นิก อับดุล อาซิซ นิก มัต

นิก อับดุล อาซิซ บิน นิก มัต (มลายู: Nik Abdul Aziz bin Nik Mat, نئ عبد العزيز بن نئ مت; 10 มกราคม ค.ศ. 1931 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015) เป็นนักการเมืองและผู้สอนศาสนาอิสลามชาวมาเลเซีย เขาเคยดำรงตำแหน่งเมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตันใน ค.ศ. 1990 ถึง 2013 และ มูร์ชีดุลอัม (ผู้นำทางจิตวิญญาณ) พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) ใน ค.ศ. 1991 จนเสียชีวิตใน ค.ศ. 2015

นิก อับดุล อาซิซ นิก มัต
เมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตันคนที่ 17
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม ค.ศ. 1990 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2013
กษัตริย์สุลต่านอิสมาอิล เปตรา
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5
รองอะฮ์มัด ยากบ
ก่อนหน้าโมฮาเม็ด ยากบ
ถัดไปอะฮ์มัด ยากบ
ผู้นำทางจิตวิญญาณพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1991 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015
ก่อนหน้ายูซฟ ราวา
ถัดไปฮารน ดีน
Member of the มาเลเซีย Parliament
for เปิงกาลันเจอปา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1974 – 1986
ก่อนหน้าเขตการเลือกตั้งใหม่
ถัดไปนิก อับดุลละฮ์ อาร์ชัด
Member of the มาเลเซีย Parliament
for กลันตันฮีลีร์
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1967 – 1974
ก่อนหน้าอะฮ์มัด อับดุลละฮ์
ถัดไปยุบเขตการเลือกตั้ง
Member of the รัฐกลันตัน Assembly
for แม่แบบ:Constlk
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1995 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015
ก่อนหน้าเขตการเลือกตั้งใหม่
ถัดไปอะฮ์มัด ฟาตัน มะฮ์มูด
Member of the รัฐกลันตัน Assembly
for แม่แบบ:Constlk
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1986 – 1995
ก่อนหน้าวัน มามัต วัน ยูซฟ
ถัดไปยุบเขตการเลือกตั้ง
หัวหน้าฝ่ายอุละมาอ์พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1971 – 1995
กรรมาธิการพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียรัฐกลันตัน
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1978 – 2013
ถัดไปอะฮ์มัด ยากบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นิก อับดุล อาซิซ บิน นิก มัต

10 มกราคม ค.ศ. 1931(1931-01-10)
กัมปุงปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, บริติชมาลายา (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย)
เสียชีวิต12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015(2015-02-12) (84 ปี)
กัมปุงปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย
ที่ไว้ศพตานะฮ์เปอร์กูบูรันปูเลาเมอลากา, โกตาบารู, รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย
พรรคการเมืองพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคพันธมิตร (1972-1973)
แนวร่วมแห่งชาติ (BN) (1973-1978)
อังกาตันเปอร์ปาดูวันอุมมะฮ์ (APU) (1990-1996)
แนวร่วมทางเลือก (BA) (1999-2004)
พันธมิตรประชาชน (PR) (2008-2015)
คู่สมรสตวน ซาบารียะฮ์ ตวน อิซฮัก (แต่งงาน ค.ศ. 1963-2015, เขาเสียชีวิต)
บุตรนิก ไอนี
นิก โอมาร์
นิก อัดลี
นิก อับดุล ราฮิม
นิก โมฮามัด อับดุฮ์
นิก อาดีละฮ์
นิก โมฮามัด อัซรี
นิก อามานี
นิก อามาลีนา
นิก อัซมาอ์ ซัลซาบีลา
บุพการีนิก มัต ราจา บันจาร์
อามีนะฮ์ อับดุล มาจิด
ญาติตวน อิบราฮิม ตวน มัน (หลานชาย)
นิก มูฮัมมัด ซาวาวี ซัลเละฮ์ (หลานชาย)
อะฮ์มัด ดูซูกี อับดุล รานี (หลานชาย)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร
ดารุลอุลูมเดโอบันด์

ชีวิตช่วงต้น แก้

นิก อับดุล อาซิซเกิดในโกตาบารูใน ค.ศ. 1931 โดยเป็นลูกคนที่สองจากทั้งหมด 5 คน เขาถูกเลี้ยงดูโดยพ่อ (ตกกูรา) ที่ทำอาชีพช่างตีเหล็ก[1] นิก อาซิซเริ่มเรียนอิสลามศึกษาที่ปอเนาะในรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู[2] เขาไปศึกษาต่อที่ดารุลอุลูมเดโอบันด์ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียเป็นเวลา 5 ปี โดยจบศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาอาหรับศึกษา (Arabic Studies) และศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขานิติศาสตร์อิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ ตอนที่กำลังศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เขาเป็นหนึ่งในพยานและพลเมืองที่มีชีวิตในช่วงความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล[3]

