ธนู กุลชล สมาชิกวุฒิสภา จากการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551 เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ชุด ส.ว.แต่งตั้ง) อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)[1]

ดร.ธนู กุลชล
ธนู ใน พ.ศ. 2535
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2559
ก่อนหน้ามัทนา สานติวัตร
ถัดไปบัญชา แสงหิรัญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กันยายน พ.ศ. 2484 (82 ปี)
ศาสนาศาสนาคริสต์ (โรมันคาทอลิก)
คู่สมรสนงเยาว์ กุลชล

ประวัติ แก้

ธนู กุลชล หรือ ดร.ธนู กุลชล เกิดวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2484 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระดับปริญญาโท สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยแฟร์เลย์ ดิคกินสัน สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาเอก สาขาการศึกษาชั้นสูง มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา และหลักสูตรผู้บริหารชั้นสูง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา รวมทั้งหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ. รุ่นที่ 2)

ประสบการณ์ทำงาน แก้

ดร.ธนู กุลชล เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539 และได้รับสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ภาควิชาการ ในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้