นิสสัน มาร์ช (Nissan March) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ นิสสัน ไมครา (Nissan Micra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) รุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นชื่อ นิสสัน มีรูปทรงแบบ Hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ซึ่งในปัจจุบัน คนไทยหลายๆ คน เริ่มรู้จัก นิสสัน มาร์ช ในฐานะของรถอีโคคาร์ (Ecocar) ที่ประหยัดน้ำมันมาก (ประมาณ 20-25 กิโลเมตรต่อลิตร)

นิสสัน มาร์ช
นิสสัน มาร์ช (K14)
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตนิสสัน
เรียกอีกชื่อนิสสัน ไมครา
ดัสสัน ไมครา
เริ่มผลิตเมื่อ2525–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหน้า
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้านิสสัน เชอรี่ (ญี่ปุ่น)

ในช่วง พ.ศ. 2516 ลากยาวไปจนถึงช่วง พ.ศ. 2523 ได้เกิดวิกฤติน้ำมันแพงขึ้นรอบหนึ่ง (ไม่ใช่รอบที่แพงอยู่ในปัจจุบันนี้) ผู้ที่ต้องการซื้อรถหลายคนจึงหันไปให้ความสนใจกับรถขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน ซึ่งในขณะนั้น นิสสันได้ผลิตรถยนต์ Hatchback ขนาดเล็กมากและประหยัดน้ำมันอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง ชื่อว่า นิสสัน เชอร์รี (Nissan Cherry) แต่ทว่า นิสสัน เชอร์รี กลับทำยอดขายได้ไม่ดีนักด้วยเหตุผลหลายประการ ทางนิสสันจึงเห็นว่า น่าจะทำรถ Hatchback ขนาดเล็กมากขึ้นมาใหม่รุ่นหนึ่งที่ต้องมีรูปทรงทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ (ในช่วงนั้น) บำรุงรักษาง่าย ขับขี่ง่าย ราคาไม่แพง และประหยัดน้ำมัน

ใน พ.ศ. 2521 นิสสันจึงได้จัดตั้งทีมงานพัฒนารถรุ่นดังกล่าว โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า The KX Plan ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาได้ 3 ปี ใน พ.ศ. 2524 นิสสันก็เปิดตัวรถต้นแบบรุ่นใหม่ก่อนการจำหน่ายจริง 1 ปี ใช้ชื่อต้นแบบว่า KX-018 แต่ยังขาดชื่อที่เหมาะสมในการจำหน่ายจริง นิสสันจึงได้จัดรายการประกวดตั้งชื่อรถรุ่นใหม่ขึ้น ซึ่งก็มีผลตอบรับดีมาก ภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง มีผู้ส่งชื่อร่วมประกวดสูงถึง 5.65 ล้านคน แต่ทว่า เมื่อประกาศผลโหวตออกไป ชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่

  1. Pony (118,820 คน)-ซ้ำกับชื่อของรถอีกรุ่นหนึ่งของยี่ห้อ Hyundai (ฮุนได)-ใช้ไม่ได้
  2. Friend (54,152 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ควรใช้เป็นชื่อรถ -ใช้ไม่ได้
  3. Lovely (42,929 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิจารณ์ว่าชื่อ Lovely ควรเป็นชื่อน้ำยาปรับผ้านุ่ม ไม่ใช่ชื่อรุ่นรถ -ใช้ไม่ได้
  4. Shuttle (40,304 คน)-ซ้ำกับชื่อรถรุ่นหนึ่งของฮอนด้า ที่มีขายในญี่ปุ่นขณะนั้น -ใช้ไม่ได้
  5. Sneaker (30,328 คน)-ตามพจนานุกรมแล้ว Sneaker อาจมีหลายความหมาย แต่มีความหมายหนึ่งแปลว่า "รองเท้า" -ใช้ไม่ได้
  6. Rainbow (22,497 คน)-แปลว่า "รุ้ง" ไม่เข้ากับคอนเซปต์ของรถ -ใช้ไม่ได้

