นิสสัน ซันนี่ เป็นรถขนาดเล็กของบริษัทนิสสัน เริ่มการผลิตใน พ.ศ. 2509-2547 และมีนิสสัน ทีด้าและนิสสัน อัลเมร่า เข้ามาทดแทน ในช่วงที่มีการผลิต ซันนี่เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ โตโยต้า โคโรลล่า, ฮอนด้า ซีวิค และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์

นิสสัน ซันนี่
นิสสัน ซันนี่ B14
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตนิสสัน (ไอฉิ คิไก)
เรียกอีกชื่อนิสสัน เซ็นทรา (พ.ศ. 2525–2549)
นิสสัน อัลเมรา (พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2509–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (รุ่นที่ 1-5)และ(รุ่นที่ 12-13)
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (รุ่นที่ 6-11)
รูปแบบตัวถัง
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรลล่า
มาสด้า 323/3
ฮอนด้า ซีวิค
นิสสัน ทีด้า
ฟอร์ด เลเซอร์/ฟอร์ด โฟกัส
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
เปอโยต์ 307
ซีตรอง C4
โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ
เชฟโรเลต ครูซ/เชฟโรเลต ออพตร้า
สโกด้า ออกตาเวีย
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี
รุ่นต่อไปนิสสัน เซนทรา (B16) (อเมริกา)
นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี่ (G11)/นิสสัน ทีด้า (C11) (เอเชีย)
นิสสัน AD/Wingroad (station wagon)

จุดเด่นของ นิสสัน ซันนี่ ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงรุ่นปัจจุบัน คือ การประหยัดน้ำมัน ซันนี่โดยภาพรวมแล้วถือว่าใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่าและประหยัดมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญทั้ง 3 รุ่น แต่ก็จะเสียเปรียบในเรื่องของอัตราเร่ง ซึ่งซันนี่จะไม่ค่อยเน้นความเป็นรถสปอร์ต เครื่องยนต์มีแรงค่อนข้างน้อย สมรรถนะค่อนข้างต่ำ (เพราะแลกไปกับการประหยัดน้ำมันที่เหนือชั้น)

นิสสัน ซันนี่ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 13 Generation (รุ่น) ดังนี้

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2509-2512) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 1

ซันนี่โฉมแรก หรือ B10 ซีรีส์ จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดัตสัน 1000 (Datsun 1000) เพราะในช่วงนั้น บริษัทใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า ดัทสัน แล้วเปลี่ยนเป็นนิสสันในภายหลัง เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 ใช้เครื่องยนต์ 988 ซีซี 56 แรงม้า ใช้เกียร์ธรรมดาซิงโครเมช 4 สปีด มีตัวถัง 2 แบบ คือ ซีดาน 2 ประตู และ รถสเตชันวากอน ซึ่งตัวถังแต่ละแบบจะมี 2 เกรดให้เลือก คือ แบบมาตรฐาน(Standard) กับแบบพิเศษ (Deluxe)

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2510 ได้มีการเพิ่มตัวถังรูปแบบที่ 3 คือ ซีดาน 4 ประตู และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2511 ได้มีการเพิ่มตัวถังแบบคูเป้ (รถกึ่งสปอร์ต มีขนาดเล็ก 2 ประตู)

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2513-2519) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 2

ซันนี่โฉมที่ 2 หรือ B110 ซีรีส์ จะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในชื่อ ดัทสัน 1200 (Datsun 1200) มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าโฉมแรก และประสบความสำเร็จมากขึ้น มีกระแสความนิยมที่เท่าเทียมกับ โตโยต้า โคโรลล่า ในช่วงเดียวกันนั้น และซันนี่โฉมนี้ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์ในด้านเชื้อเพลิง ทำให้ซันนี่มีจุดเด่นในเรื่องความประหยัดน้ำมัน ซึ่งจุดเด่นตรงนี้ก็คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน รถรุ่นนี้ ถึงจะผลิตในช่วงหลายสิบปีก่อนที่เทคโนโลยีไม่พัฒนา รถรุ่นอื่นๆ ใช้น้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ไม่ถึง 10 กม. แต่ซันนี่โฉมนี้ น้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ 12.2 กิโลเมตรในการขับในเมือง และ 16.1 กิโลเมตรในการขับออกต่างจังหวัด

