น้ำมันปาล์ม (อังกฤษ: Palm oil) สกัดจาก ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงถึง 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) น้ำมันปาล์มผลิตได้เองในประเทศการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้โดยรวมของประเทศ

ประวัติศาสตร์ แก้

น้ำมันปาล์ม (จากน้ำมันปาล์มแอฟริกัน) ได้รับการยอมรับในแอฟริกาตะวันตกและมีการใช้อย่างกว้างขวางมาใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร ในการค้ายุโรป บางครั้งซื้อน้ำมันปาล์มมาใช้ในยุโรป แต่ทว่าน้ำมันปาล์มมีคุณภาพต่ำกว่าน้ำมันมะกอกจึงไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลายในยุโรป น้ำมันปาล์มนั้นเป็นสิ่งที่หายากในแอฟริกาตะวันตก

น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผู้ค้าชาวอังกฤษต้องการ เพราะใช้เป็นสารหล่อลื่นเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรมระหว่างยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร[1]

ประเภท แก้

น้ำมันปาล์ม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) สกัดได้จากส่วนเปลือกสดของผลปาล์มน้ำมัน
  2. น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (Crude Palm Kernel Oil) สกัดได้จากเมล็ดในของผลปาล์มน้ำมัน

โภชนาการ แก้

น้ำมันปาล์มประกอบด้วยกรดไขมัน ,เอสเทอร์กับกลีเซอรอล เช่นเดียวกับไขมันปกติทั่ว ไขมันอิ่มตัวจะสูง และมีกรดปาล์มิติก [2]

ปริมาณกรดไขมันจากน้ำมันปาล์ม
ชนิดของกรดไขมัน PCT
กรดไมริสติกอิ่มตัว C14
  
1.0%
กรดปาล์มมิติคอิ่มตัว C16
  
43.5%
กรดสเตียริคอิ่มตัว C18
  
4.3%
กรดโอเลอิก ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว C18
  
36.6%
กรดไลโนเลนิคไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน C18
  
9.1%
อื่นๆ
  
5.5%
สีแดง: อิ่มตัว; สีส้ม: ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว; สีฟ้า: ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

การผลิตในแต่ละภูมิภาค แก้

 
ผลผลิตน้ำมันปาล์มในปี ค.ศ. 2013

การผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ คือ ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไนจีเรีย ประเทศโคลอมเบีย ประเทศเบนิน ประเทศเคนยา ประเทศกานา [3]

อ้างอิง แก้