นคร

นิคมมนุษย์ที่ค่อนข้างใหญ่และถาวร

นคร (อังกฤษ: city) เป็นนิคมมนุษย์ค่อนข้างใหญ่และถาวร[1][2] แม้จะไม่มีการตกลงว่า คำว่า "นคร" ความหมายแตกต่างจากคำว่า "เมือง" อย่างไร หลายนครมีสถานะการปกครอง กฎหมาย และประวัติศาสตร์เฉพาะตัวตามกฎหมายท้องถิ่น

ย่านชินจูกุในนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เฮลซิงกิ

โดยปกตินครมีระบบการสุขาภิบาล สาธารณูปโภค การใช้ที่ดิน ที่อยู่อาศัยและการขนส่งซับซ้อน การมุ่งการพัฒนาอำนวยความสะดวกแก่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับธุรกิจอย่างมาก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกัน นครใหญ่หรือเรียก "มหานคร" (metropolis) โดยปกติแล้วมีเขตชานเมือง (suburb) และบริเวณเชื่อมชนบทกับเมือง (exurb) นครเหล่านี้มักเกี่ยวกับพื้นที่มหานครและพื้นที่เขตเมือง โดยผู้ไปกลับเป็นประจำ (commuter) ทางธุรกิจจำนวนมากเดินทางไปในเขตเมืองเพื่อหางานทำ เมื่อนครขยายขอบเขตออกไปกว้างพอถึงนครอีกแห่งหนึ่ง พื้นที่ตรงนั้นสามารถถือว่าเป็นเขตเมืองขยาย (conurbation) หรืออภิมหานคร (megalopolis) ได้

อ้างอิง แก้

  1. Goodall, B. (1987) The Penguin Dictionary of Human Geography. London: Penguin.
  2. Kuper, A. and Kuper, J., eds (1996) The Social Science Encyclopedia. 2nd edition. London: Routledge.