ในโฉมที่ 2 นี้ มีการผลิตรถซันนี่ในรูปแบบรถกระบะขึ้นในชื่อรุ่น Bakkie ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากไม่แพ้รถยนต์นั่ง โดยในแถบประเทศแอฟริกา Bakkie ยังมีขายอยู่ต่อเนื่องกว่า 30 ปี ก่อนที่จะเลิกขายใน พ.ศ. 2551

Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2516-2526) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 3

ซันนี่โฉมที่ 3 หรือ B210 ซีรีส์ จะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในชื่อ ดัทสัน 120Y (Datsun 120Y) กับอีกรุ่นคือ 140Y ซันนี่โฉมนี้ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพราะในช่วงนี้ ได้เกิดวิกฤติน้ำมันแพงขึ้นมาครั้งหนึ่ง ก่อนที่วิกฤติดังกล่าวจะคลี่คลายลง เพราะซันนี่มีทุนเดิมอยู่แล้วในจุดเด่นด้านความประหยัดน้ำมัน และเมื่อยิ่งโฉมนี้ได้มีการออกแบบให้มีเหล็กที่บางลงและออปชันบางอย่างถูกตัดออก เพื่อลดต้นทุน ราคาของรถจึงถูกมาก จึงดึงดูดใจลูกค้าได้มาก

ในโฉมนี้ รถซีดานขายได้น้อยลง ในขณะที่รถคูเป้ขายได้ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามกระแสความนิยมในช่วงนั้น

Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2521-2525) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 4

ซันนี่โฉมที่ 4 หรือ B310 ซีรีส์ เป็นโฉมสุดท้ายที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในชื่อ Datsun 130Y, 150Y ขายควบคู่ไปกับ 120Y และ 140Y

ซันนี่โฉมนี้ สามารถใช้น้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ถึง 20 กิโลเมตร (เฉพาะรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ส่วนเกียร์แบบอื่นๆ ไม่สามารถทำได้)เช่นเดียวกับ นิสสัน มาร์ชรุ่นปัจจุบัน

ซันนี่โฉมนี้ ยังเป็นโฉมสุดท้ายที่มีการใช้ชื่อดัทสันด้วย

Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2525-2539) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 5

ซันนี่โฉมที่ 5 หรือ B11 ซีรีส์ เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของคนไทย โดยกลุ่มพ่อค้ารถในไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า โฉม FF เนื่องจากเป็นโฉมแรกของซันนี่และโฉมแรกๆ ของไทย ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และนอกจากนี้ โฉมที่ 5 เป็นโฉมแรกที่ยกเลิกการใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่าดัทสัน และเปลี่ยนมาใช้ชื่อนิสสันอย่างถาวร โฉมนี้เป็นโฉมที่ทันสมัยมากในช่วงเวลานั้น ได้รับความนิยมพอสมควร แต่ก็มีกระแสในแง่ลบออกมาบ้างเล็กน้อย โดยมี รัชนก พูนผลิน เป็น Presenter ในยุคนั้น

ในญี่ปุ่น ซันนี่โฉมนี้ ขายถึงปี พ.ศ. 2529 เท่านั้น แต่ในเมืองไทยนั้นขายต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2539 เลยทีเดียว เพราะโฉมที่ 6 นั้น ไม่มีการส่งออกหรือผลิตในต่างประเทศมากนัก

นับตั้งแต่โฉมนี้ ไปจนถึงโฉมที่ 9 นิสสัน ซันนี่ มี 2 ชื่อที่ใช้ คือ ซันนี่ และ เซนทรา (Sentra) โดยทั้ง 2 ชื่อนั้น ไม่มีรายละเอียดใดๆ ที่ต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย เคยขายซันนี่ โดยใช้ชื่อเซนทราครั้งหนึ่ง ในช่วงโฉมที่ 7 เพื่อแยกตลาดให้ชัดเจน โดยขายควบคู่กันไปจนถึง พ.ศ. 2539 สาเหตุที่ยังขายซันนี่รุ่นที่ 5 และรุ่นที่ 7 ไปด้วยกันเพื่อให้ Sunny FF สามารถทำตลาดรถราคาถูกต่อไปได้ จนกระทั่งการเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากมีรุ่น Sunny B14 เข้ามาทำตลาดแทน

Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2528-2533) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ รุ่นที่ 6

นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 6 หรือ B12 มีวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น และในประเทศไทย (ขายในชื่อ นิสสัน เซ็นทรา) มีแบบซีดาน 4 ประตูและแฮทช์แบค ใช้เครื่องบล็อก CA

Generation ที่ 7 (พ.ศ. 2533-2537) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 7

