศ. 2486 ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต
  • พ.ศ. 2501 สอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักศึกษากฎหมาย Gray’s Inn ณ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี ตามความต้องการของกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2504 ได้เนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at Law)
  • พ.ศ. 2520 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2525 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครอบครัว แก้

บัญญัติ สุชีวะ ได้สมรสกับ คุณหญิงสุมน สุชีวะ (นามสกุลเดิม สุนทรารชุน) บุตรี หลวงสุทธินัยนฤวาท (อดีตผู้พิพากษา) และน้อย สุทธินัยนฤวาท เมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2490 มีบุตรธิดา รวม 5 คน คือ

  • ชลาพร ยุญชานนท์ สมรสกับ เทอดสกุล ยุญชานนท์ มีบุตร 1 คน
    • ศรัณย์ ยุญชานนท์
  • กฤษฎา สุชีวะ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ภวรี รัชนี มีบุตร ธิดา 3 คน
    • แจ่มจรัส สุชีวะ
    • ภดารี สุชีวะ
    • ทิมทอง สุชีวะ
  • รัตนาภรณ์ เทพชาตรี สมรสกับ ทักษิณ เทพชาตรี มีบุตร ธิดา 3 คน
    • กฤตธี เทพชาตรี
    • ณัทธร เทพชาตรี
    • ชามา เทพชาตรี
  • ชาคร สุชีวะ
  • ภาดร สุชีวะ

การรับราชการ แก้

  • พ.ศ. 2486 จ่าศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
  • พ.ศ. 2490 จ่าศาลจังหวัดชลบุรี
  • พ.ศ. 2492 ผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม รับราชการศาลแพ่ง
  • พ.ศ. 2493 รับราชการศาลอาญา
  • พ.ศ. 2494 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดร้อยเอ็ด
  • พ.ศ. 2498 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2501 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
  • พ.ศ. 2505 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
  • พ.ศ. 2506 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา
  • พ.ศ. 2508 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
  • พ.ศ. 2508 ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2509 เลขานุการศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2510 ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2513 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
  • พ.ศ. 2514 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
  • พ.ศ. 2514 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2517 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2520 รองประธานศาลฎีกา
  • พ.ศ. 2523 ประธานศาลฎีกา

ราชการพิเศษ แก้

เกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/143/6.PDF
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
ก่อนหน้า บัญญัติ สุชีวะ ถัดไป
ประพจน์ ถิระวัฒน์   ประธานศาลฎีกา (คนที่ 22)
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527)
  ภิญโญ ธีรนิติ