คณะกรรมการการประกวด เห็นว่า ชื่อส่วนใหญ่ที่ถูกส่งมาประกวด ไม่เหมาะสมกับรถอย่างรุนแรง แต่หลังจากได้อ่านชื่อที่ถูกส่งมาประกวดทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ตัดสินใจใช้ชื่อในลำดับที่ 164 ของตาราง คือชื่อ March ซึ่งมีคนส่งชื่อนี้มาเพียง 4,065 คน (จาก 5.65 ล้านคน) ซึ่งเมื่อดูความหมายตามพจนานุกรมแล้ว March นอกจากจะแปลว่า "เดือนมีนาคม" หรือ "การเดินสวนสนาม" แล้ว ยังแปลว่า "การมุ่งไปข้างหน้า" หรือ "กรีทาทัพ" ได้อีกด้วย

ในที่สุด นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ก็ได้เปิดตัวขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นครั้งแรก

รุ่นที่ 1 K10 (พ.ศ. 2525 - 2535) แก้

 
นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า K10 ในการเปิดตัวได้มีการนำ Masahiko Kondou นักแข่งรถ Formula Nippon และเป็น Idol ยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์ตัวแรกและดั้งเดิมของมาร์ช K10 คือเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ MA10S 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 987 ซีซี ในการขับขี่บนท้องถนนจริง พบว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก มีอัตราการใช้น้ำมันประหยัดมาก คือ 21 กิโลเมตร/ลิตร และจากการทดสอบพบว่า หากขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว จะสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 32.5 กิโลเมตรต่อลิตร ซึ่งในภาพรวมนิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีการคิดค้นรุ่นพิเศษลิมิเต็ดเอดิชันออกมาอีกหลายรุ่น จึงได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นรถเล็กรุ่นแรก ที่ติดตั้ง Turbocharger และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2528 และ Nissan March Super Turbo (รวมเทคโนโลยี Supercharger และ Turbocharger ไว้ในเครี่อง MA10ET ตัวเดียว ) ในปี 2532 และสามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านคันในเวลาเพียง 6 ปีหลังจากเริ่มผลิต และมียอดขาย K10 รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านคัน