หลังกลับมาจากอียิปต์ นิก อาซิซเริ่มทำงานเป็นครูในโรงเรียนสอนศาสนาหลายแห่งในรัฐกลันตัน ซึ่งรวมถึงปอเนาะของพ่อเขาด้วย จากนั้นจึงเริ่มสอนในมัสยิดและปอเนาะหลายแห่งในรัฐกลันตันและรัฐอื่น ๆ ทำให้เขาได้สมญานามนำหน้าว่า "ตกกูรู"[2]

อาชีพการเมือง แก้

นิก อาซิซเข้าร่วมพรรคอิสลามแห่งมาเลเซียใน ค.ศ. 1967 เขาชนะที่นั่งในกลันตันฮีลีร์ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน และดำรงตำแหน่งนั้น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเปิงกาลันเจอปา) จนถึง ค.ศ. 1986[2] PAS แพ้การเลือกตั้งในรัฐกลันตันใน ค.ศ. 1978 ทำให้เขาตั้งคำถามถึงความเป็นผู้นำของอัซรี มูดาในฐานะกรรมาธิการ PAS ท้ายที่สุด อัซรีจึงถูกบังคับลาออก[3]

หลังออกจากการเมืองสหพันธรัฐ นิก อาซิซได้ที่นั่งในสภารัฐกลันตันในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1986 ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1990 เขาได้ควบคุมรัฐกลันตันจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นหัวหน้าพรรคในรัฐ ทำให้นิก อาซิซกลายเป็นเมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตัน[2] เขาสืบทอดตำแหน่งผู้นำทางจิตวิญญาณ PAS ต่อจากยูซฟ ราวาใน ค.ศ. 1991

รัฐบาลของนิก อาซิซได้รับเลือกใหม่ 4 ครั้ง (ค.ศ. 1995, 1999, 2004, 2008) จนกระทั่งเขาเกษียณใน ค.ศ. 2013 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 การปกครองของเขาในรัฐกลันตันมักมีความขัดแย้งกับบทบาทของอิสลามในประเทศมาเลเซียสมัยนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ โมฮามัด เขาปฏิเสธการเมืองส่วนกลางอย่างเปิดเผย ซึ่งต่างจาก UMNO ที่เป็นพรรครัฐบาลแบ่งแยกเชื้อชาติ[4]

นิก อาซิซเรียกเสียงสนับสนุนจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในมาเลเซียและมีบทบาทสำคัญในช่วงที่พรรค PAS ได้รับความนิยมจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมมากขึ้น[5][6][7]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 นิก อาซิซกล่าวต่อสาธารณชนว่า ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาไม่ยินยอมความร่วมมือระหว่างองค์การมลายูรวมแห่งชาติ (UMNO) กับพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS)[8] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 เมื่อ PAS และ UMNO ลงนามกฎบัตรพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ประธาน PAS อับดุล ฮาดี อาวังอ้างว่านิก อาซิซได้ยอมรับความร่วมมือไปแล้วในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่[9]

ปัญหา แก้

มุมมองในหลักการ แก้

มุมมองหลักการอิสลามของนิก อาซิซสร้างเสียงวิจารณ์บางส่วน การสนับสนุนกฎหมายชะรีอะฮ์แก่ชาวมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลามของเขาก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์[ต้องการอ้างอิง] เพราะเขากล่าวแนะว่าผู้หญิงจะมีโอกาสถูกขมขืนน้อยลงถ้าพวกเธอเลิกใช้ลิปสติกและน้ำหอม และแบนเกมสนุกเกอร์เป็นเวลา 15 ปี[10] มีการบันทึกตอนที่เขาเคยพูดว่าผู้หญิงที่แต่งตัวทันสมัยและเซ็กซี่สมควรถูกขมขืนด้วย[11]

ปัญหา "อัลลอฮ์" แก้

ใน ค.ศ. 2012 เคยมีปัญหาว่ามีคัมภัร์ไบเบิลนิกายโรมันคาทอลิกใช้คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาอาหรับ (อัลลอฮ์) ลงในคัมภีร์ของตน เดิมที นิก อาซิซกล่าวว่าผู้ไม่ใช่มุสลิมใช้คำว่า "อัลลอฮ์" ได้เพราะต้นกำเนิดของคำมาจากยุคก่อนศาสนาอิสลาม ปัญหานี้สร้างความปั่นป่วนในสังคมมุสลิม และพรรค PAS เกือบถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม เพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกภาพใน PAS นิก อาซิซจึงต้องถอนคำพูดนี้และไม่ยอมรับให้ผู้ไม่ใช่มุสลิมใช้คำว่า "อัลลอฮ์"[12]

