บริษัทสกอตแลนด์

บริษัทการค้ากับแอฟริกาและหมู่เกาะอินเดียของสกอตแลนด์ หรือเรียกว่า บริษัทดาเรียนสกอติช (อังกฤษ: Scottish Darien Company) เป็นบริษัทการค้าโพ้นทะเล ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1695 พระราชบัญญัติดังกล่าวได้มอบอำนาจแก่บริษัทในการผูกขาดการค้ากับอินเดียของสกอตแลนด์ แอฟริกาและอเมริกา คล้ายกับบริษัทผูกขาดการค้าซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยอังกฤษ และยังได้รับสิทธิอธิปไตยพิเศษและข้อยกเว้นการเก็บภาษีชั่วคราว

ปัญหาทางการเงินและการเมืองได้รบกวนการดำเนินการของบริษัทในช่วงปีแรก ๆ บรรดาข้าหลวงได้ถูกแบ่งแยกระหว่างกลุ่มที่อาศัยอยู่และประชุมในเอดินบะระและอีกกลุ่มหนึ่งในลอนดอน ซึ่งในหมู่ข้าหลวงนี้ก็มีทั้งชาวสกอตและชาวอังกฤษ พวกเขาถูกแบ่งแยกกันโดยเจตนาทางธุรกิจ บางส่วนตั้งใจที่จะทำการค้าในอินเดียและตามชายฝั่งแอฟริกา ในฐานะคู่แข่งที่มีประสิทธิภาพของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเข้ากับแผนดาเรียนของแพทเทอสัน ซึ่งได้รับชัยชนะมโหฬาร

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1698 บริษัทได้เริ่มการสำรวจเป็นครั้งแรก นำโดยวิลเลียม แพทเทอสัน ผู้ซึ่งหวังจะก่อตั้งอาณานิคมในดาเรียน (บนคอคอดปานามา) อันเป็นสถานที่ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดการค้าระหว่างยุโรปและตะวันออกไกลได้

ถึงแม้ว่าเรือห้าลำและชาวอาณานิคมสกอต 1,200 คนจะขึ้นฝั่งได้สำเร็จในดาเรียน ถิ่นฐานดังกล่าวก็ได้รับการจัดเตรียมเลวและถูกละทิ้งในที่สุด การสำรวจครั้งที่สองที่ใหญ่กว่าครั้งแรก (เริ่มออกเดินทางก่อนที่ชะตากรรมของการสำรวจครั้งแรกจะเป็นที่รู้จัก) ได้ก่อตั้งถิ่นฐานทะเลทรายขึ้น แต่ได้ถูกล้อมโดยชาวสเปนอย่างรวดเร็ว มากกว่าหนึ่งพันคนเสียชีวิตด้วยความอดอยากและโรคระบาด และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1700 เรือสองลำจึงได้นำผู้รอดชีวิตจำนวนเพียงน้อยนิดกลับบ้าน

ผลที่ตามมา แก้

มีการประมาณว่าโครงการดาเรียนได้ทำให้สกอตแลนด์สูญเสียสินทรัพย์สภาพคล่องไปเกือบหนึ่งในสี่และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้สกอตแลนด์เข้ารวมกับอังกฤษตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707

บรรณานุกรม แก้

  • Refer: Papers Relating to the Ships and Voyages of the Company of Scotland Trading to Africa and the Indies, 1696-1707 edited by George Pratt Insh, M.A., Scottish History Society, Edinburgh University Press, 1924.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้