ในช่วงนั้น บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (สยามกลการในยุคนั้น) ได้มีการนำมาร์ชรุ่นแรก เข้ามาขายในประเทศไทยด้วย แต่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ด้วยเพราะมาร์ชในประเทศไทยได้ตัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกออก มากเกินกว่าที่ลูกค้าจะยอมรับได้ มาร์ชในญี่ปุ่นมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากกว่า ดูน่าขับมากกว่า ในขณะที่ โตโยต้า สตาร์เล็ต ให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาเยอะกว่าและดูปราดเปรียวกว่า เพราะเป็นโมเดลเชนจ์ที่เปิดตัวตามหลัง March 3 ปี แต่ประเทศไทยเพิ่งนำมาขายจึงหมดโอกาสกวาดยอดขายก่อน Starlet จะเข้ามา หรือแม้แต่ ซูซูกิ คัลตัส ที่บริษัทในเครือสยามกลการ ซึ่งก็คือสยามอินเตอร์เนชั่นแนล คอร์เปอเรชั่น (ปัจจุบันคือ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย) นำเข้ามา จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีทั้งเข็มวัดรอบสวยหรู เบาะสวยหรู มีสปอยเลอร์ ดูน่าเร้าใจมากกว่าอีกทั้งในช่วงนั้นรถที่คนไทยนิยมมากที่สุด คือรถเก๋งซีดานขนาดเล็ก เช่น มิตซูบิชิ แลนเซอร์, โตโยต้า โคโรลล่า, ฮอนด้า ซีวิค, นิสสัน ซันนี่ ฯลฯ เพราะมีความคุ้มค่าลงตัวที่สุด (บรรทุกได้หลายคน ใช้ได้ทั้งเป็นรถครอบครัวและรถส่วนตัว และไม่สิ้นเปลืองน้ำมันมากนัก) อีกทั้งคนไทยในสมัยนั้นมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อรถท้ายกุด ด้วยเกรงว่าผู้โดยสารที่เบาะหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้ายเพราะไม่มีกระโปรงหลังคอยกั้น ทำให้ยอดขาย นิสสัน มาร์ชในประเทศไทยมีเพียง 30 คันต่อเดือนเท่านั้น (ทั่วประเทศ) ขณะที่ซันนี่ทำยอดขาย 200 คันต่อเดือน ส่วนสตาร์เล็ตชะตากรรมก็ไม่ต่างจากมาร์ช ถึงขั้นเชิญสื่อมวลชนไปเยี่ยมโรงงานและให้ทดลองขับก่อนวางจำหน่าย ทำยอดขายแค่ 50 คันต่อเดือนเท่านั้น หลังจากนั้นจึงแผ่วปลายลงไป จนบริษัทนิสสันในประเทศไทย หรือสยามกลการต้องยุติการขายมาร์ชอย่างเป็นทางการลง ใน พ.ศ. 2530 ก่อนที่จะมาเปิดตัวมาร์ชรุ่นที่ 4 อีกครั้งในปัจจุบัน นับจากนั้นืนิสสันก็ไม่มีแผนประกอบรถเล็กวางจำหน่ายในไทยอีกเลย จนกระทั่ง Toyota กับ Honda ได้เปิดตัว Soluna และ City เพื่ออุดช่องว่างรถเล็กราคา 3-4 แสนบาท ในขณะที่ Corolla และ Civic ราคาแตะ 6 แสนบาทแล้ว ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้บรรดารถเล็กจากเกาหลีที่เคยได้รับความนิยมต้องม้วนเสื่อกลับไป และนิสสันเองอยากจะบุกตลาดรถเล็กบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองประสบความล้มเหลวในตระกูล NV ซึ่งเป็นโครงการทำรถเล็กเพื่อตลาด ASEAN แต่เนื่องจากในสมัยนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเจอปัญหา ทำให้เป็นการนำ Sunny California และ Wingroad มาประกอบขายในไทย ในชื่อ NV-A แต่เนื่องจากราคาไม่ถูกจริงนัก และมีการเปิดเสรีรถนำเข้าแล้ว อีกทั้งคนไทยไม่นิยมรถ Station Wagon นัก จึงต้องมีการดัดแปลงเป็นรถกระบะหัวตั๊กแตน ในชื่อ NV Pickup (NV-B) ที่ทำยอดขายใช้ได้ และยังมีข่าวลือว่าสยามกลการจะดัดแปลง NV-A เป็นรถซีดานขนาดเล็กเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในสมัยนั้น และตั้งราคาไว้ที่ 299,000 บาท ซึ่งไม่มีใครเชื่อ เพราะไม่น่าเป็นไปได้ หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรในกอไผ่ หลังจากนั้นภาพลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของนิสสัน ก็ค่อยๆ เลือนหายไปเพราะไม่มีรถเล็กอุดช่องว่าง จนกระทั่งเปลี่ยนมือไปสู่ยุคของพรเทพ พรประภา ความคิดที่จะทำรถเล็กก็ไม่เป็นรูปเป็นร่างซักที จนกระทั่งช่วงเปิดตัว Sunny NEO เมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2543 ตอกย้ำว่ารถเล็กนั้นโตยากทั้งๆ ที่ผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ไม่นานนัก แต่จากการโหมกระหน่ำของ Toyota Soluna Vios และ Honda City ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งขยายตัวเร็วมาก จนทำให้นิสสันยากที่จะขยับขยายยอดขายให้ใกล้เคียงคู่แข่งได้ เนื่องจากในสมัยนั้น นิสสันมีรถยนต์นั่งเพียงแค่ Sunny NEO และ Cefiro ทำตลาดเท่านั้น ทำให้นิสสันไม่สามารถครอบครองยอดขายอันดับ 3 รองจากอีซูซุได้อีกเลยจนถึงปัจจุบัน เมื่อคู่แข่งโกยฐานระดับล่างก็เท่ากับว่าสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งกว่านิสสันจนยากที่จะปฏิเสธ แต่ในสมัยนั้นหลังจากส่ง Carlos Ghosn มาบริหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ก็ไม่มีแผนที่จะทำรถเล็กเพื่อตลาด ASEAN เนื่องจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น บีบบังคับให้สยามกลการขายหุ้นอย่างเบ็ดเสร็จจึงไม่มีรถใหม่ๆ เข้ามาทำตลาด จนกระทั่งเข้ามาบริหารเองได้ในปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน

รุ่นที่ 2 K11 (พ.ศ. 2535 - 2545) แก้

 
นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ใช้รหัสตัวถังว่า K11 ในการออกแบบได้ใช้โปรแกรม CAD มาช่วยในการสร้าง และออกแบบให้มีรูปทรงโค้งมน กลมกลึน ดูเป็นมิตรกว่ารุ่นเดิมมาก นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CG10DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 987 ซีซี เป็นเครื่องรุ่นมาตรฐาน มีระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ CVT และได้สร้างสถิติอย่างน่าชื่นชม โดยได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่น (Car of the Year Japan) ประจำปี 1992 และเป็นรถรุ่นแรกของญี่ปุ่น ที่คว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรป (European Car of the Year) ประจำปี 1993 ซึ่งในรายการทีวีซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่อง แชมป์เฉือนแชมป์ ตอน World Records ที่ออกอากาศในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2552 ในการแข่งขัน ดริฟท์จอดรถ ก็ใช้รถ นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ยังมีความปลอดภัยไม่มากเท่าที่ควร จากการทดสอบขององค์การทดสอบความปลอดภัยของยานยนต์ Euro NCAP ได้ประเมินว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 มีความปลอดภัยเพียงระดับ 2 ดาว จาก 5 ดาว

รุ่นที่ 3 K12 (พ.ศ. 2545 - 2553) แก้

 
นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3 ใช้รหัสตัวถังว่า K12 พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของรูปแบบ B-Platform เปิดตัวใน พ.ศ. 2544 เริ่มการผลิตกันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2545 ตัวถังใหม่มีความโค้งมนมากขึ้น สูงขึ้น และกว้างขึ้น ซึ่งสือมวลชน รวมถึงสถาบันการออกแบบชั้นนำหลายแห่ง ก็ต่างออกมายอมรับว่างานชิ้นนี้มีดีไซน์แตกต่าง ดูเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการเน้นการเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสาร การใช้ไฟหน้ารูปทรงแบบดวงตาการ์ตูน บักส์ บันนี รูปทรงรถแบบลู่ลมช่วยลดแรงต้านลมระหว่างการวิ่ง (ค่า Cd.=0.32) เสาหลังคาหลังถูกลดความยาวลงเพื่อลดจุดบอดของสายตาขณะถอยจอด และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ คือ Keyless Ignition คือจะมีรีโมทกุญแจไว้ให้เจ้าของรถ เมื่อเจ้าของรถพกรีโมทกุญแจเข้ามาในรถ จะสามารถกดปุ่มสตาร์ทรถได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้กุญแจ (เหมือน โตโยต้า ยาริส ในปัจจุบัน)

เครื่องยนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CR โดยใช้เครื่องยนต์ CR10DE เป็นรุ่นมาตรฐาน เกียร์ธรรมดาถูกยกเลิกไปในเกือบทุกรุ่น ยกเว้นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ประเภท CR12DE จะยังผลิตเกียร์ธรรมดาให้เลือกเป็นพิเศษ มีสีตัวถังให้เลือกถึง 12 สี

