นักบุญอัลบันแห่งไมนซ์

นักบุญอัลบันแห่งไมนทซ์ (อังกฤษ: Saint Alban of Mainz) เป็นนักบุญในคริสต์ศาสนาและเป็นมรณสักขีหรือผู้พลีชีพเพื่อศาสนา ผู้เกิดเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาจจะเป็นกรีซหรือแอลเบเนีย ถึงแก่กรรมเมื่อราว ค.ศ. 406 ที่เมืองฮานุมที่ไมนทซ์ ในเยอรมนี

อัลบันแห่งไมนทซ์
“นักบุญอัลบันแห่งไมนทซ์”
เกิดคริสต์ศตวรรษที่ 4
กรีซ หรือ แอลเบเนีย
เสียชีวิตราว ค.ศ. 406
ฮานุม, ไมนทซ์[1], เยอรมนี
นิกายนิกายโรมันคาทอลิก
วันฉลอง21 มิถุนายน
สัญลักษณ์คนหัวขาดถือหัวตนเองในมือ
องค์อุปถัมภ์เฮอร์เนีย, ชัก, นิ่ว

ราบานัส มอรัสบันทึกในสารบรรณผู้พลีชีพว่านักบุญอัลบันถูกนักบุญแอมโบรสแห่งมิลานส่งตัวไปเป็นมิชชันนารียังแคว้นกอล ที่ไมนทซ์อัลบันได้ช่วยบิชอป ออเรียสแห่งไมนทซ์ให้ได้เขตมุขนายกของตนคืนมา แต่ในปี ค.ศ. 406 ระหว่างการรุกรานข้ามแม่น้ำไรน์ของแวนดัล บิชอป ออเรียสก็ถูกสังหาร และอัลบันก็ถูกตัดศีรษะขณะที่กำลังอธิษฐาน ลัทธิบูชานักบุญอัลบันเกี่ยวข้องกับนักบุญธีโอนิสทัส (Theonistus) ซึ่งอาจจะเป็นบิชอปแห่งฟิลิปปี แต่มักสับสนกับธอมัสทัสผู้เป็นบิชอปแห่งไมนทซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 5[2] นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า “อัลบานัสแห่งเมนทซ์ (Albanus of Mentz) พลีชีพที่เมนทซ์ แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าเมื่อใด ตามคำกล่าวของเบดา (Baeda) ภายใต้จักรพรรดิไดโอคลีเชียน แต่ตามคำกล่าวของซีเฌอแบร์ตแห่งฌามบลูซ์ (Sigebert of Gembloux) (ในบันทึกประวัติศาสตร์) กล่าวว่า[อัลบานัสแห่งเมนทซ์]ถูกขับจากฟิลิปปีพร้อมกับนักบุญธีโอนิสทัสซึ่งเป็นบิชอป ในปี ค.ศ. 425”[3] นักวิชาการผู้นี้กล่าวต่อไปว่าราบานัส มอรัส “กล่าวเกินเลยไปว่าอัลบานัสแห่งเมนทซ์เป็นบิชอปชาวแอฟริกันที่หนีจากพระเจ้าฮุนเนอริค (กษัตริย์แวนดัล)...”[3]

ตำนานกล่าวว่านักบุญอัลบันแห่งไมนทซ์มิได้เสียชีวิตทันทีแต่ประคองหัว (cephalophore) ตนเองไปยังที่ที่ต้องการจะให้ฝัง ซึ่งกลายเป็นที่สร้างโบสถ์และต่อมากลายเป็นศูนย์กลางของอารามคณะเบเนดิกตินที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญบูรณปฏิสังขรณ์ในปี ค.ศ. 806 แต่อารามมาได้รับความเสียหายอย่างหนักในปี ค.ศ. 1552 และไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นมาอีก

อ้างอิง แก้

  1. "Patron Saints Index: Saint Alban of Mainz". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
  2. THEONEST (Theonistus, Thonistus, Onistus) von Altino
  3. 3.0 3.1 William George Smith; Henry Wace, A Dictionary of Christian Biography, Literature, Sects and Doctrines (J. Murray, 1877), 70.

ดูเพิ่ม แก้