ลูกชายถูกกุมขัง แก้

นิก อาดิล ลูกชายของเขาถูกจับกุมตามพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในใน ค.ศ. 2001 ในข้อกล่าวหาทำกิจกรรมที่เป็นการก่อการร้าย เช่นวางแผนทำญิฮาด, ครอบครองอาวุธ และเป็นสมาชิกกุมปูลันมูจาฮีดินมาเลเซีย (KMM) กลุ่มลัทธิอิสลามหัวรุนแรง[13][14][15][16] ลูกชายถูกปล่อยตัวหลังถูกกุมขังเป็นเวลา 5 ปีโดยไม่มีการไต่สวน[17]

เกษียณและเสียชีวิต แก้

ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2013 PAS ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในรัฐบาลรัฐกลันตันอีกครั้ง นิก อาซิซประกาศเกษียณตนเองจากตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีรัฐกลันตัน ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 และอะฮ์มัด ยากบ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของนิก อาซิซ ดำรงตำแห่งนี้ต่อ ตลอดสองปีถัดมา นิก อาซิซป่วยจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และเสียชีวิตในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015(2015-02-12) (84 ปี) เวลา 21:40 นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานมาเลเซีย (UTC+08:00) ที่บ้านของเขาในกัมปุงปูเลาเมอลากา โกตาบารู ในวันถัดมา มีผู้มาละหมาดศพที่มัสยิดตกกูรูมากกว่า 10,000 คน[18] การเสียชีวิตของเขาส่งผลต่อที่นั่งสภารัฐกลันตันในการเลือกตั้งที่เจิมปากาใน ค.ศ. 2015[19]

อ้างอิง แก้

  1. Zulkifli Sulong (3 July 2010). "Meet Nik Aziz's brother, the teacher with a dream". Harakah. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Menteri Besar Kelantan, Parti Islam Semalaysia (PAS), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011, สืบค้นเมื่อ 13 June 2010
  3. 3.0 3.1 Abdul Razak Ahmad (8 May 2007). "76 and frail, yet he's still the one they want". New Straits Times. New Straits Times Press.
  4. Shazwan Mustafa Kamal (9 June 2010). "Nik Aziz says 'no way' to PAS-Umno unity talks". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2010. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
  5. Wong, Chin Huat (27 August 2009). "Can PAS manage victory?". The Nut Graph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-18.
  6. Shazwan Mustafa Kamal (10 June 2010). "PAS succession plan not an issue, says Nik Aziz". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2010. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
  7. Zubaidah Abu Bakar (8 June 2010). "Pas fishing for non-Malay votes". New Straits Times.
  8. "Tiada Penyatuan PAS-UMNO selagi saya hidup (There will no no cooperation between PAS and UMNO as long as I am alive" (ภาษามาเลย์). Harakah Daily. 29 May 2013. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  9. Nurul, Azwa Aris (14 September 2019). "PAS spiritual adviser Nik Aziz had agreed on cooperation, says Hadi". Free Malaysia Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  10. "Cleric: Women's Sexy Clothing Distracting Muslim Men From Sleep, Prayers". Fox News. 13 January 2015.
  11. Sira Habibu. "Video clip of Nik Aziz goes viral", The Star Online, 25 October 2012. Retrieved on 25 October 2012.
  12. The Star. "Nik Aziz makes about-turn on ‘Allah’ use", Kota Bahru, 15 Januari 2013. Retrieved on 26 February 2013.
  13. Kumpulan Mujahidin Malaysia (KMM) GlobalSecurity.org
  14. Wong, Chun Wai; Charles, Lourdes (2 January 2003). "Nik Aziz's son named in report". The Star (Malaysia).
  15. Kumpulan Mujahidin Malaysia เก็บถาวร 2008-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Novelguide.com
  16. Background Information on Other Terrorist Groups US Department of State
  17. MacIntyre, Ian; Zulklifli, C.A. (19 October 2006). "Nik Aziz's son freed with 10 others". The Star (Malaysia).
  18. Lim Sue Goan (14 February 2014). "Pakatan sans Anwar, Nik Aziz". Sin Chew Jit Poh. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
  19. "PAS spiritual leader Nik Aziz dies, by-election looms". Malay Mail. 13 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้