รุ่นที่ 4 K13 (พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) แก้

ไฟล์:Nissan March.jpeg
นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 ใช้รหัสการพัฒนาว่า W02A[1] ภายหลังได้ใช้รหัสตัวถังเป็น K13[2][3] เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 และเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 รวมถึงประเทศไทยด้วย หลังจากผลิตนิสสัน มาร์ชรุ่นที่ 1 ในประเทศไทยแล้ว ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน นิสสันก็ตัดสินใจผลิตนิสสัน มาร์ช ในประเทศไทยอีกครั้ง โดยใช้ชื่อในการโฆษณาว่า "นิสสัน อีโคคาร์" (Nissan Ecocar) ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ 1,200 ซีซี 3 สูบ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันได้ไม่แพ้รุ่นก่อนๆ โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นใหม่นี้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดรถประหยัดพลังงานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้

  1. ประหยัดน้ำมันไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตรต่อลิตร
  2. ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 120 กรัมต่อกิโลเมตร และได้รับมาตรฐานไอเสียสะอาดระดับยูโร 4
  3. มีความปลอดภัยตามมาตรฐานยุโรป
  4. ใช้เครื่องยนต์ขนาดลูกสูบไม่เกิน 1,300 ซีซี สำหรับเครื่องเบนซิน และไม่เกิน 1,400 ซีซี สำหรับเครื่องดีเซล

รถที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอีโคคาร์ ในประเทศไทย จะได้รับผลประโยชน์ในการลดภาษีสรรพสามิตเหลือร้อยละ 17 (รถเก๋งที่ไม่ผ่านเกณฑ์อีโคคาร์ ต้องจ่ายภาษีร้อยละ 30-50) และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 นิสสัน มาร์ช ก็ได้มีการไมเนอร์เชนจ์ขึ้น โดยปรับโฉมให้ดูสปอร์ตขึ้น โดนเปลี่ยนรูปแบบกระจังหน้าใหม่ ไฟหน้าใหม่ ไฟท้ายแบบ LED

 
นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 (ปรับปรุงใหม่; เวอร์ชั่นเอเชีย)
  • เปิดตัวครั้งแรก 2010
    • กับรุ่นย่อย 6 รุ่น S MT, E MT, E CV, EL CVT, V CVT,VL CVT ราคาระหว่างตั้งแต่ 375,000-537,000 บาท
  • ปรับขึ้นราคาปี 2011
    • รุ่นย่อยคงเดิมเพิ่มเติมคือปรับราคาสูงขึ้นทุกรุ่นย่อย 5,000 บาท ราคาตั้งแต่ 380,000-542,000 บาท
  • ไมเนอร์เชนจ์ปี 2013
    • 6 รุ่นย่อยเช่นเดิมอัพเดทหน้ารุ่นย่อย S MT, E MT, E CV, EL CVT, V CVT, VL CVT
    • ปรับขึ้นราคามาอยู่ที่ตั้งแต่ 380,000-555,000 บาท
  • เปิดตัวรุ่นพิเศษ Limited Edition ปี 2014
    • รุ่น 1.2 E MT Limited Edition - 456,000 บาท
    • รุ่น 1.2 E CVT Limited Edition - 490,000 บาท
    • รุ่น 1.2 EL CVT Limited Edition - 518,000 บาท
  • ไมเนอร์เชนจ์ปี 2015
    • ปรับลดรุ่นย่อยมาเหลือแค่ 3 รุ่น EL, V, และ VL ราคาเริ่มต้นกระโดดขึ้นอยู่ที่ 518,500 บาท

จะเห็นว่าแม้โฉมจะถูกดึงใช้มานานตั้งแต่ปี 2010 แต่ March ก็ยังมีการอัพเดทรายละเอียดของอุปกรณ์ของตัวรถอย่างต่อเนื่องให้ทันยุคทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมกับราคาเริ่มต้นที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดปีนี้ก็มีการเปิดตัวรุ่นปรับปรุงอีกครั้ง เพิ่มความสดใสกับทางเลือกของสีตัวถังใหม่และราคาเริ่มต้นที่ถูกลงจับต้องได้ง่ายขึ้นออกมาให้เลือก

