น้ำใสใจจริง เดอะ มิวสิคัล

น้ำใสใจจริง เดอะมิวสิกัล เป็นละครเพลงสามองก์ของค่ายดรีมบอกซ์ ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง น้ำใสใจจริง ของ ว. วินิจฉัยกุล (คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) เปิดการแสดงครั้งแรกที่โรงละครเอ็มเธียเตอร์ ระหว่างวันที่ 20-22, 27-29 สิงหาคม และ 3-5 กันยายน 2553 รวมทั้งหมด 12 รอบ [1]

น้ำใสใจจริง เดอะมิวสิกัล
ดนตรีสุธี แสงเสรีชน
คำร้องดารกา วงศ์ศิริ
หนังสือดารกา วงศ์ศิริ
อ้างอิงจากบทประพันธ์ของ ว. วินิจฉัยกุล
งานสร้างสิงหาคม 2553, ดรีมบอกซ์

ทีมงาน แก้

  • อำนวยการผลิต บริษัทดรีมบอกซ์ จำกัด
  • บทประพันธ์ดั้งเดิม: ว. วินิจฉัยกุล (คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์)
  • สร้างสรรค์การแสดง/บทละคร/คำร้อง: ดารกา วงศ์ศิริ
  • กำกับการแสดง: สุวรรณดี จักราวรวุธ
  • กำกับและประพันธ์ดนตรี/เรียบเรียงเสียงประสาน: สุธี แสงเสรีชน
  • ออกแบบลีลาประกอบ: พจน์ ครองสิริวัฒน์
  • ออกแบบฉาก: ฤทธิรงค์ จิวากานนท์
  • ออกแบบแสง: ฉลาดเลิศ ตุงคะมณี
  • ออกแบบเสื้อผ้า: Dreambox Costume

แนวคิดในการตีความและการสร้างสรรค์ แก้

ในละครเพลงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นวนิยายของ ว. วินิจฉัยกุล จะได้รับการนำมาจัดแสดงเป็นละครเพลง ผู้กำกับการแสดง สุวรรณดี จักราวรวุธ เล่าไว้ในสูจิบัตรว่า “ น้ำใสใจจริง เป็นอีกหนึ่งผลงานที่อยู่ในแผนงานของดรีมบอกซ์มาเนิ่นนาน เนื่องด้วยความยากลำบากของการคัดเลือกกลุ่มนักแสดงหลักให้ได้ใกล้เคียงบทประพันธ์ที่สุด ละครเรื่องนี้ไม่ได้เป็นละครร้องตลอดเรื่องเหมือนที่ผ่านมา แต่ก็มีจำนวนเพลงกว่า 30 เพลง ซึ่งต้องใช้นักร้องนักแสดงที่อยู่ในวัยไล่เลี่ยกัน และมีทักษะ บุคลิกภาพที่หลากหลาย แต่ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกันได้...” ส่วนสุธี แสงเสรีชน ในฐานะผู้ประพันธ์ทำนอง อธิบายเรื่องเพลงของน้ำใสใจจริงไว้ว่า “สไตล์เพลงในยุคสมัยของเรื่องจะอยู่ในช่วงปลาย 60’s ซึ่งช่วงนั้นมีทั้ง Swing/Big Band, Rock&Roll, Folk Rock, R&B และยุคต้นของ Disco และในไทยก็จะเป็นเพลงลูกกรุง ลูกทุ่ง วงสตริงคอมโบ้ และโฟล์คซอง ผมค่อนข้างโชคดีที่ได้มีโอกาสเติบโตมากับเพลงยุคนั้นด้วย ได้สัมผัสมาบ้าง ก็ดึงเอาเสน่ห์ของเพลงเหล่านั้นมาผสมผสานให้ร่วมสมัย...” [2]