ซันนี่โฉมที่ 7 หรือ B13 ซีรีส์ พบเห็นได้บ้างในประเทศไทย และเป็นโฉมแรกที่เป็นที่รู้จักของคนไทยโดยไม่ใช้ชื่อซันนี่ โดยได้ขายทั้งโฉมนี้และโฉมที่ 5 ควบคู่กันไปด้วย (โดยในประเทศไทยและในบางประเทศ รุ่น B13 นี้จะใช้ชื่อ นิสสัน เซนทรา (อังกฤษ: Nissan Sentra)) ก่อนที่จะทดแทนโดยรุ่น B14 ในปี พ.ศ. 2538 ทำให้ Sunny FF และ B13 ต้องยุติการทำตลาดในช่วงนั้น สำหรับ Sentra B13 มีพรีเซ็นเตอร์คือ สัญญา คุณากร,แอน ทองประสม

Generation ที่ 8 (พ.ศ. 2537-2541) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 8

ซันนี่โฉมที่ 8 หรือ B14 ซีรีส์ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยในชื่อ โฉมพระอาทิตย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2538 จนถึงกระทั่งปี พ.ศ. 2543 โดยมี มณฑล จิรา เป็นพรีเซ็นเตอร์

Generation ที่ 9 (พ.ศ. 2541-2547) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 9

โฉมที่ 9 หรือ B15 ซีรีส์ มีรูปร่างคล้าย B14 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก B14 ในประเทศไทย ทางนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) (สยามกลการในยุคนั้น) ไม่ได้นำมาทำตลาด เนื่องจากตัวถังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายแข่งกับเจ้าตลาดในขณะนั้นได้ แต่ใน พ.ศ. 2547 นิสสันได้ออกผลิตภัณฑ์รถรุ่นใหม่ คือ นิสสัน ทีด้า เข้ามา ซึ่งมีคุณลักษณะคล้ายซันนี่ เข้ามาทดแทนรุ่นซันนี่ โดยในประเทศญี่ปุ่น นิสสันได้หยุดการผลิตรุ่นซันนี่ ในปีเดียวกับการเปิดตัวของทีด้า สำหรับซันนี่ในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย ได้ยกเลิกการผลิตรุ่น B14 ในพ.ศ. 2543 และได้นำรถรุ่น นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar) มาขายในชื่อ ซันนี่ นีโอ (Sunny Neo) ต่อจาก B15 ส่วน นิสสัน ซันนี่ (ตระกูลจริง) นั้น หลังจากได้หยุดการผลิตโฉมที่ 9 นี้แล้ว โฉมที่ 10 ยังมีการผลิตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีการใช้ชื่อซันนี่ จะใช้ชื่อเซนทรา เพียงชื่อเดียว ซึ่งไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

Generation ที่ 10 (พ.ศ. 2543-2549) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 10

หลังจากที่ B15 เลิกผลิตแล้ว ในประเทศไทย รวมทั้งในบางประเทศ ก็ได้มีการผลิตซันนี่มาขายต่อ โดยในประเทศไทยใช้ชื่อในการขายว่า นิสสัน ซันนี่ นีโอ (อังกฤษ:Nissan Sunny Neo) โดยเป็นการยืมชื่อเฉยๆ ไม่ใช่ซันนี่ของแท้ เพราะแท้จริงแล้ว เป็นการนำ Bluebird Sylphy มาจำหน่าย (ก่อนที่รุ่นไมเนอร์เชนจ์จะเป็นการนำ Nissan Pulsar มาขายในชื่อเดียวกัน) โดยเริ่มจำหน่ายในปี พ.ศ. 2543

Generation ที่ 11 (พ.ศ. 2549-2554) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 11

ดังที่กล่าวมาว่า ในช่วงซันนี่รุ่นที่ 5 หรือ B11 เป็นต้นมา ได้มีการผลิตซันนี่ แต่มีการใช้ 2 ชื่อ คือ ซันนี่ กับเซนทรา โดยทั้ง 2 ชื่อ ตัวรถไม่มีความแตกต่างกัน แต่หลังจาก B15 เลิกผลิต นิสสันยกเลิกการใช้ชื่อซันนี่ โดยหันมาใช้ชื่อเซนทราเพียงชื่อเดียว ดังนั้น ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ชื่อซันนี่ แต่ได้พัฒนาโดยตรงจากซันนี่นับได้ว่าเป็นซันนี่ของแท้ (ต่างจากกรณีของพัลซาร์และบลูเบิร์ด ซิลฟี่ ที่ใช้ชื่อซันนี่ แต่ไม่ใช่ซันนี่) แต่ไม่มีขายในประเทศไทย และไม่ประสบความสำเร็จในยุโรป ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับ Bluebird Sylphy และ Tiida ในเอเชีย