โดยราคาขายของ Nissan March 2018 ในแต่ละรุ่นย่อย มีให้เลือกดังต่อไปนี้ โดยล้อที่ให้มาจะเป็นล้อเหล็กทุกรุ่นย่อยขนาด 14 นิ้วรัดด้วยยางขนาด 165/70/14

  • รุ่น 1.2 S MT 420,000 บาท (ล้อเหล็ก พร้อมดุมล้อ)
  • รุ่น 1.2 E MT 479,000 บาท (ล้อเหล็ก พร้อมฝาครอบล้อแบบเต็ม)
  • รุ่น 1.2 E CVT 493,000 บาท (ล้อเหล็ก พร้อมฝาครอบล้อแบบเต็ม)
  • รุ่น 1.2 EL CVT 526,500 บาท (ล้อเหล็ก พร้อมฝาครอบล้อแบบเต็ม)

ความเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องตัวเลขราคาที่ปรับขึ้น ไปจนถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของอ๊อพชั่นการใช้งาน Nissan March ตอนนี้ปี 2018 จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูรีวิวโดยละเอียดทั้งภายนอก ภายใน เครื่องยนต์ และระบบความปลอดภัยกันได้เลย

อวสานการผลิตในประเทศไทย แก้

ล่าสุด มีข่าวคราวว่า Nissan ประเทศไทย เตรียมยุติการผลิต Nissan March รหัส K13 อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2565 นี้ ! ถือเป็นการปิดตำนาน อีโค่คาร์คันแรกของประเทศไทย ที่ขายมาอย่างยาวนาน 12 ปี ตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทางด้าน Nissan March ที่ว่ากันว่าจ่อยุติการผลิตนั้นความจริงคือยังมีการผลิตอยู่ที่โรงงาน บางนา-ตราด กม. 22 แต่จำนวนการผลิตมีไม่มากนักและยังค้างการผลิตราวๆ 200 คัน สาเหตุที่ค้างนั้นเนื่องจากปัญหาชิป (เซมิคอนดักเตอร์) ขาดแคลน แต่ถ้าสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนกลับมาเข้าสู่สถานการณ์ปกติจะกลับมาผลิตที่ยังค้างอยู่เช่นเดิมและอาจเป็นล็อตสุดท้ายเพราะเนื่องจากเจนนี้อยู่ในยุครถปลายรุ่น เท่ากับว่าทั้ง Nissan Note และ Nissan March ยังคงจำหน่ายปกติจนกว่ารถหมดสต็อกทั้งประเทศ ถึงแม้รุ่น Note ปิดสายการผลิตและรุ่น March ยังมียอดการผลิตล็อตสุดท้ายค้างอยู่ก็ตาม สอดคล้องกับทาง นายอิซาโอะ เซคิกุจิ ประธาน นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ได้ให้สัมภาษณ์กับทางประชาชาติธุรกิจว่า Nissan จะจำหน่ายรุ่นปัจจุบันเน้นสี่รุ่นนหลักทั้ง Nissan Almera, Nissan Navara, Nissan Terra และ Nissan Kicks e-Power ที่จะเปิดตัวรุ่น MY2022 ในวันทื่ 1 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ส่วนรถยนต์นำเข้าขายเพียง สองถึงสามรุ่น ทั้ง Nissan LEAF Nissan GT-R และ Nissan URVAN