นักแสดง แก้


อาจารย์ทองถวิล: นรินทร ณ บางช้าง
อาจารย์สุประดิษฐ์: สมพล ปิยะพงศ์สิริ
อาจารย์จินตนา: พุทธชาด พงศ์สุชาติ
อาจารย์อัญชลิกา: ภคมน จึงไพศาล
อาจารย์พอดี: ศรัณย์ ทองปาน
ครีม: ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF4)
โจม: ภพธร สุนทรญาณกิจ (ตู่ Loveis)
อ้อมพร: มุรธา ปริญญาจารย์
ทัดภูมิ: สิทธิชัย ผาบชมภู (บอย AF3)
ป๊อ: อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล (คัตโตะ ลิปตา)
หนิง: สาธิกา ศิริปุญโญทัย (กู๊ด AF5)
โหม่ง: รัชพล แย้มแสง (มิวสิก AF4)
แคน: ธนพรรษ ญาติเจริญ
รุ้ง: เอื้ออาทร วงศ์ศิริ
มหาบุญโปรย: ศิริชัย เจริญกิจธนกุล
เขน: รัชย์อาภาภัค ตันศิริวัลลภ
มะนาว: นิธิวดี ตันงามตรง
บัวลอย: แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ
เพชร: ศิศยา ชวลิต
จอย: วสุธิดา ปุณวัฒนา
กิ๊ก: อรวี ศรีชำนาญ
ร่วมด้วย ณัฐฏ์กร ถาวรชาติ, สร้างสรรค์ สันติมณีรัตน์, คมศักดิ์ พงศ์กรกัมพล, มณีรัตน์ ศรีจรูญ , เต็มธิดา สุวรรณศร, ลักขณา บุญบุตร, เมธาสิทธิ์ โลกุตรพล, ธัญญ์ อ่อนวิมล, ปฐม เฟื่องอารมย์, ณัฐนิภา ศรีศักดิ์, พัชรกมล จันทร์ตรี, ภาวิกา ธรรมกามี, ณัฐวุฒิ พละภิญโญ, ชยาพงศ์ สุวรรณน้อย, ณัฐนันท์ วิวิธวรกิจ, กรณิการ์ เตชะพูลผล

เนื้อเรื่องโดยสรุป แก้

ต้นทศวรรษ 2510 มหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในต่างจังหวัดเปิดเรียนเป็นปีการศึกษาแรก นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีภูมิหลังและบุคลิกภาพต่างกันจำนวนมากมาย ต้องเข้าเรียนและเข้าอยู่หอพักร่วมกัน ท่ามกลางความไม่สะดวกสบายต่างๆ เช่นไฟฟ้าดับ น้ำไม่ไหล อยู่ห่างไกลความเจริญ พวกเขาต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่และเพื่อนใหม่ รวมทั้งกฎระเบียบใหม่ๆ สำหรับการอยู่ร่วมกัน จนหลายคนหมดกำลังใจและตัดสินใจลาออก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วย “น้ำใสใจจริง” ที่ทุกคนมีให้แก่กัน ทำให้พวกเขาได้รู้จักคุ้นเคย กลายเป็นเพื่อนสนิท บางคนมีความรักฉันหนุ่มสาว บ้างสมหวัง บ้างผิดหวัง ชีวิตในมหาวิทยาลัยบ้านนอกแห่งนี้ที่พวกเขาใช้ร่วมกับเพื่อนๆ รวมทั้งเหล่า “สัตว์เลี้ยง,” “สัตว์ประหลาด,” และบรรดาอาจารย์ที่เต็มไปด้วยความหวังดี ทำให้ช่วงเวลาวัยเรียนนี้ถูกจดจำไว้ด้วยความประทับใจ ดังที่ในบทประพันธ์ดั้งเดิมสรุปในตอนท้ายเรื่องว่า “มันเป็นช่วงเวลาที่หลายๆ คนคงจะยอมรับว่าเป็นเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต เมื่อเราผ่านพ้นความไร้เดียงสาอย่างเด็กๆ มาแล้ว แต่ยังไม่เคยชินกับความขมขื่นลำเค็ญของวันเวลาแห่งความเป็นผู้ใหญ่...เรามีวันเวลาระหว่างกลาง – วันของวัยหนุ่มสาว เอาไว้เป็นความทรงจำที่ดีที่สุดของเรา”

