ธีบส์ (อังกฤษ: Thebes; กรีกโบราณ: Θῆβαι,Thēbai, เสียงอ่านภาษากรีก: [tʰɛ̂ːbai̯]: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด

ธีบส์

Θήβα
ซากปรักหักพังของแคดเมีย ป้อมปราการกลางของเมืองธีบส์โบราณ ซึ่งตั้งชื่อตามแคดมอส ผู้ก่อตั้งธีบส์ตามตำนานและกษัตริย์พระองค์แรกของธีบส์
ซากปรักหักพังของแคดเมีย ป้อมปราการกลางของเมืองธีบส์โบราณ ซึ่งตั้งชื่อตามแคดมอส ผู้ก่อตั้งธีบส์ตามตำนานและกษัตริย์พระองค์แรกของธีบส์
ธีบส์ตั้งอยู่ในประเทศกรีซ
ธีบส์
ธีบส์
Location within the region
พิกัด: 38°19′N 23°19′E / 38.317°N 23.317°E / 38.317; 23.317
ประเทศ กรีซ
แคว้นตอนกลางประเทศกรีซ
หน่วยภูมิภาคบีโอเชีย
พื้นที่
 • เทศบาล830.112 ตร.กม. (320.508 ตร.ไมล์)
 • หน่วยเทศบาล321.015 ตร.กม. (123.945 ตร.ไมล์)
ความสูง215 เมตร (705 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • Municipality36,477
 • ความหนาแน่นMunicipality44 คน/ตร.กม. (110 คน/ตร.ไมล์)
 • Municipal unit25,845
 • ความหนาแน่นMunicipal unit81 คน/ตร.กม. (210 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมTheban
ชุมชุน[1]
 • ประชากร22,883 (2011)
 • พื้นที่ (ตร.กม.)143.889
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสไปรษณีย์32200
รหัสพื้นที่22620
เว็บไซต์www.thiva.gr

ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อนค.ศ. กองกำลังของธีบส์ภายใต้บัญชาการของอีพามินอนดัส (กรีกโบราณ: Ἐπαμεινώνδας) นำจุดจบมาสู่อำนาจทางทหารของสปาร์ตายุทธการลิวค์ตรา ในปีที่ 371 ก่อนค.ศ. ต่อมาในปีที่ 338 ก่อนค.ศ. กองพันศักดิ์สิทธิ์แห่งธีบส์ - หน่วยรบหัวกระเด็น (elite) ของธีบส์ที่เคยเป็นที่หวาดกลัวไปทั่วกรีซ - ได้ล้มลงในสมรภูมิที่ไคเรอนีอา (Battle of Chaeronea) อย่างอาจหาญต่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาเกโดเนีย ฯ ต่อมาอเล็กซานเดอร์เผาทำลายเมืองธีบส์ลงอย่างราบคาบ เพราเห็นว่าไม่ยอมศิโรราบแก่พระองค์ จึงเผาเมืองเสียให้เป็นเยี่ยงอย่างในปีที่ 335 ก่อนค.ศ. แล้วขายชาวเมืองที่รอดชีวิตไปเป็นทาส ปิดฉากความเป็นนครรัฐที่มีอำนาจโดดเด่นในกรีซของธีบส์ลง

เมืองธีบส์ในปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี ซากหลงเหลือของป้อมยุคสำริด แคดเมีย และซากปรักหักพังโบราณยังปรากฎให้เป็นอยู่ทั่วไป เมืองธีบส์สมัยใหม่ยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองบีโอเชีย

ประวัติศาสตร์ แก้

ยุคอาร์เคอิก และยุคคลาสสิค แก้

 
แผนที่ของเมืองธีบส์โบราณ.

ธีบส์ มีฉายาเรียกขานมาแต่โบราณว่า "เมืองที่มีเจ็ดประตู" (กรีกโบราณ: Θῆβαι ἑπτάπυλοι, Thebai heptapyloi; "seven-gated Thebes") ซึ่งปรากฎในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เพื่อไม่ให้สับสนกับเมืองธีบส์ของอียิปต์

ธีบส์เริ่มมีความขัดแย้งกับเอเธนส์ เป็นครั้งแรกราวปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนค.ศ. เนื่องจากเอเธนส์ช่วยให้พลาทีอา (Plataea) ซึ่งตอนนั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ให้สามารถคงความเป็นอิสระของตนจากธีบส์ไว้ได้ และเอเธนส์ยังขับทัพของธีบส์ไม่ให้รุกเข้ามาในแอตติกาได้ ความขัดแย้งกับเอเธนส์ทำให้ธีบส์ตัดสินใจไปเข้ากับฝ่ายเปอร์เชีย ซึ่งยกทัพมารุกรานกรีซในปีที่ 480-479 ก่อนค.ศ. โดยแม้ตอนแรกธีบส์จะส่งกำลังหนุนจำนวน 400 นาย ไปร่วมรบกับทัพของสปาร์ตาที่เทอร์มอพิลี แต่หลังจากนั้นชนชั้นปกครองของธีบส์ก็หันมาเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าเซิร์กซีสอย่างขมีขมัน และร่วมกับทัพเปอร์เซียต่อสู้กับฝ่ายกรีกอย่างดุเดือดในยุทธการที่พลาตีอา ครั้นเมื่อฝ่ายกรีกได้ชัยต่อเปอร์เซีย ธีบส์ก็ถูกลงโทษโดยถูกปลดจากตำแหน่งประธานของสันนิบาตบีโอเชีย (Boeotian) และยังเกือบถูกขับออกจากสันนิบาตแอมฟิกทีโอนี แห่งเดลฟี (Delphic Amphictyonic) อันเป็นสมาชิกภาพที่สำคัญของศาสนากรีกโบราณ