Generation ที่ 12 (พ.ศ. 2554-2563) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 12

ถึงแม้ว่า นิสสัน ทีด้า จะเข้ามาขายแทนซันนี่แล้ว แต่ในประเทศจีน มีการเปิดตัว นิสสัน อัลเมร่า หรือซันนี่รุ่นที่ 12 แล้วในปี 2554 แล้ว ซึ่งจะขายเป็นรุ่นที่เล็กกว่าทีด้าเล็กน้อย ซึ่งทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกจะมีการเปิดตัวในเร็วๆ นี้ เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ที่ จะเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น "อัลเมร่า" (Almera) และในประเทศไทยจะมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นขนาด 1,200 ซีซี เพื่อให้เข้าข่ายอีโคคาร์ในประเทศ ไทย ต่างจากที่ประเทศจีนและอินเดีย ที่ใช้เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี ถึงแม้ในบางประเทศจะใช้ชื่อ นิสสัน ซันนี่ แต่รุ่นนี้ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตระกูลเลยเป็นเพียงแค่การยืมชื่อมาเฉยๆ เช่นเดียวกับซันนี่ นีโอ ในประเทศไทย จะเปิดตัวในวันที่ 8-9 ตุลาคม 2554 นิสสัน อัลเมร่านี้ จะเป็นอีโคคาร์แบบ 4 ประตูคันแรกของไทย โดยสาเหตุที่ใช้ชื่อว่า อัลเมร่า ในประเทศไทยเพื่อไม่ให้ซ้ำกับประเทศจีน ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดตัวแล้วโดยใช้ชื่อว่า นิสสัน ลาติโอ (อังกฤษ: Nissan Latio)

Generation ที่ 13 (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน) แก้

 
นิสสัน ซันนี่ โฉมที่ 13 (นิสสัน อัลเมรา)

ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ที่เปิดตัว นิสสัน อัลเมร่า ใหม่ (ALL-NEW NISSAN ALMERA) เครื่องยนต์เทอร์โบ 1.0 ลิตร รถยนต์แบบซีดานอัจฉริยะสำหรับการใช้งานในเมืองที่สมบูรณ์แบบ อัลเมร่า ใหม่ ได้รับการออกแบบให้ มีเสน่ห์ ทันสมัย และตื่นเต้นเร้าใจ เปิดตัวในงาน ‘Challenge All Beliefs’ ระดับโลกที่กรุงเทพฯ นิสสันท้าทายความเชื่อเดิมๆ ที่ผ่านมาทั้งหมดเกี่ยวกับรถยนต์ซีดานในเซ็กเมนต์นี้ด้วย นิสสัน อัลเมร่า ใหม่ ซึ่งออกแบบอย่างประณีต และเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยขึ้นไปอีกขั้น “การเปิดตัว นิสสัน อัลเมร่า ใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยสำหรับนิสสันที่มีต่อภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย โดยเฉพาะเรื่องผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับโลก การเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาค และการพัฒนาบุคคลากรในประเทศไทยที่มีคุณภาพการผลิตระดับโลก” ยูทากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย “นิสสันกำหนดให้ อัลเมร่า ใหม่ ท้าทายทุกความเชื่อกับรถยนต์ซิตี้คาร์ และต้องการมอบเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าของนิสสัน” นิสสัน อัลเมร่า ใหม่ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ 1.0 ลิตรใหม่ ภายใต้รหัส HRA0 3 สูบ แถวเรียงแบบ DOHC (Double Overhead Camshaft) ขนาดปริมาตรความจุ 999 ซีซี ระบบเกียร์เป็นแบบ XTRONIC CVT พร้อม D-Step Logic ช่วยให้การเปลี่ยนเกียร์นุ่มนวล แต่ให้อัตราเร่งต่อเนื่องและทันใจ ตอบสนองอัตราเร่งแซงที่ดีขึ้น ช่วยให้การขับขี่มีประสิทธิภาพและประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีขึ้นกว่าเดิม และด้วยเทคโนโลยี D-Step Logic สร้างการขับขี่ให้ที่น่าตื่นเต้นและส่งกำลังที่มีความละเอียดยิ่งขึ้น พร้อมมอบประสบการณ์บนท้องถนนให้ผู้ขับขี่เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเกียร์ทั่วไป ตอบสนองคันเร่งได้เป็นอย่างดี ให้การเปลี่ยนเกียร์ที่รวดเร็วขึ้นแต่ยังมีการประหยัดเชื้อเพลิงที่โดดเด่นอีกด้วย

