บอยส์แอนด์เกิร์ลส์

บอยส์แอนด์เกิร์ลส์ (ญี่ปุ่น: ボーイズ アンド ガールズโรมาจิBoizu ando Garuzuทับศัพท์: Boys & Girls) เป็นซิงเกิลที่ 9 ของอายูมิ ฮามาซากิ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โดยเปิดตัวสัปดาห์แรกที่อันดับที่ 2 ของชาร์ตออริกอน ด้วยยอดขาย 262,000 แผ่น เนื่องจากซิงเกิล "บีทูเก็ทเทอร์" ของอามิ ซุซูกิวางขายในวันเดียวกัน แต่ต่อมาก็สามารถขึ้นถึงอันดับที่ 1 ชาร์ตออริกอนได้ในสัปดาห์ถัดมา โดยสามารถครองอันดับที่ 1 ได้นานถึง 3 สัปดาห์ และมียอดขายมากกว่า 1 ล้านแผ่น โดยเป็นซิงเกิลที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลของญี่ปุ่นในลำดับที่ 221

"บอยส์แอนด์เกิร์ลส์"
ซิงเกิลโดยอายูมิ ฮามาซากิ
จากอัลบั้มLOVEppears และ A BEST
วางจำหน่าย14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
บันทึกเสียงพ.ศ. 2542
แนวเพลงเจ-ป็อป
ความยาว37:52 นาที
ค่ายเพลงเอเว็กซ์ แทร็กซ์
ผู้ประพันธ์เพลงอายูมิ ฮามาซากิ
โปรดิวเซอร์แม็กซ์ มัตสึอุระ
ลำดับซิงเกิลของอายูมิ ฮามาซากิ
"ทูบี"
(พ.ศ. 2542)
"บอยส์แอนด์เกิร์ลส์"
(พ.ศ. 2542)
"เอ"
(พ.ศ. 2542)

"บอยส์แอนด์เกิร์ลส์" เป็นซิงเกิลแรกของอายูมิที่สามารถขึ้นถึงอันดับที่ 1 ออริกอนชาร์ตยาวนานถึง 3 สัปดาห์ และมียอดขายมากกว่า 1 ล้านแผ่นเป็นซิงเกิลแรก จึงส่งผลให้อายูมิแจ้งเกิดในวงการเพลงของญี่ปุ่น โดยเป็นปีแรกที่เธอสามารถเข้าร่วมงานขาว-แดงของสถานีโทรทัศน์ HNK อีกทั้งยังส่งผลให้ซิงเกิลต่อๆมาของเธอขึ้นอันดับที่ 1 ชาร์ตออริกอนเกือบทุกซิงเกิลจนถึงทุกวันน

เพลง "บอยส์แอนด์เกิร์ลส์" อายูมิจะร้องในคอนเสิร์ตของเธอบ่อยครั้ง ซึ่งเหมือนกับเพลง "Trauma" มักจะอยู่ในช่วงอังกอร์ในทุกๆคอนเสิร์ตของเธอ

รายชื่อเพลง แก้

  1. monochrome "Original Version"
  2. too late "Original Version"
  3. Trauma "Original Version"
  4. End roll "Original Version"
  5. monochrome "Keith Litman's Big City Vocal Mix"
  6. too late "Razor 'N Guido Remix"
  7. Trauma "Heavy Shuffle Mix"
  8. End roll "HΛL's Mix"
  9. monochrome "instrumental"
  10. too late "instrumental"
  11. Trauma "instrumental"
  12. End roll "instrumental"
  13. End roll "NEURO-mantic Mix"
  14. monochrome "Dub's full color Remix"

การแสดงสด แก้

  • xx xx พ.ศ. 2542 – CDTV All Hits – "Boys & Girls"
  • 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – Music Station – "Boys & Girls"
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – CDTV – "Boys & Girls'
  • 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – Hey! Hey! Hey! – "Boys & Girls"
  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – Utaban – "Boys & Girls"
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2542 – J-Pop Night – "Boys & Girls" และ "End roll" และ "too late" และ "Trauma"
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 – All Japan Request Awards – "Boys & Girls"
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Japan Cable Awards – "Boys & Girls"
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Super Dream Live – "Boys & Girls" และ "appears"
  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Fresh Live – "Boys & Girls"
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Music Station Christmas Special – "Boys & Girls" และ "appears"
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Pop Jam Christmas Special – "Boys & Girls"
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Japan Record Awards – "Boys & Girls"
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – Kouhaku – "Boys & Girls"
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – CDTV Special Live 1999-2000 – "Boys & Girls" และ "Immature" และ "appears"
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – Avex Summer Paradise 2000 – "M" และ "Boys & Girls"


ชาร์ต แก้

ชาร์ตออริกอน
วางจำหน่าย ชาร์ต อันดับสูงสุด ยอดขายสัปดาห์แรก ยอดขายรวม อยู่ในชาร์ต
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 Oricon Daily Singles Chart #1
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 Oricon Weekly Singles Chart #1 262,000 1,038,000 16 สัปดาห์
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 Oricon Yearly Singles Chart #11

แหล่งข้อมูลอื่น แก้