 
เหรียญโบราณแสดงรูปโล่แบบที่ชาวบีโอเชียใช้ (Boeotian shield)

ตำนานก่อตั้งในเทพปกรณัม แก้

ตามตำนานกรีก มหาเทพซุสไดตกหลุมรักนางยูโรปา บุตรีของกษัตริย์ฟีนิเชียน อะเกนอร์ (Agenor) กับราชินีเทเลแฟซซา (Telephassa) เพื่อหนีความริษยาของเฮรามเหสีของพระองค์ ซุสจึงแปลงกลายเป็นโคตัวผู้มีสีขาวตลอดทั้งกาย แล้วก็ลักพานางยูโรปาไปจนถึงเกาะครีต อเกนอร์สั่งให้เหล่าบุตรชายของตนออกตามหายูโรปา โดยมีเทเลแฟซซาผู้เป็นแม่ติดตามไปด้วย คณะติดตามเดินทางผ่านทั้งโรดส์ และเทรเซีย (Thrace) แต่ก็ยังไม่ได้อะไร แคดมอสหนึ่งในกลุ่มพี่น้องก็เดินทางมาถึงเมืองโฟซิส (Phocis) แล้วขึ้นไปยังเดลฟีเพื่อขอคำแนะนำจากพิเธีย (Pythia) ผู้นำนักบวชหญิงแห่งวิหารอะพอลโล พิเธียบอกให้แคดมอสเลิกค้นหา แล้วให้ตามวัวตัวแรกที่ตนพบไปรื่อยๆจนกระทั่งมันหยุด แล้วให้ตั้งเมืองขึ้น ณ ที่นั้น แคดมอสปฏิบัติตามคำแนะนำ แล้วติดตามวัวตัวหนึ่งไปจนถึงบีโอเชีย จากนั้นก็ตั้งใจจะสังเวยวัวให้เป็นของขวัญแด่อะธีน่า แต่ไม่อาจหาน้ำมาทำการหลั่งทักษิโณทกได้ เพราะมีมังกรตัวหนึ่งขวางทางไปเอาน้ำไว้ แคดมอสจึงสู้กับมังกรนั้นอย่างดุเดือดแล้วฆ่ามังกรเสีย ทันใดนั้นอะธีนาก็ปรากฎตัวขึ้นและแนะนำเอาเขี้ยวมังกรไปฝังดินไว้ เมื่อแคดมอสปฏิบัติตามก็ปรากฎมีมนุษย์ที่ติดอาวุธผุดขึ้นมากลุ่มหนึ่ง แคดมอสจึงเรียกคนพวกนั้นว่า "สปาร์ตอย" (กรีกโบราณ: Σπαρτοί,; ละติน: Spartes) เพราะความที่เป็น "คนที่หว่านเพาะลง(ในดิน)" จากนั้นคนกลุ่มนั้นก็เริ่มฆ่าฟันกันเองจนเหลื่อ ๕ คน คือ Echion, Udeos, Chthonios, Hyperenor, และ Peloros แคดมอสจึงร่วมกับพวกนี้ตั้งเมืองขึ้น ชื่ว่า แคดเมีย (Cadmea)[2]

แอมฟิออนตั้งเมืองธีบส์ แก้

หลายปีผ่านไปแอมฟิออน (Amphion) และซีธัส (Zethus) บุตรของซุสกับนางมนุษย์ชื่อแอนไทโอปี (Antiope) เติบโตขึ้น โดยแอมฟิออนกลายเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้วิชาดนตรีที่เทพเฮอร์มีสสอนให้ และสามารถเคลื่อนก้อนหินหรือของหนักๆได้ด้วยเสียงดนตรี ในขณะที่ซีธัสกลายเป็นพรานล่าสัตว์ ทั้งสองสร้างกำแพงหินรอบเมืองแคดเมีย แล้วตั้งชื่อเมืองนั้นว่า ธีบส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ธีบ (Thebe) ภรรยาของซีธัส ผู้เป็นอัปสรนิมฟ์ลูกสาวของแม่นำ้อะโซปัส (Asopus) แม่น้ำสายหนึ่งในบีโอเชีย


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Απογραφή Πληθυσμού - Κατοικιών 2011. ΜΟΝΙΜΟΣ Πληθυσμός" (ภาษากรีก). Hellenic Statistical Authority.
  2. "Mythologie grecque : Cadmos". mythologica.fr. สืบค้นเมื่อ October 9, 2016.