ต่อมา 2021 Nissan Almera ตัดรุ่นถูกสุดออกไป ทำราคาเริ่มต้น 509,000 แล้วในตอนนี้ เพื่อกระตุ้นตลาดและรักษาระดับยอดขายเฉลี่ยต่อเดือนเอาไว้ Nissan จึงเปิดตัว Almera 1.0 Turbo รุ่นตกแต่งพิเศษ Sportech Model Year 2022 ในงาน Bangkok International Motor Show เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 โดยยังไม่มีการปรับปรุงงานด้านวิศวกรรมใดๆเพิ่มเติม มุ่งเน้นแต่เพียงการปรับรูปโฉมให้กับ Almera Sportech เป็นหลัก

รุ่นที่เลิกจำหน่าย

  • 1.0 Turbo S CVT : 499,000 บาท
  • 1.0 Turbo V SPORTECH CVT : 629,000 บาท

ล่าสุด Nissan (ประเทศไทย) เตรียมปรับราคาจำหน่าย Almera 1.0 Turbo ทุกรุ่นย่อย เพิ่มขึ้น 6,000 บาท อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ต้นทุนด้านวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและราคาขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยการปรับราคาในครั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป สำหรับราคาเริ่มต้นจากเดิม 509,000 บาท มาเป็น 515,000 บาท

ในวันที่ 8 สิงหาคม Nissan ได้เปิดตัวรุ่น New NISSAN ALMERA Sportech-X มาพร้อมสีทูโทน สีขาว สตอร์มไวท์ หลังคาสีดำเงา ในราคา 695,000 บาท รุ่นพิเศษ จำนวนจำกัด 300 คัน

  • ล้ออัลลอย ขนาด 16 นิ้ว ลายใหม่ สีดำปัดเงา พร้อมยาง BRIDGESTONE Turanza T005A ขนาด 205/55 R16
  • ปลายท่อไอเสียโครเมียม
  • สติ๊กเกอร์ Sportech-X เสาหลังคา B-Pillar
  • สัญลักษณ์ Sportech-X บริเวณฝาท้าย, ฐานคันเกียร์ และ แผงด้านข้างประตู
  • แป้นเหยียมคันเร่ง-เบรก พร้อมที่พักเท้าแบบสปอร์ต
  • ไฟ Ambient Light สีแดง
  • เบาะหนังสีดำ, พร้อมปูพื้น และ สคัพเพลท พร้อมสัญลักษณ์ Sportech-X
  • ผลิตจำนวนจำกัด 300 คัน
  • ราคาเพิ่มขึ้น 20,000 บาท (จากปกติ 675,000 บาท)

ล่าสุด Nissan (ประเทศไทย) ฉลองส่งท้ายครบ70 ปี จัดเต็มโปรฯ ต้อนรับ Motor Expo 2022 พร้อมกับเปิดตัว Nissan Almera 70th Anniversary (รุ่นพิเศษฉลอง 70 ปี) ในราคา 685,000 บาท

  • เพิ่มสติ๊กเกอร์ตกแต่งบริเวณฝากระโปรงหน้า, กระจกมองข้างสีดำ พร้อมสัญลักษณ์ 70th Anniversary, โลโก้ 70th Anniversary บริเวณฝากระโปรงท้าย และ พรมภายในห้องโดยสาร พร้อมสัญลักษณ์ 70th Anniversary
  • ราคาเพิ่มขึ้นจากรุ่น Sportech +10,000 บาท (จากปกติราคา 675,000 บาท)

ปรับโฉมใหม่ (2023) แก้

 
นิสสัน อัลเมรา Minorchange

ตอบโจทย์ทุกบทบาท ทุกจุดหมาย ด้วยเครื่องยนต์ 1.0L TURBO ผสานเทคโนโลยีเหนือระดับ ให้คุณสะดวกสบายทุกการเดินทาง การันตีความคุ้มค่าด้วยรางวัล Car of the Year 2023* ในรุ่นปี 2022