นอกจาก Nissan March ที่จะยุติการผลิตแล้ว Nissan Note ก็เตรียมจะยุติการผลิตด้วยเช่นกัน ภายในปี 2022 นี้ โดยทั้งคู่ต่างใช้เครื่องยนต์เดียวกันคือ รหัส HR12DE เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.2 ลิตร 1,198 ซีซี. กระบอกสูบ x ระยะช่วงชัก : 78.0 x 83.6 มิลลิเมตร อัตราส่วนกำลังอัด 10.2 : 1 พละกำลังสูงสุด 79 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 106 นิวตันเมตร ที่ 4,400 รอบ/นาที จับคู่กับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และ เกียร์อัตโนมัติ Xtronic CVT ขับเคลื่อนล้อหน้า รองรับน้ำมันสูงสุด E20

และ Nissan March รหัส K13 คันสุดท้ายจากโรงงานนิสสันในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี Nissan March มีกระแสตอบรับจากลูกค้าในประเทศไทยค่อนข้างดี แม้ว่าจะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอยู่เนืองๆ ทว่าความง่ายต่อการใช้งาน ไม่จุกจิก ตลอดจนราคาจำหน่ายที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภค ก็มีส่วนช่วยทำให้ Nissan March สามารถกวาดยอดขายไปได้ไม่น้อย สร้างผลกำไรให้กับ Nissan Motor (ประเทศไทย) ได้พอสมควร

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2022 ที่โรงงาน Nissan Motor ประเทศไทย ได้มีการปล่อยรถ Nissan March (K13) สีเงิน คันสุดท้ายออกจากไลน์ผลิต พร้อม Off-line Production เวลา 12.00 น. ถือเป็นการปิดตำนาน EcoCar รุ่นแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ต้องมาลุ้นกันต่อไปว่า All NEW Nissan March ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม CMF B-EV มาพร้อมขุมพลังไฟฟ้า 100% (BEV) ที่ถูกเผยภาพ Official Teaser ไปเมื่อช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมา จะมีโอกาสเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย รับช่วงต่อจาก March (K13) หรือไม่ ?

รุ่นที่ 5 K14 (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน) แก้

รุ่นที่ 5 (K14; เวอร์ชั่นยุโรป)
 
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อธันวาคม 2559–ปัจจุบัน
รุ่นปี2560-ปัจจุบัน
แหล่งผลิต  ฝรั่งเศส: Flins-sur-Seine (Renault)[4]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก
รูปแบบตัวถัง5 ประตู แฮทช์แบ็ก
แพลตฟอร์มNissan V platform
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์เบนซิน
  • 0.9 L Renault H4Bt I3-T
  • 1.0 L Mercedes-Benz M281 I3
  • 1.0 L Nissan HR10DET/HRA0 I3-T
ดีเซล
  • 1.5 L Renault K9K I4
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้านิสสัน โน้ต (ยุโรป)

นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 ใช้รหัสว่า K14 ได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ปารีส มอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2559 โดยมีการออกแบบภายนอกใหม่ทั้งหมด และใช้แพลทฟอร์ม CMF-B ส่วนสีภายนอกมีให้เลือกมากถึง 10 สี โดยการวางจำหน่ายเริ่มที่ยุโรปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

นิสสัน มาร์ช ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร 97 แรงม้า, เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 0.9 ลิตร 90 แรงม้า และเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร 70 แรงม้า

ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ น่าจะทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง หลังจากที่ชาวยุโรปมองว่านิสสัน มาร์ช รุ่นก่อนนั้น ค่อนข้างจืดชืดเมื่อเทียบกันรุ่นก่อน (K12) ที่มีการออกแบบที่ดีกว่า รวมไปถึงคุณภาพที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ทั้งหมดนี้จึงทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 จำเป็นต้องดูดีขึ้นขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มขึ้นด้วยรถต้นแบบ Nissan Sway Concept

อ้างอิง แก้

  1. "Car Magazine: Nissan Micra (2010) first design sketches".
  2. "Nissan Thailand: All New Nissan March 12March2010".
  3. "NISMO Japan K13 optional parts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
  4. "Nissan Micra Gen5: The Revolution has Begun" (Press release). Paris, France: Nissan GB. 29 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้