นกกาน้ำปากยาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Pelecaniformes
วงศ์: Phalacrocoracidae
สกุล: Phalacrocorax
สปีชีส์: P.  fuscicollis
ชื่อทวินาม
Phalacrocorax fuscicollis
Stephens, 1826
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก

นกกาน้ำปากยาว (อังกฤษ: Indian cormorant, Indian shag; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalacrocorax fuscicollis) เป็นนกในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracida) พบตามแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดีย ออกไปทางตะวันตกถึงรัฐสินธ์ และทางตะวันออกถึงประเทศไทยและกัมพูชา ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความแตกต่างจากนกกาน้ำเล็ก (P. niger) ที่มีขนาดใกล้เคียงกันคือ ตาสีฟ้า หัวเล็ก หน้าผากลาด มีปากยาวแคบโค้งเป็นตะขอที่ปลายปาก

ลักษณะ แก้

คล้ายนกกาน้ำใหญ่ แต่ขนาดเล็กกว่า ปากเรียวบางกว่า หัว คอ และลำตัวด้านล่างดำ คอ ใต้คอ กลางอก และกลางท้องอาจมีสีขาวแซม หลังน้ำตาลเหลือบเป็นมัน ในขนชุดผสมพันธุ์ หัว คอ อก และลำตัวด้านล่างดำเป็นมัน หน้าผากและเหนือตามีขีดขาวเล็ก ๆ กระจาย ข้างหัวด้านท้ายมีกระจุกขนสีขาว [2]

พฤติกรรมและสถานะ แก้

เมื่อเวลาบินมักจะยืดคอไปตรง ๆ ว่ายน้ำและจับปลาได้เก่ง แต่เมื่อขึ้นแล้วต้องกางปีกผึ่งให้แห้ง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3] ปัจจุบัน มีแหล่งเพาะขยายพันธุ์แหล่งใหญ่ คือที่ ป่าชายเลนในตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร[4]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2009). "Phalacrocorax fuscicollis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2.
  2. คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์
  3. นกกาน้ำปากยาว
  4. สัตว์และพรรณพืช : โคกขาม : แหล่งขยายพันธุ์แห่งใหม่ของนกกาน้ำปากยาวจากสารคดี[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phalacrocorax fuscicollis ที่วิกิสปีชีส์