นกกระเต็นน้อยธรรมดา

นกกระเต็นน้อยธรรมดา
ขณะจ้องดูเครย์ฟิชในน้ำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Alcedinidae
สกุล: Alcedo
สปีชีส์: A.  atthis
ชื่อทวินาม
Alcedo atthis
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย[2]
ชนิดย่อย
  • A. a. atthis (Linnaeus, 1758)
  • A. a. bengalensis Gmelin, 1788
  • A. a. floresiana Sharpe, 1892
  • A. a. hispidoides Lesson, 1837
  • A. a. ispida Linnaeus, 1758
  • A. a. salomonensis Rothschild & Hartert, 1905
  • A. a. taprobana O. Kleinschmidt, 1894
  เขตกระจายพันธุ์
  อาศัยอยู่ตลอดทั้งปี
  เขตไม่กระจายพันธุ์

นกกระเต็นน้อยธรรมดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alcedo atthis; อังกฤษ: Common kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16–18 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น ๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท[3]

ลักษณะทั่วไป แก้

นกกระเต็นน้อยธรรมดามีหัวและหน้าผากสีฟ้าอมเขียว สดใส มีจุดสีฟ้าอ่อนเล็ก ๆ เป็นแนวขวางถี่ ๆ หลายแนว คอสีขาว อกสีน้ำตาลแดง แก้ม และขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง ปีกสีฟ้าอมเขียว มีจุดสีฟ้าอ่อนตรงแนวปีก หลังและตะโพกสีฟ้าสดใสมาก ๆ ขาและนิ้วเท้าเล็ก ๆ สีแดงสดใส เป็นนกขนาดเล็ก ยาว 16–18 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 8 เซนติเมตร หางสั้น[4] นกวัยเล็กมีอกสีหม่นออกขาว ๆ เทา ๆ มีปากล่างสีแดง ขาและเท้าสีดำ และจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น[3]

ถิ่นที่อยู่อาศัย แก้

รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย, ยุโรป, อินเดีย, พม่า, แอฟริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะโซโลมอน, หมู่เกาะซุนดา, เกาะนิวกินี และไทย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค[5] (แบ่งออกได้เป็น 7 หรือ 8 ชนิดย่อย[6]–ดูในตาราง[2] ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ A. a. bengalensis) โดยมีการเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากอียิปต์[6]

อาศัยตามแหล่งน้ำ เช่น ลำคลองหนอง บึง บ่อ ทะเลสาบ และ ยังพบได้ตามทุ่งโล่ง ป่าชายเลน ชายหาด และป่าดงดิบแล้งใกล้ที่มีแหล่งน้ำ ลำธารที่น้ำไหลช้า ทั้งในที่โล่งและในป่าที่ไม่ทึบนัก ตามสวนสาธารณะในเมือง และนอกเมือง ป่าโกงกาง จากที่ราบถึงที่สูง 1,830 เมตรจากระดับน้ำทะเล[3]

 
ไข่

พฤติกรรมการหากิน แก้

มักพบอยู่โดดเดี่ยวไม่รวมฝูง หากินเวลากลางวัน โดยจะเกาะอยู่ตามกิ่งไม้แห้ง ตอไม้ ในแหล่งน้ำ เพื่อคอยจับปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด[4] กบขนาดเล็ก กุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ปลาตีน ตามแต่ที่จะจับได้บริเวณที่ไปอยู่อาศัย และแมลงในน้ำ เช่น แมลงปอ ตั๊กแตน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินโฉบใช้ปากคาบเหยื่อ หรือบางครั้งลำตัวของมันจะจมลงไปในน้ำด้วย เมื่อได้เหยื่อมันจะกลับมาเกาะตรงที่เดิมแล้วจึงกลืนกิน หากเหยื่อเป็นปลามันจะหันทางด้านหัวปลาเข้าปาก หากยังไม่อิ่มก็จะคอยจ้องจับเหยื่อต่อไป นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพเข้ามาหากินในเขตประเทศไทย และยังไม่มีการรายงานพบการทำรังวางไข่ในประเทศไทย นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพที่พบได้บ่อยและมีปริมาณมากทั่วทุกภาค[3]

การกระจายพันธุ์และแหล่งที่พบ แก้

นกกระเต็นน้อยธรรมดาไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่เป็นนกที่อพยพมาจากที่ที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว นกกระเต็นน้อยธรรมดาแถบอกดำ จะพบตามลำธารในป่าภาคใต้ นกกระเต็นน้อยธรรมดาสร้อยคอสีน้ำตาล จะพบตามป่าที่ราบต่ำภาคใต้ และนกกระเต็นน้อยธรรมดาแดง จะพบทางภาคใต้และภาคตะวันออก[4] ตามป่าชายเลน บางส่วนเป็นนกอพยพจะเริ่มพบในประเทศไทยได้ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายนไปจนถึงปลายฤดูหนาว[3] และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทย[7]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2008). Alcedo atthis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 11 October 2009.
  2. 2.0 2.1 "Alcedo atthis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 [1]. จันทร์น้อย
  4. 4.0 4.1 4.2 "ฐานความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแหล่งท่องเที่ยว จ.ชุมพร" (PDF). bot.swu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-07.
  5. [2].นกกระเต็นน้อยธรรมดา
  6. 6.0 6.1 นกกระเต็นน้อย, คอลัมน์เรื่องน่ารู้. หน้า 28 เดลินิวส์: ฉบับที่ 23111 ประจำวันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 ปีมะโรง
  7. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alcedo atthis ที่วิกิสปีชีส์