นกร่อนทะเลหางแดง

นกร่อนทะเลหางแดง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Phaethontiformes
วงศ์: Phaethontidae
สกุล: Phaethon
สปีชีส์: P.  rubricauda
ชื่อทวินาม
Phaethon rubricauda
Boddaert, 1783
Phaethon rubricauda

นกร่อนทะเลหางแดง หรือ นกนวลหางยาว[1] (อังกฤษ: Red-tailed tropicbird) เป็นนกทะเลที่พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในกลุ่มนกร่อนทะเลที่พบเห็นได้ยากแต่ยังมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างจึงยังไม่จัดว่าถูกคุกคาม อยู่เป็นอาณานิคมทำรังวางไข่บนเกาะกลางทะเล

ลักษณะ แก้

นกร่อนทะเลหางแดงคล้ายนกนางนวลแกลบและมีลักษณะใกล้เคียงกับนกร่อนทะเลอีก 2 ชนิดที่เหลือ ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 46.0-48.0 เซนติเมตร[1] นกที่โตเต็มวัยแล้วมีขนหางคู่กลางยื่นยาวเลยขนหางคู่อื่นออกไปมาก ปากหนาแหลมและแข็งแรง แบนข้าง สันปากบนโค้งลงเล็กน้อย ขอบปากบนหยักเป็นฟันเลื่อย ความยาวของปากไล่เลี่ยกับความยาวของหัว หัวโต คอสั้น ใต้คอเป็นหนังเปลือยเปล่า รูจมูกเป็นรูปรี

ปีกยาว แข็งแรงและปลายปีกแหลม หางเป็นรูปลิ่ม ขนปลายปีกมี 11 เส้น ขาสั้นและอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว นิ้วตีนทั้งสี่หันไปข้างหน้าและมีแผ่นพังผืดขึงระหว่างนิ้วทั้งสี่ตลอดความ ยาวของนิ้ว แต่นิ้วที่ 1 (นิ้วตีน) อยู่สูงกว่านิ้วอื่น เล็บโค้งแหลมคมโผล่พ้นแผ่นพังผืดออกมา

ลำตัวสีขาวอาจปนสีชมพูจางๆ ขนหางคู่บนสุดยื่นยาวเลยขนหางคู่อื่นออกไปมาก สีชมพูเข้มหรือแดง มีแถบสีดำขวางปากทางด้านหน้าของรูจมูก ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มสีดำที่โคนปีกและสีข้าง และมีแถบสีดำพาดผ่านตา ขาและโคนนิ้วเท้าสีฟ้าอ่อน ที่เหลือสีดำ[1]

พฤติกรรมและการกระจายพันธุ์ แก้

นกร่อนทะเลหางแดงทำรังบนเกาะในมหาสมุทรเป็นอาณานิคมขนาดใหญ่จากหมู่เกาะฮาวายถึงเกาะอีสเตอร์และข้ามไปถึงประเทศมอริเชียสและเรอูนียง มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง เคยมีการพบนกที่ใส่ห่วงขาจากฮาวายไกลถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศฟิลิปปินส์ มีพิสัยจากทะเลแดงถึงประเทศนิวซีแลนด์และประเทศชิลี

นกมักเลือกอะทอลล์เป็นที่ทำรัง โดยทำรังใต้พุ่มไม้ (หรือร่องหินปูน) นกร่อนทะเลหางแดงหากินไกลฝั่งตัวเดียว ว่ายน้ำ ดำน้ำได้ กินปลาเป็นอาหาร ส่วมมากเป็นปลาบินและหมึก

ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[2]

อ้างอิง แก้

  • BirdLife International (2004). Phaethon rubricauda. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 12 May 2006. Database entry includes justification for why this species is of least concern