ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงหน่วยวัดน้ำหนักบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง [1][2] ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g [3] นั่นคือ W = mg ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทห์ฟ้าอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก

ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล [4] ดังเช่นที่ปรากฏบนฉลากบรรจุภัณฑ์และข้อมูลโภชนาการ การใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มักจะถือว่าน้ำหนักก็หมายถึงมวล [4] และใช้หน่วยวัดของมวลเป็นหน่วยวัดของน้ำหนัก ด้วยเหตุว่า ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงบนพื้นผิวโลกแทบจะเป็นค่าคงตัว หมายความว่า อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของวัตถุนิ่งบนพื้นผิวโลกต่อมวลของวัตถุนั้น แทบจะเป็นอิสระจากตำแหน่งที่วัตถุนั้นตั้งอยู่บนพื้นผิวโลก ดังนั้นน้ำหนักของวัตถุบนพื้นผิวโลกจึงเป็นตัวแทนของมวลได้โดยอนุโลม

ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ แก้

ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ โดยคิดเทียบกับความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลก

เทห์ฟ้า จำนวนเท่า
เมื่อเทียบกับโลก
ความโน้มถ่วงพื้นผิว
(m/s²)
ดวงอาทิตย์ 27.90 274.1
ดาวพุธ 0.3770 3.703
ดาวศุกร์ 0.9032 8.872
โลก 1 (ตามนิยาม) 9.8226 [5]
ดวงจันทร์ 0.1655 1.625
ดาวอังคาร 0.3895 3.728
ดาวพฤหัสบดี 2.640 25.93
ดาวเสาร์ 1.139 11.19
ดาวยูเรนัส 0.917 9.01
ดาวเนปจูน 1.148 11.28

อ้างอิง แก้

  1. Richard C. Morrison (1999). "Weight and gravity - the need for consistent definitions". The Physics Teacher. 37: 51. Bibcode:1999PhTea..37...51M. doi:10.1119/1.880152.
  2. Igal Galili (2001). "Weight versus gravitational force: historical and educational perspectives". International Journal of Science Education. 23: 1073. Bibcode:2001IJSEd..23.1073G. doi:10.1080/09500690110038585.
  3. Gat, Uri (1988). "The weight of mass and the mess of weight". ใน Richard Alan Strehlow (บ.ก.). Standardization of Technical Terminology: Principles and Practice – second volume. ASTM International. pp. 45–48. ISBN 978-0-8031-1183-7.
  4. 4.0 4.1 The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989:
    • 5.7.3 Considerable confusion exists in the use of the term "weight." In commercial and everyday use, the term "weight" nearly always means mass. In science and technology "weight" has primarily meant a force due to gravity. In scientific and technical work, the term "weight" should be replaced by the term "mass" or "force," depending on the application.
    • 5.7.4 The use of the verb "to weigh" meaning "to determine the mass of," e.g., "I weighed this object and determined its mass to be 5 kg," is correct.
  5. ค่านี้ปราศจากการปรับแก้จากแรงหนีศูนย์กลางอันเนื่องมาจากการหมุนของโลก จึงทำให้มีค่ามากกว่าความโน้มถ่วงมาตรฐาน 9.806 m/s²