ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต

ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต[1] คือการพัฒนาและการประยุกต์หลักการ ปทัสถาน กฎเกณฑ์ กระบวนการตัดสินใจ และโครงการต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางและรูปแบบการวิวัฒนาการและการใช้งานอินเทอร์เน็ต

นิยาม แก้

นิยามของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตนั้นได้รับการทดสอบท้าทายจากหลายฝ่ายในทุกอุดมการณ์และแนวคิดทางการเมือง หนึ่งในการถกเถียงหลักนั้นครุ่นคิดเกี่ยวกับอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้เล่น เช่น รัฐบาลแห่งชาติ องค์กรธุรกิจ และประชาสังคม กับการมีบทบาทในการอภิบาลอินเทอร์เน็ต

คณะทำงานที่ตั้งขึ้นโดยการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society - WSIS) ซึ่งริเริ่มโดยสหประชาชาติ ได้เสนอนิยามของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตดังต่อไปนี้ ในรายงานเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005:

ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตคือการพัฒนาและการประยุกต์โดยรัฐบาล ภาคเอกชน และประชาสังคม ในบทบาทของตน ด้วยหลักการ ปทัสถาน กฎเกณฑ์ กระบวนการตัดสินใจ และโครงการที่มีร่วมกัน เพื่อกำหนดรูปแบบทิศทางของวิวัฒนาการและการใช้งานอินเทอร์เน็ต[2]

อาจารย์กฎหมาย Yochai Benkler ได้พัฒนาการวางแนวคิดของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ "ชั้น" (layers) ของการอภิบาล 3 ชั้น: ชั้น "โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ" ("physical infrastructure" layer) ซึ่งสารสนเทศใช้ในการเดินทาง; ชั้น "โปรแกรม" หรือ "ตรรกะ" ("code" or "logical" layer) ซึ่งควบคุมโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว; และชั้น "เนื้อหา" ("content" layer) ซึ่งบรรจุสารสนเทศที่ถูกส่งไปในเครือข่าย[3]

ดูเพิ่ม แก้

หน่วยงานอินเทอร์เน็ต แก้

หน่วยงานสหประชาชาติ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "แถลงการณ์ตัวแทนภาคประชาสังคมโลกว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ปี 2554" (PDF). ilaw. 26 ตุลาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2023-07-28. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Report of the Working Group on Internet Governance (WGIG)", June 2005), p.4.
  3. Yochai Benkler, "From Consumers to Users: Shifting the Deeper Structures of Regulation Towards Sustainable Commons and User Access" เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 52 Fed. Comm. L.J. 561, (2000).

ลิงก์ข้อมูลอื่น แก้