Nissan Almera เป็นรถซีดาน Eco Car (อีโคคาร์) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากหลังจากที่เปิดตัวครั้งแรกในตลาดเมื่อไทยตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา หลังจากนั้นปี 2014 ก็ได้ปรับแต่งโฉมเพิ่มเติมให้ดูสปอร์ต โฉบเฉี่ยวขึ้นด้วยรุ่น Sportech จนมาในปี 2016 ก็ได้รับการติดตั้งชุดแต่ง Nismo ซึ่งถือว่าเป็นรถรุ่นแรกในไทยที่ได้รับชุดแต่ง Nismo ต่อเนื่องจนมาถึงในปี 2019 Nissan Almera (นิสสัน อัลเมร่า) ก็ปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ ที่สำคัญยังมาพร้อมกับขุมพลังเครื่องยนต์ 1.0 เทอร์โบ ซึ่งเป็นรถรุ่นแรกในไทยและเอเชีย ที่มากับขุมพลังที่เล็ก แต่แรง และเมื่อปี 2019 ก็เพิ่มชุดแต่ง Sportech ที่มาพร้อมความสปอร์ต และพรีเมียม

จนมาล่าสุดในปี 2023 นี้ Nissan Almera จึงได้ทำการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่อีกครั้ง ที่เพิ่มลุคให้ดูโมเดิร์น มากยิ่งขึ้น โดย Nissan Almera รุ่นไมเนอร์เชนจ์ 2023 ในตลาดเมืองไทยรุ่นล่าสุดนี้ อิงหน้าตามาจากเวอร์ชั่นที่เปิดตัวในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา

ความเปลี่ยนแปลงของ Nissan ALMERA Minorchange (2023)

  • เปลี่ยน ดีไซน์กันชนหน้า, กระจังหน้า เป็นแบบ V-Motion Grille, โลโก้ Nissan รอบคัน เวอร์ชั่นใหม่
  • เปลี่ยน กุญแจรีโมท ดีไซน์ใหม่ (ในรอบ 15 ปี)
  • เพิ่ม สีตัวถังใหม่ สีเทานม Grey Sky Pearl มาแทนที่ สีส้ม Monarch Orange และ สีเงิน Brilliant Silver
  • เปลี่ยน วัสดุตกแต่งแผงแดชบอร์ดด้านหน้า วัสดุสีนำ้เงินเข้ม (เฉพาะรุ่น V และ VL), วัสดุหุ้มพวงมาลัย เป็นหนังที่มีความนุ่มขึ้น, วัสดุบุนุ่มภายในห้องโดยสาร สีเทาฟ้า, กระจกมองหลังเป็นแบบไร้กรอบ
  • เพิ่ม ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ Cruise Control, แท่นชาร์จโทรศัพท์ไร้สาย Wireless Charger (15W), ระบบโทรฉุกเฉิน SOS, แถบตกแต่งแผงประตู, ปุ่ม SOS บนหลังคา ระบบเชื่อมต่อ Nissan CONNECT Service Application พร้อมฟังก์ชั่น SOS / Car Finder / สั่งล็อค-ปลดล็อครถ / สตาร์ทรถ / เปิดเสียงแตร, ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัตโนมัติ High Beam Assist (HBA), ระบบแจ้งเตือนเมื่อออกนอกช่องทาง Lane Departure Warning (LDW), กล้องที่กระจกบังลมหน้า สำหรับระบบ LDW, ระบบตรวจสอบแรงดันลมยาง Tire Pressure Monitoring System (TPMS) และ ระบบสตาร์ทรถจากรีโมท Engine Remote Start
  • เพิ่ม ทางเลือกชุดแต่งรอบคัน Iconic / Ignite / Ultimate / Stylish Package
  • ปรับราคาเพิ่มขึ้น (24,000 – 44,000 บาท)
    • รุ่น E เพิ่มขึ้น 34,000 บาท (จากเดิม 515,000 บาท)
    • รุ่น EL เพิ่มขึ้น 24,000 บาท (จากเดิม 565,000 บาท)
    • รุ่น V เพิ่มขึ้น 34,000 บาท (จากเดิม 625,000 บาท)
    • รุ่น VL เพิ่มขึ้น 44,000 บาท (จากเดิม 655,000 บาท)

ราคาอย่างเป็นทางการ (2023)

    • 1.0 Turbo E CVT : 549,000 บาท
    • 1.0 Turbo EL CVT : 589,000 บาท
    • 1.0 Turbo V CVT : 659,000 บาท
    • 1.0 Turbo VL CVT : 699,000 บาท

อ้างอิง แก้