ลำดับฉากและลำดับเพลง แก้

Prologue

องก์สาม แก้


ฉาก 1 บ้านครีม
26. หมาบอย 2
27. ขัดขาขัดคอ
ฉาก 2 ห้องครัวบ้านครีม
28. คู่ขวัญคู่ครัว
29. หมาบอย 3
ฉาก 3 ดาดฟ้าบ้านครีม
30. ดวงดาวพราวบนฟ้า
ฉาก 4 หน้าอาคารเรียน
31. ไม่สวยสง่าเหมือนจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ 2
ฉาก 5 สนามกีฬา
32. กราวกีฬา
ฉาก 6 งานลอยกระทงในมหาวิทยาลัย
ฉาก 7 หลังเวที
33. เป็นเรื่องมหัศจรรย์
ฉาก 8 บนเครื่องบิน
34. บางสิ่งบางอย่างที่คุ้นเคย
ฉาก 9 หน้าอาคารเรียน
ฉาก 10 โรงอาคารเรียน
35. วันที่ภูมิใจ
Epilouge อัฒจันทร์ถ่ายภาพ
36. แผ่นดินนี้เราจอง

คำวิจารณ์และเสียงตอบรับ แก้

น้ำใสใจจริง เดอะมิวสิกัล ได้รับเสียงตอบรับที่ดียิ่งจากนักวิจารณ์ในสื่อต่างๆ เช่น บทวิจารณ์ “ความทรงจำในวัยฝันวันเยาว์” ที่ไม่ระบุนามผู้เขียน (มติชน 27 สิงหาคม 2553) กล่าวถึงนักแสดงว่า “ที่น่าทึ่งคือพวกเขาสามารถดึงเสน่ห์ของตัวละครที่ตัวเองสวมบทบาทออกมาได้ดี โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงว่าหลายคนคือมือใหม่บนเวทีละคร แทบทุกคนทำให้เพลงที่ตัวเองร้องสามารถเล่าเรื่องตามอารมณ์ที่อยากนำเสนอได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวะดิสโก้ ลูกทุ่ง ทำนองงิ้ว โดยเฉพาะเพลงสไตล์บอยแบนด์อย่าง หมาบอย ที่ทั้งน่ารักทั้งทำให้ขำจนน้ำตาแทบไหลเลยทีเดียว...” “หนึ่ง ธนาธร” เขียนบทวิจารณ์ “น้ำใสใจจริง เดอะ มิวสิกัล มิตรภาพที่แสนอบอุ่น น่ารัก” ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ว่า “น้ำใจใจจริงเป็นละครเวทีที่ให้รสชาติที่แตกต่างไปจากละครเวทีเรื่องอื่นๆ ไม่ตั้งใจโชว์แอ็คติ้งสุดขีด ไม่ตั้งใจโชว์เสียงเพลงและพลังเสียงของนักแสดงสุดเดช ไม่ได้ตั้งใจอวดความยิ่งใหญ่อลังการของฉาก แต่ทั้งหมดทั้งมวลถูกผสมกันไว้ในระดับที่กำลังพอเหมาะพอดี เป็นละครเวทีแนวคอมดี้ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น น่ารักมากมาย ดูแล้วนึกถึงเพื่อนฝูง และครูบาอาจารย์สมัยวัยเรียนมหา’ลัย...” ซึ่งก็สอดคล้องกับคำชื่นชมของ Alongkorn Parivudhiphongs ในบทวิจารณ์ "A feel-good musical" (Bangkok Post, September 8, 2010) ที่ว่า “Dreambox is sincere about what it has been trying to achieve. It does not promote its production as a Broadway-styled show, but sticks with the idea that the troupe aims to create contemporary Thai musicals with moving storylines, true talents and theatrical crafts, which for them is sufficient enough to create theatrical magic.”

อ้างอิง แก้