นกหัวขวานด่างแคระ

นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานด่างแคระตัวเมีย (เบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Piciformes
วงศ์: Picidae
สกุล: Dendrocopos
สปีชีส์: D.  canicapillus
ชื่อทวินาม
Dendrocopos canicapillus
(Blyth, 1845)
ชนิดย่อย
ชนิดย่อย[2]
  • D. c. aurantiiventris (Salvadori, 1868)
  • D. c. auritus (Eyton, 1845)
  • D. c. canicapillus (Blyth, 1845)
  • D. c. delacouri (Meyer de Schauensee, 1938)
  • D. c. doerriesi (Hargitt, 1881)
  • D. c. kaleensis (Swinhoe, 1863)
  • D. c. mitchellii (Malherbe, 1849)
  • D. c. nagamichii (La Touche, 1932)
  • D. c. obscurus (La Touche, 1921)
  • D. c. omissus (Rothschild, 1922)
  • D. c. scintilliceps (Swinhoe, 1863)
  • D. c. semicoronatus (Malherbe, 1849)
  • D. c. swinhoei (Hartert, 1910)
  • D. c. szetschuanensis (Rensch, 1924)
  • D. c. volzi (Stresemann, 1920)
ชื่อพ้อง[3]
ชื่อพ้อง
  • Dryobates semicoronatus Rensch, 1924
  • Picus canicapillus Blyth, 1845,
  • Yungipicus canicapillus (Blyth, 1845)

นกหัวขวานด่างแคระ (อังกฤษ: Grey-capped pygmy woodpecker, Grey-capped woodpecker; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocopos canicapillus) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกหัวขวาน (Picidae)

มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ด้านบนลำตัวสีดำมีแถบเป็นจุดสีขาว ด้านล่างลำตัวสีขาวลายดำ ด้านบนหัวสีเทา มีแถบสีดำคาดเหนือตา ตัวผู้มีแถบสีแดงเล็ก ๆ เหนือคิ้ว ซึ่งบางครั้งมองเห็นได้ยากมาก ไม่มีหงอน มีพฤติกรรมเวลาบินจะใช้กระพือบินสลับกับการร่อนกันไป ขณะบินจะส่งเสียงร้องดัง เวลาหากินจะใช้ปากเจาะเข้าไปในต้นไม้ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้ว พร้อมกับใช้ลิ้นที่ยาวซึ่งมีน้ำลายเหนียวและหนามแหลมยื่นยาวออกไปแมลงและหนอน กินเป็นอาหาร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง มีพฤติกรรมหากินร่วมกับนกขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น นกไต่ไม้, นกเฉี่ยวดง เรียกว่า "เบิร์ดเวฟ"

นกหัวขวานด่างแคระเป็นนกที่พบได้ในป่าทุกประเภท ตั้งแต่ที่ราบไปจนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,830 เมตร โดยเฉพาะป่าโปร่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, บังกลาเทศ, อินเดีย, เนปาล, บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, จีน, เกาหลี, รัสเซีย, เกาะไต้หวัน และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยจัดเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง จึงสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้มากถึง 15 ชนิด (ดูในตาราง)[2]

สำหรับในประเทศไทย นกที่พบทางภาคใต้จัดเป็นชนิดย่อย D. c. auritus ซึ่งมีสีเข้มกว่าชนิดย่อยหลัก D. c. canicapillus ที่พบได้ทั่วไปเล็กน้อย และขนหางคู่กลางมีลายจุดจางกว่ามาก ส่วนทางภาคตะวันออกจะสามารถพบชนิดย่อย D. c. delacouri ซึ่งมีสีจางและลายขีดที่อกไม่ชัดเจนเท่าอีก 2 ชนิดย่อยนั้น และตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3] [4] [5]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2012). "Dendrocopos canicapillus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. 2.0 2.1 "Dendrocopos canicapillus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. 3.0 3.1 "นกหัวขวานด่างแคระ". คมชัดลึก.
  4. นกหัวขวานด่างแคระ[ลิงก์เสีย]
  5. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dendrocopos canicapillus ที่วิกิสปีชีส์