น้ำเต้าหู้

เครื่องดื่มทำจากเมล็ดถั่วเหลือง

น้ำเต้าหู้ หรือ นมถั่วเหลือง (จีน: 豆浆; พินอิน: dòujiāng) เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำจากการบดถั่วเหลืองและนำไปต้มกรองจนเจือจางลง อาจปรุงด้วยน้ำตาลและอื่น ๆ รับประทานได้ทันที นิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าคู่กับปาท่องโก๋ หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องโดยใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่น ๆ ตามชอบ

น้ำเต้าหู้
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
คิดค้นก่อน ค.ศ. 1365[1][2]
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
33 กิโลแคลอรี (138 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน2.86 กรัม
ไขมัน1.61 กรัม
คาร์โบไฮเดรต1.74 กรัม
Glycemic index 34 (แม่แบบ:Background)

ประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ แก้

ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง ถั่วเหลืองจึงเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพราะถั่วเหลืองมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ ถ้าเราบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณที่สูงพอ ร่างกายจะได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการได้

นอกจากถั่วเหลืองเป็นแหล่งไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ในถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยสารอาหารอีกมากมาย คือ คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน A, B, B1, B2, B6, B12, ไนอาซิน และวิตามิน C, D, E อีกด้วย ในเมล็ดถั่วเหลืองนั้นยังมี เลซิทิน ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มทักษะความจำ ลดไขมัน และลดโคเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกด้วย

การดื่มน้ำเต้าหู้จะได้รับประโยชน์กว่าเครื่องดื่มอื่นๆ ถ้าเทียบกับนมแล้วน้ำเต้าหู้จะมีข้อดีกว่า แม้บางอย่างจะสู้นมไม่ได้ แต่น้ำเต้าหู้ให้โปรตีนเกือบเท่านม มีไขมันที่ดีกว่าคือให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่านม ช่วยลดโคเลสเตอรอล สำหรับข้อเสียคือ น้ำเต้าหู้จะให้แคลเซียมได้น้อยมาก

ดังนั้นการดื่มน้ำเต้าหู้ในแต่ละวัน ถ้าเป็นน้ำเต้าหู้ชนิดธรรมดาที่ไม่ได้มีการเสริมแคลเซียมเข้าไปนั้น แนะนำให้ดื่มเป็นอาหารเสริมวันละ 1-2 แก้ว เพราะน้ำเต้าหู้ชนิดธรรมดา มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรรับประทานอาหารอื่นที่มีแคลเซียมควบคู่กันไปด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Shurtleff & Aoyagi (2013), pp. 5 & 23–4.
  2. Shurtleff & Aoyagi (2014), pp. 9 & 127.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Soy milk
  •   Soy Milk ที่วิกิตำรา-ตำราอาหาร